ICSI ไม่สำเร็จ เกิดจากสาเหตุอะไร? เป็นคำถามคาใจที่คู่สามีภรรยาหลายคู่เที่กำลังวางแผนการมีบุตรด้วยการพึ่งการทำอิ๊กซี่ ICSI แต่ก็ได้ผลออกมาไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่มีการฝังตัวอ่อนสักที ทำให้การตั้งครรภ์ล้มเหลว ซึ่งก็สร้างความผิดหวังให้กับครอบครัวอย่างมาก และเกิดความสงสัยว่า ในเมื่ออัตราเฉลี่ยความสำเร็จของการทำอิ๊กซี่นั้นมีเปอร์เ็นต์ที่สูงมากกว่า 85% เมื่อเทียบกับวิธีการทำเด็กหลอดแก้ววิธีอื่นๆ แล้วเพราะสาเหตุใดถึงมีเกิดล้มเหลวในการตั้งครรภ์ได้ วันนี้้เราจะมาพูดถึงสาเหตุว่า สาเหตุที่ทำให้การทำอิ๊กซี่ไม่สำเร็จนั้นเกิดจากอะไร?
ทำไมถึงทำ ICSI ไม่สำเร็จ
การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection : ICSI) คือกระบวนการทางแพทย์ที่ช่วยในเรื่องการเจริญพันธุ์ในเชิงของการปฏิสนธินอกร่างกาย เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยผู้มีบุตรยากที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากวิธี IVF แต่ได้รับประสิทธิผลมากกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตรแต่ติดปัญหาด้านต่างๆ เช่น อายุมาก ไข่ไม่ตก เปลือกไข่แข็งหนา น้ำเชื้อน้อย ตัวอสุจิไม่แข็งแรง โดยวิธีการรักษาคือ แพทย์ผู้ดูแลจะทำการฉีดยากระตุ้นไข่แก่ฝ่ายหญิงเพื่อให้ร่างกายผลิตไข่ออกมาให้มีจำนวนเยอะๆ และขนาดที่เหมาะสมสำหรับการนำไปปฏิสนธิ จากนั้นจะทำการฉีดยาให้ไข่ตกเพื่อทำการเก็บออกมาภายนอก ก่อนที่จะนำไปปฏิสนธิกับอสุจิที่ผ่านการคัดกรองมาแล้วว่าเป็นตัวที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุดด้วยวิธีการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และใช้เข็มขนาดเล็กฉีดเชื้อเข้าไปให้เนื้อไข่โดยตรงอย่างเจาะจง นำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการประมาณ 3-5 วัน จนตัวอ่อนมีการพัฒนาในระยะที่เหมาะสมแล้ว (นั่นก็คือ Day5 หรือระยะบลาสโตซีสต์) ก็จะทำการย้ายตัวอ่อนเข้าไปฝังในโพรงมดลูกเพื่อให้มีการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติต่อไป
- การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ?
- ขั้นตอนการทําอิ๊กซี่ (ICSI) การรักษาภาวะมีบุตรยาก
- คำถามเกี่ยวกับ เด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI ที่หลายคนอยากรู้
อัตราการประสบความสำเร็จของการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
- อายุของฝ่ายหญิงผู้ที่เข้ารับการรักษา เพราะหากอายุยิ่งมากขึ้น คุณภาพของไข่ก็จะยิ่งลดน้อยลง
- จำนวนไข่ที่ได้จากการกระตุ้นว่าจำนวนเยอะเท่าไร (15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตก << อ่านต่อ)
- คุณภาพของไข่ที่ได้จากการกระตุ้นในครั้งนั้น มีคุณภาพมากน้อยเท่าไร
- รูปร่างและความแข็งแรงของอสุจิ (11 อาหารบำรุงอสุจิ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์ << อ่านต่อ)
- ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในวันที่ทำการย้ายตัวอ่อนนั้น มีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่? (6 วิธีเตรียมผนังมดลูก การบำรุงมดลูกสำหรับการฝังตัวอ่อน เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ << อ่านต่อ)
ซึ่งหากทั้ง 5 ข้อข้างบนนั้นไม่ปัญหาอะไร แต่การตั้งครรภ์ภายหลังจากการฝังตัวอ่อนก็ยังไม่สำเร็จผลสักที ในส่วนนี้แพทย์อาจจะวินิจฉัยว่า คุณอาจจะอยู่ใน “ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน”
มดลูกต่ำ มดลูกคว่ำ ทำให้แท้งง่ายจริงหรือไม่?
ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน (Repeat Implantation Failure)
เป็นอาการของผู้ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ถึงแม้ว่าจะมีการย้ายตัวอ่อนคุณภาพดีหลายรอบ โดยแพทยืจะแบ่งอาการและเกณฑ์การวินิจฉัยหลายแบบที่ในหลายๆ คู่อาจจะมีสาเหตุและอาการไม่เหมือนกัน เช่น
- ภาวะไม่เกิดการตั้งครรภ์ ภายหลังการย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี 12 ตัวขึ้นไป
- ภาวะไม่ตั้งครรภ์ภายหลังการตัวอ่อนคุณภาพดีจำนวน 10 ตัวอ่อนขึ้นไป หรือ ทำการย้ายมากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป
- ภาวะไม่ตั้งครรภ์ภายหลังการย้ายตัวอ่อนคุณภาพดี 3 ครั้งขึ้นไป โดยมีตัวอ่อนคุณภาพดีไม่น้อยกว่า 2 ตัวอ่อนขึ้นไป
ปัจจัยทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว
1. มาจากตัวอ่อนโดยตรง
สาเหตุอันดับหนึ่งที่เกิดขึ้นได้มาจากตัวอ่อนโดยตรงซึ่งถึงแม้ว่าตัวอ่อนทุกตัวนั้นจะอยู่เพาะเลี้ยงตัวในห้องปฏิบัติการในอุณหภูมิที่เหมาะสมและได้รับการดูแลจากนักวิทย์ฯ โดยตรง แต่ในการเพราะเลี้ยงนั้นก็อาจจะได้ทั้งตัวอ่อนที่มีคุณภาพและตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ได้ การที่ได้ตัวอ่อนไม่สมบูรณ์จากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการนั้นสาเหตุการเกิดจากการเลี้ยงในอุณหภูมิที่ทำให้ตัวอ่อนพัฒนาการช้า หรือ พัฒนาการไม่สมบูรณ์ได้ซึ่งเมื่อนำไปฝังในโพรงมดลูกจึงทำตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรืออีกนัยหนึ่งก็อาจจะเกิดจากการคัดเลือกตัวอ่อนเพื่อใส่กลับโพรงมดลูกจากแพทย์เองที่อาจจะไม่ทราบว่าเป็นตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ เพราะรูปร่างและหน้าตาของของตัวอ่อนเหมือนกัน จึงทำให้อาจจะเลือกผิดพลาดได้
ตัวอ่อนผิดปกติ ตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ ทำ ICSI ติดมั้ย? ลูกจะพิการหรือเปล่า?
2. คุณภาพโพรงมดลูกที่ฝัง
ในการฝังตัวอ่อนนั้น คุณภาพโพรงมดลูกก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ถึงแม้ว่าตัวอ่อนที่คัดมาจะมีคุณภาพดีมากแค่ไหน ถ้าหากโพรงมดลูกไม่มีคุณภาพพอตัวอ่อนก็ไม่สามารถฝังได้และยิ่งหากถ้ามีการตรวจเจอติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือเนื้องอกในโพรงมดลูกก็จะส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนยากขึ้นอีกด้วย
อยากมีลูก แต่มดลูกไม่แข็งแรง ควรทำอย่างไร
3. ปัญหา Auto-Immune
ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับฝ่ายหญิงบางคนที่ร่างกายจะมีการขับสารบางอย่างที่รบกวนการสร้างผนังเซลล์ และมีผลทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือด ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลโดยตรงที่จะเข้าไปขัดขวางการสูบฉีดเลือดส่งไปยังโพรงมดลูก และยับยิ้งกระบวนการฝังตัวอ่อนลงทำให้ไม่สามารถฝังตัวของตัวอ่อนได้จนเกิดอาการแท้งในภายหลัง
วิธีรับมือกับปัญหาท้องแล้วแท้ง ให้ตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
4. ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
อาการของความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น กลุ่มคนที่เป็นโรคของต่อมไทรอยด์ที่มีระดับโปรแลกตินในเลือดสูงกว่าปกติ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตั้งครรภ์ยากกว่าปกติ แต่อาการเหล่านี้นั้นสามารถป้องกันได้หากมีการแจ้งแพทย์ก่อนทำอิ๊กซี่ หรือมีการตรวจเลือดเพื่อคัดกรอง หาสาเหตุและทำการรักษาก่อน
ข้อดีของการตรวจโครโมโซม การตรวจคัดกรองตัวอ่อน มีความสำคัญยังไง
นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างบนแล้วยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก เช่น ปัจจัยระหว่างการเคลื่อนย้ายตัวอ่อนเพื่อนำไปฝังในโพรงมดลูกที่อาจจะใส่ยากกว่าปกติเ หรือฝ่ายหญิงมีปากมดลูกตีบหรืองอทำให้การใส่ตัวอ่อนใช้เวลานานทำให้อุณหภูมิในตัวอ่อนแปรปรวนอาจส่งผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนได้ หรือ ปัญหาเรื่องของความเป็นกรดด่างที่ของน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งทั้งหมดนี้นั้นสามารถส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัวได้ทั้งสิ้น
มดลูกต่ำ มดลูกคว่ำ ทำให้แท้งง่ายจริงหรือไม่?
ท้องนอกมดลูก เกิดจากอะไร? สามารถป้องกันได้อย่างไร?
เนื้องอกในมดลูก ทำให้มีลูกยาก เนื้องอกแบบไหนทำให้มีลูกยาก
เอกสารการรักษามีบุตรยาก IUI / ICSI ทำไมต้องใช้ทะเบียนสมรส ?
แนวทางในการแก้ไข ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัว
- สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มจำนวนตัวอ่อนเพื่อฝังในโพรงมดลูกให้เยอะมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการฝังตัว แต่ควรจะระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์แฝด ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
- ย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 5 หรือระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) แทนที่จะใช้ตัวอ่อนระยะวันที่ 3 ซึ่งในการย้ายตัวอ่อนนำมาใส่ในช่วงระยะนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนฝังตัวมากขึ้น
- การจ่ายยาบำรุงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อบำรุงครรภ์ให้มากขึ้น เพื่อช่วยในการพยุงการตั้งครรภ์และหลังการย้ายตัวอ่อนเป็นไปอย่างราบรื่น
- หากแพทย์วินิยฉัยว่า ฝ่ายหญิงที่มีการฝังตัวอ่อนมีภาวะเสี่ยงต่ออาการ Aoto-Immune แพทย์อาจจะจ่ายยาแอสไพรินหรือยาเฮปปาริน เพิ่มเพื่อให้โอกาสการตั้งครรภ์มีมากขึ้น
- การใช้ตัวอ่อนแช่แข็ง เพื่อเลี่ยงยาฉีดกระตุ้นในมดลูกมากเกินไปซึ่งอาจมีผลต่อตัวรับที่มดลูกที่อาจจะหนักเกินไป ย้ายตัวอ่อนรอบสด vs รอบแช่แข็ง แบบไหนได้ผลดีที่สุด
- การตรวจภายในอย่างละเอียดก่อนการทำอิ๊กซี่ (ICSI) เพื่อหาสาเหตุที่อาจจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ยาก หรือ ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ยากในอนาคต เช่น พังผืดในช่องท้อง เนื้องอก หรือติ่งเนื้อ เพื่อให้แพทย์สามารถแก้ไขได้ก่อน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
วิธีทำ ICSI ติดในครั้งเดียว เคล็ดลับเพิ่มโอกาสการมีลูกด้วยการทำอิ๊กซี่
น้ำมะกรูด ทำให้มีลูกง่าย ช่วยให้ท้องได้จริงหรือไม่?
ตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร? ทำไมต้องตรวจก่อนตั้งครรภ์
………………………………………………
เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K
………………………………………………
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์