การมีบุตรยากนั้น มีบางส่วนที่มาจากปัญหาสุขภาพของฝ่ายหญิง เช่น ปัญหามดลูกหย่อนและมดลูกคว่ำ ซึ่งบางคนมักจะเข้าใจผิดว่าอาการสองแบบนี้คืออาการของกลุ่มโรคเดียวกัน วันนี้หมอจะมาอธิบายและแนะนำวิธีรักษาไปพร้อมๆ กันครับ
มดลูกต่ำ VS มดลูกคว่ำ แตกต่างกันอย่างไร?
อาการของภาวะมดลูกหย่อน และมดลูกคว่ำนั้น ถึงจะเป็นภาวะผิดปกติของมดลูกเหมือนกัน แต่อาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดนั้นมีความแตกต่างกันครับ โดยจะแยกเป็นดังนี้
ภาวะมดลูกหย่อน
ชื่อทางการแพทย์อาการนี้ว่า “ภาวะมดลูกหย่อนคล้อย” เกิดจากบริเวณกล้ามเนื้อแถวๆ อุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพ สาเหตุมักเกิดกับผู้หญิงที่ผ่านการมีบุตรมากแล้วหลายคน หรือ เด็กที่คลอดออกมามีตัวใหญ่เกินไปหรือ ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยทอง ทำให้ปริมาณร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ส่งผลให้ท้องผูกง่าย จนต้องออกแรงเบ่งบ่อย หรือ ผู้หญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วน ผู้ป่วยที่มีภาวะของโรคเนื้องอกในมดลูก คนที่ทำงานหนักเป็นประจำ หรือเคยรักษาการผ่าตัดมดลูก ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะภาวะมดลูกหย่อนคล้อยได้ทั้งสิ้น
อ่านต่อบทความ สาเหตุมีลูกยาก เกิดจากฝ่ายชาย หรือ ฝ่ายหญิง ?
อาการของภาวะมดลูกต่ำ
- มีอาการตกขาวผิดปกติ
- รู้สึกเจ็บหรือเลือดออกมีขณะมีเพศสัมพันธ์
- ปวดปัสสาวะบ่อย ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะนานๆ ได้ บางรายอาจจะมีอาการปัสสาวะเล็ด
- ท้องผูกง่ายๆ ใช้แรงเบ่งเยอะ เข้าห้องน้ำครั้งละนานๆ มีอาการปวดหน่วงๆ เหมือนมีสิ่งบางอย่างติดอยู่ที่ปากช่องคลอด
- มีเนื้อเยื่อออกมาจากช่องคลอด
“ภาวะมดลูกหย่อน” ผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่?
โดยปกติแล้วผู้ที่ภาวะมดลูกหย่อนคล้อยนั้น หากเพิ่มเริ่มมีอาการของโรคจะไม่ส่งผลต่อการมีบุตรครับ ผู้ป่วยสามารถมีบุตรได้ แต่ในกรณีที่มีความรุนแรงของโรคเยอะควรที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำจะดีที่สุด
มดลูกคว่ำ
อาการของโรคเหล่านี้นั้นมักจะก่อให้เกิดพังผืดที่เข้าไปรั้งบริเวณด้านหลังของมดลูกส่งผลให้มดลูกเกิดภาวะคว่ำหน้าลง ซึ่งอาการของภาวะนี้นั้นความจริงแล้วไม่ได้มีความอันตรายร้ายแรงที่ส่งผลต่อมีบุตร แต่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่ทำให้มีบุตรยากเช่น
- โรคพังผืดในอุ้งเชิงกราน
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- โรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานเฉียบพลัน
- ช็อกโกแลตซีสต์
- อุ้งเชิงกรานอักเสบ
นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อปัญหาการเกิดพังผืดที่รั้งมดลูกมากจนเกินไปจนทำให้มดลูกบิดเสียรูป มีปัญหาอุดตันเข้ามาอีก และที่สำคัญภาวะนี้จะไม่แสดงอาการจนกว่าจะตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
บทความ : วิธีรับมือกับปัญหาท้องแล้วแท้ง ให้ตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
จะทำให้แท้งง่ายกว่าปกติหรือไม่?
ภาวะเหล่านี้ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งง่ายกว่าปกติครับ แต่จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะมดลูกโตในอุ้งเชิงกร้าน ซึ่งหากตั้งครรภ์ในมดลูกที่คว่ำหน้าลง เมื่อมดลูกขยายขึ้นอาจจะไม่ดันกดทับกระดูกสันหลังที่ต่อกับกระดูกสันหลังเอว (Lumbar spine) หรือกระดูกใต้กระเบนเหน็บครับ
วิธีมีลูกอย่างปลอดภัย
วิธีการมีลูกอย่างปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยภาวะเหล่านี้ จะเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างการทำ ICSI หรือการทำเด็กหลอดแก้วมาดีที่สุดครับ เพราะการทำอิ๊กซี่เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่มีช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากจากภาวะต่างๆ เนื่องจากขั้นตอนการทำ ICSI นั้นคือการนำเข็มดูดเชื้อแล้วนำไปฉีดเข้าไปในไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นแพทย์ผู้ดูแลจะทำการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการจนผ่านไปถึงระยะบลาสโตซิสแล้วจึงนำกลับไปฝังในโพรงมดลูก ทำให้ ICSI มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าครับ
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์