FAQ

1.ควรเลือกคลินิกหรือสถานพยาบาลในการรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างไรได้บ้าง

a. ควรเลือกจากคลินิกที่มีประสบการณ์ยาวนาน มีทีมแพทย์พยาบาลนักวิทยาศาสตร์ที่เชียวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์โดยเฉพาะ รวมทั้งเครื่องทางการแพทย์ที่ทันสมัย

2.ฉันควรพยายามมีลูกวิธีธรรมชาตินานแค่ไหนก่อนที่จะตัดสินใจมาปรึกษาหรือมาทำ ICSI?

a. โดยทฤษฎีระบุไว้ที่ 6 เดือน แต่โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับบริการ ความจำเป็นในการมีบุตรสามารถปรึกษาและใช้เทคโนโลยีช่วยได้ช้าเร็วตามความประสงค์ของคู่สมรสแต่ละคู่

3. โอกาสในการท้องสำหรับ IUI และ ICSI ที่ 101 Bangkok IVF คือเท่าไหร่?

a. IUI 40-50% และ 60-70% สำหรับ ICSI

4. ค่าใช้จ่ายในการทำ ICSI คือเท่าไหร่?

a. เริ่มต้นที่ 250000 บาท

5. ฉันกลัวว่าฮอร์โมนที่หลั่งระหว่างการทำ ICSI จะทำให้เครียดและอ่อนไหวง่ายเกินไป ควรทำอย่างไรดี?

a. สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้รับบริการบางท่าน วิธีดูแลตัวเองระหว่างการรักษาอาจจะใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจโดยหากิจกรรมอื่นๆเพื่อผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือ ออกกำลังกายเบาๆ

1. อะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง IUI, IVF และ ICSI?

a. IUI เป็นวิธีกึ่งธรรมชาติ และเป็นการปฎิสนธิภายใน

b. IVF เป็นเทคโนโลยีเก่า เป็นการปฎิสนธิภายนอกแต่ปล่อยให้อสุจิทำการเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่ตามธรรมชาติ

c. ICSI เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจาก IVF โดยนักวิทยาศาสตร์จะใช้เข็มนำทางให้อสุจิเจาะเข้าไปถึง cytoplasm ของไข่อย่างแม่นยำ

2. ระหว่างการใส่ตัวอ่อนรอบสดและรอบแช่เแข็งควรเลือกอะไรดี? มันมีผลต่อเปอร์เซ็นการตั้งครรภ์ไหม?

a. โดยมากแพทย์จะแนะนำโดยคำนึงถึงคุณภาพตัวอ่อนของผู้รับบริการเป็นหลัก ถ้าคุณภาพตัวอ่อนดีและมีจำนวนมาก การใส่ตัวอ่อนรอบแช่แข็งถือเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน

3. การทำ ICSI ใช้เวลาทำนานแค่ไหน?

a. 25-30 วัน โดยประมาณ

4. การดูแลครรภ์จากการทำ IUI หรือ ICSI จะแตกต่างจากตั้งท้องตามธรรมชาติไหม?

a. แตกต่างในช่วงไตรมาสที่1 ผู้รับบริการจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อพยุงครรภ์ในช่วงแรก ถัดจากไตรมาสที่2 ไปแล้วการดูแลจะไม่แตกต่างจากการตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ

1. อะไรคือการฝากไข่?

a. คือการแช่แข็งเซลล์ไข่ของผู้หญิงไว้เพื่อทำการปฎิสนธิในอนาคต ทำให้ลดภาวะการมีบุตรยากเมื่ออายุมากขึ้น

2. ใช้เวลานานแค่ไหนในการฝากไข่?

a. 14 วันโดยประมาณ

3. การฝากไข่เจ็บไหม?

a. ส่วนมากผู้รับบริการฝากไข่จะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ บางท่านอาจจะรู้สึกปวดหน่วงบริเวณท้องหรือรู้สึกไม่สุขสบายท้องได้บ้างเล็กน้อย

4. การฝากไข่ทำให้น้ำหนักขึ้นรึเปล่า?

a. การฝากไข่ไม่มีผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นโดยตรง

5. ระหว่างฝากไข่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติไหมคะ?

a. สามารถทำกิจกรรมได้ปกติ ยกเว้นการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ผาดโผน

6. อะไรที่ต้องระวังระหว่างการฝากไข่?

a. ระมัดระวังกิจกรรมที่พาดโพน ออกกำลังกายที่หนักหน่วงเกินไป

7. ทำไมบางทีไข่ที่ฝากไว้ไม่สามารถใช้ได้เสมอไป?

a. เป็นเรื่องปกติที่ไข่หลังจากละลายมาแล้วมีโอกาสที่จะสูญเสียคุณภาพลงไปบ้าง เกิดจากหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพเริ่มต้นของเซลล์ไข่นั้น วิธีเทคนิคการแช่แข็งของนักวิทยาศาสตร์ก็มีผลเช่นกัน

8. ข้อดีและข้อเสียของการฝากไข่

a. ข้อดี สามารถวางแผนการมีบุตรได้ในอนาคต ลดความเสี่ยงภาวะการมีบุตรยาก หรือมีบุตรที่เสี่ยงโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางโครโมโซมในแม่สูงวัยได้

b. ข้อเสีย ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงในทุกวันนี้

9. ความเสี่ยงในการฝากไข่

a. ผู้รับบริการบางท่านอาจเกิดอาการข้างเคียงระหว่างการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นไข่ และ/หรือ ความเสี่ยงจากการดมยาสลบระหว่างเก็บไข่

10. ถ้าฉันคุมกำเนิดอยู่ (ฝังยาคุม/กินยาคุม/ฉีดยาคุม) สามารถฝากไข่ได้ไหม?

a. ควรหยุดก่อนเริ่มกระบวนการ 1 รอบเดือน

11. ฝากไข่แพงไหม?

a. ทุกวันนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง

12. ฉันควรฝากไข่กี่ใบดี

a. ควรฝากเท่าที่ร่างกายของผู้รับบริการสามารถสร้างได้ ถ้าร่างกายตอบสนองต่อยากระตุ้นดี จะสามารถผลิตไข่ได้มาก และนั่นคือข้อดี แนะนำให้แช่แข็งไว้ทั้งหมดเท่าที่เก็บได้

13. ฉันควรฝากไข่ไหม?

a. สำหรับผู้รับบริการที่วางแผนมีบุตรในอนาคต การฝากไข่เป็นทางเลือกที่ดี

14. ฉันต้องฉีดยาที่บ้านเองไหม? กี่วัน?

a. ผู้รับบริการสามารถฉีดยาได้เองที่บ้าน ประมาณ 10-12 วัน

15. ถ้าฉันอยากจะใช้ไข่ที่ฝากไว้ ต้องทำยังไง?

a. แจ้งความประสงค์ต่อคลินิก พร้อมเอกสารสามีและระบุวันละลายไข่พร้อมทั้งทำการปฎิสนธิได้เลย

1. ฉันต้องมีทะเบียนสมรสไหมถ้าจะมาทำ IUI หรือ ICSI?

a. ใช่ค่ะ ทะเบียนสมรสเป็นเอกสารที่ทางกฏหมายระบุไว้ว่าจำเป็นต้องแสดงต่อคลินิกก่อนเริ่มกระบวนการ

2. ฉันต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการฝากไข่?

a. บัตรประชาชน และเอกสารเซ็นต์ยินยอมจกทางหน่วยงานราชการ

3. ฉันต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการแช่อสุจิ?

a. บัตรประชาชน และเอกสารเซ็นต์ยินยอมจกทางหน่วยงานราชการ

4. ฉันต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการฝากตัวอ่อน หรือทำ ICSI?

a. บัตรประชาชน ทะเบียนสมรส และเอกสารเซ็นต์ยินยอมจกทางหน่วยงานราชการ

5. ฉันสามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้ไหม?

a. ได้ค่ะ