ขั้นตอนการทําอิ๊กซี่ (ICSI) วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่ดีที่สุดในยุคปัจจุบัน

ขั้นตอนการทําอิ๊กซี่ การทํา ICSI อิ๊กซี่

ขั้นตอนการทําอิ๊กซี่ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เตรียมตัวนานแค่ไหน? เป็นคำถามที่คู่สมรสหลายคู่ที่คิดจะทำอิ๊กซี่ ต้องการทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำ วันนี้เราจะมาอธิบายขั้นตอนการทำอิ๊กซี่แบบละเอียดให้ทุกท่านทราบกัน

การทำอิ๊กซี่ ICSI (Intracytoplasmic sperm injection) เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสูงที่จะช่วยคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากให้สามารถมีบุตรได้ ซึ่งการทำ ICSI เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก เพราะเป็นวิธีที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมากกว่าวิธีอื่นๆ และยังใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน โดยขั้นตอนการทำอิ๊กซี่นั้น จะเป็นการปฏิสนธินอกร่างกายที่ถูกพัฒนามาจากการทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF แต่ให้ผลลัพธ์เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จที่สูงกว่า เพราะ การทำ IVF จะเป็นกระบวนการคัดเลือกไข่ที่สมบูรณ์และเชื้อที่แข็งแรงมาผสมกันเพื่อปล่อยให้ปฏิสนธิกันเองตามธรรมชาติจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำกลับเข้าไปที่โพรงมดลูก

แต่การทำ ICSI จะเป็นการปฏิสนธิแบบเจาะจงหรือเลือกได้ คือนักวิทย์ฯ จะคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัวที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกัน ด้วยการใช้เข็มเจาะ และฉีดอสุจิเข้าไปที่เนื้อไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำกลับไปในโพรงมดลูก ทำให้ ICSI มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาเรื่องของการมีบุตรยากของคู่สมรสที่ลองมาแล้วหลายวิธีได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย 

สรุป ขั้นตอนการทําอิ๊กซี่ มีอะไรบ้าง?

 

ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่ ICSI Process

 

 

ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่ ICSI Process

ขั้นตอนที่ 1: การตรวจและกระตุ้นไข่

เริ่มแรกก่อนการทำอิ๊กซี่จำเป็นจะต้องมีการตรวจเพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่าเหมาะสมกับการทำอิ๊กซี่หรือไม่ เช่น การเจาะเลือดวัดฮอร์โมน โดยทางฝ่ายหญิงนั้นจำเป็นจะต้องตรวจในช่วงวันที่ 2-3 ของการมีรอบเดือน ซึ่งการตรวจนี้จะเป็นวิธีการประเมินการทำงานของรังไข่ จากนั้นจะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อนับจำนวนไข่ของรอบเดือนนั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มการฉีดกระตุ้นไข่บริเวณหน้าท้อง (จำนวนเข็มที่ฉีดจะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ โดยจะยึดหลักปริมาณฮอร์โมน ผลตรวจและอายุของฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด)

ฉีดยากระตุ้นไข่ กับ กินยากระตุ้นไข่ แบบไหนดีกว่ากัน?

ซึ่งตัวยาที่ฉีดนั้นจะเป็นยาที่มีผลต่อการกระตุ้นให้ไข่มีการพัฒนาและมีการเติบโตขึ้นได้ครั้งละหลายๆ ใบก่อน ยาตัวนี้จะใช้เวลาในการฉีดกระตุ้นประมาณ 5 วัน จากนั้นจะเริ่มต้นการฉีดยาที่มีคุณสมบัติที่จะช่วยชะลอกันไข่ตกก่อนเวลานัดเก็บไข่ ซึ่งในระหว่างนี้ทางแพทย์ผู้ดูแลจะมีการตรวจวัดระดับฮอร์โมนประกอบกับอัลตราซาวด์เป็นระยะ เพื่อติดตามผลการเจริญเติบโตของไข่ว่ามีปริมาณเท่าไรและมีขนาดที่เหมาะสมในการเก็บหรือยัง โดยจะหลักเกณฑ์ในการเก็บไข่นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาด ซึ่งขนาดที่เหมะสมนั้นก็คือ ไม่ต่ำกว่า 18 เซ็นติเมตร หากตรวจได้ขนาดที่เหมาะสมเพียงพอแล้วแพทย์จะเริ่มฉีดตัวยากระตุ้นให้ไข่ตกพร้อมกันภายใน 36 ชั่วโมง

ขั้นตอนที่ 2: กระบวนการเก็บไข่

ในกระบวนการขั้นตอนเก็บไข่จะไม่ได้เก็บโดยวิธีผ่าตัดอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ทีมแพทย์จะทำการเก็บผ่านทางช่องคลอด (ผ่าตัดส่องกล้อง) โดยการวางยาระงับความรู้สึกก่อน จากนั้นก็นำเครื่องมือก็คือ เข็มขนาดเล็กที่ติดหัวอัลตราซาวด์ค่อยๆ สอดเข้าไปส่องหาไข่ ก่อนจะทำการเจาะดูดไข่ออกมาเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงไข่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิสนธิ

ขั้นตอนที่ 3: ทำ ICSI เก็บน้ำเชื้ออสุจิผสมกับไข่

ในวันที่เก็บไข่ ถ้าคนไข้ใช้ Sperm สด ผู้ชายต้องมาเก็บสเปิร์มในวันเก็บไข่ หรือบางคู่ผู้ชายอาจจะไม่สะดวก สามารถมาแช่แข็งสเปิร์มไว้ก่อนหน้านั้นได้ โดยนักวิทย์จะละลาย Sperm ออกมาใช้ในวันที่เก็บไข่ผู้หญิง

ในกระบวนการเก็บน้ำเชื้อ สามีภรรยาควรงดมีกิจกรรมทางเพศ (รวมถึงการช่วยตัวเอง) ประมาณ 3-7 วัน หากเป็นผู้ที่มีสมรรถภาพทางเพศสมบูรณ์ก็จะใช้วิธีการช่วยตัวเองให้หลั่งใส่ในภาชนะปลอดเชื้อ หากเป็นผู้ที่มีปัญหาทางสมรรถภาพทางเพศ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัว เป็นหมัน ในกรณีนี้ทางการแพทย์จะใช้วิธีเก็บน้ำเชื้อโดยการนำเข็มดูดออกทางลูกอัณฑะ จากนั้นทีมแพทย์จะนำน้ำเชื้อไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองอสุจิเพื่อเลือกตัวที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด โดยในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาในการทำภายใน 30 นาที เพื่อคงประสทธิภาพของน้ำเชื้อให้ได้มากที่สุด และหลังจากที่เลือกตัวอสุจิแล้วก็จะนำมาเติมอาหารเสริมเพื่อเพิ่มความเร็วในเคลื่อนไหวเวลาปฏิสนธิ

สเปิร์มไม่แข็งแรง อสุจิไม่มีสเปิร์ม น้ำเชื้ออ่อน มีลูกได้หรือไม่?

น้ำเชื้อไม่มีอสุจิเลย อยากมีลูกต้องทำอย่างไร

โดยปกติแล้วการปฏิสนธิด้วยวิธีเช่น GIFT , IVF , IUI จะเป็นการปล่อยให้น้ำเชื้อและไข่วิ่งเข้าผสมกันเอง ซึ่งสามารถกระทำได้ถ้าเป็นผู้ที่มีไข่และน้ำเชื้อแข็งแรงปกติ แต่วิธีนั้นจะไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำเชื้ออ่อน ไม่สมบูรณ์ และไข่ที่มีเปลือกแข็งหนาจนอสุจิเข้าไปไม่ได้ ดังนั้นการทำอิ๊กซี่จึงตอบโจทย์มากกว่าเพราะแพทย์ผู้ดูแลจะใช้เข็มขนาดเล็กดูดน้ำเชื้อจำนวนหนึ่งขึ้นมาแล้วฉีดเข้าไปในไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง จนเกิดเป็นตัวอ่อนต่อไป

วันเก็บไข่ นักวิทย์ฯ จะทำการ ICSI เราจะเรียกว่า Day0

ขั้นตอนที่ 4: เลี้ยงตัวอ่อน 5-6 วัน

ถัดจากวันที่ทำ ICSI Day0 วันถัดไปจะนับเป็น Day1 ซึ่งจะทราบผลว่า ICSI ไปแล้วได้ตัวอ่อนกี่ตัว จากนั้นจะนำตัวอ่อนมาเพาะเลี้ยงต่อไป โดยขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะต้องควบคุมอุณหภูมิอย่างเหมาะสมเท่านั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการแบ่งเซลล์สูงสุด โดยจะเลี้ยงได้ยาวนานสุดคือ 6วัน หรือ Day6 และจากนั้นก็จะแช่แข็งตัวอ่อน แต่บางเคสก็สามารถแช่แข็งได้ตั้งแต่ Day2-3 ได้เช่นกัน (ขึ้นอยู่ที่คุณภาพตัวอ่อน) เมื่อเกิดการแบ่งเซลล์แต่ละระยะจนพร้อมแล้วแพทย์จะทำการฝังตัวอ่อนนี้สู่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

ทำไมต้องใช้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ในการทำ ICSI

ขั้นตอนที่ 5: ย้ายตัวอ่อนรอบสดเข้าโพรงมดลูก

หลังจากเลี้ยงตัวอ่อนจนอยู่ในระยะ 5 – 6 วัน หรือระยะ Blastocyst แล้ว ถ้าตัวอ่อนเติบโตดี แข็งแรง แพทย์ก็จะนัดคนไข้มาย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูก

แต่ในปัจจุบัน หากไม่ติดปัญหาหรือมีเหตุผลจำเป็นอื่น มักใช้การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง มากกว่าการย้ายตัวอ่อนรอบสด เพราะมีอัตราความสำเร็จที่สูงกว่า

เหตุผลที่การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งมีอัตราความสำเร็จมากกว่ารอบสด เนื่องจากผลข้างเคียงจากการกระตุ้นที่ทำให้ฮอร์โมนสูง ทำให้เกิดมีภาวะบวมน้ำ หรือ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS) และส่งผลกระทบถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะไม่สำเร็จหรือถ้าสำเร็จมีการตั้งครรภ์ขึ้นมา คนไข้จะต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งภาวะ OHSS ที่ค้างมาจากการกระตุ้นร่วมกับการตั้งครรภ์ได้

ในการย้ายตัวอ่อนนั้น ฝ่ายหญิงจะต้องทำใจให้สบายๆ ไม่เกร็งหรือเคร่งเครียดจนเกินไป เพราะจะเป็นอุปสรรคในการฝังตัวอ่อน หากเป็นคนที่เครียดง่ายหรือวิตกกังวลง่าย ทางแพทย์จะวางยานอนหลับเพื่อให้การย้ายตัวอ่อนเป็นไปอย่างราบรื่น กระบวนการย้ายตัวอ่อนจะกระทำโดยการใช้สายนำตัวอ่อนค่อยๆ สอดเข้าไปทางช่องคลอดคล้ายการตรวจภายใน ผ่านปากมดลูกละฝังตัวอ่อนในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในโพรงมดลูก โดยขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้การอัลตราซาวด์ประกอบด้วยเพื่อหาตำแหน่งอย่างเหมาะสมและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น

อาการหลัง ทำอิ๊กซี่ อาการหลังใส่ตัวอ่อนและข้อควรระวังที่หลายคนอยากรู้

ขั้นตอนที่ 6: แช่แข็งตัวอ่อน นำตัวอ่อนเข้ากระบวนการแช่แข็ง

ในเคสที่ไม่ติดปัญหา หรือมีเหตุจำเป็นให้ต้องย้ายตัวอ่อนรอบสด แพทย์จะแนะนำให้แช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมของคนไข้ เนื่องจากผลข้างเคียงจากการกระตุ้นไข่ที่ทำให้ฮอร์โมนสูง ทำให้เกิดมีภาวะบวมน้ำ หรือ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS) และส่งผลกระทบถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะทำให้ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จหรือถ้าสำเร็จขึ้นมา คนไข้จะต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งภาวะ OHSS ที่ค้างมาจากการกระตุ้นร่วมกับการตั้งครรภ์ได้ 

การแช่แข็งตัวอ่อนจะทำหลังจากเลี้ยงตัวอ่อนแล้ว 5-6 วัน หรือระยะ Blastocyst

ขั้นตอนที่ 7: เตรียมผนังมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน

ในช่วงนี้จะเป็นช่วงให้คนไข้ได้พัก เพื่อให้ผลข้างเคียงจากการถูกกระตุ้นลดลง และเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมต่อการย้ายตัวอ่อนต่อไป

6 วิธีเตรียมผนังมดลูก การบำรุงมดลูกสำหรับการฝังตัวอ่อน เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ขั้นตอนที่ 8: ย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง

หลังจากที่เว้นระยะให้คนไข้ได้มีการเตรียมโพรงมดลูกให้มีความพร้อมมากที่สุดแล้ว แพทย์ก็จะนัดคนไข้มาย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกไว้ กลับเข้าสู่โพรงมดลูก

ขั้นตอนนี้ แพทย์จะนำเอาตัวอ่อนที่แช่แข็งไว้มาละลาย แล้วย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ในการย้ายตัวอ่อนนั้น ฝ่ายหญิงจะต้องทำใจให้สบายๆ ไม่เกร็งหรือเคร่งเครียดจนเกินไป เพราะจะเป็นอุปสรรคในการฝังตัวอ่อน หากเป็นคนที่เครียดง่ายหรือวิตกกังวลง่าย ทางแพทย์จะวางยานอนหลับเพื่อให้การย้ายตัวอ่อนเป็นไปอย่างราบรื่น กระบวนการย้ายตัวอ่อนจะกระทำโดยการใช้สายนำตัวอ่อนค่อยๆ สอดเข้าไปทางช่องคลอดคล้ายการตรวจภายใน ผ่านปากมดลูกละฝังตัวอ่อนในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในโพรงมดลูก โดยขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้การอัลตราซาวด์ประกอบด้วยเพื่อหาตำแหน่งอย่างเหมาะสมและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น

ย้ายตัวอ่อนรอบสด VS รอบแช่แข็ง แบบไหนได้ผลดีที่สุด

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งคือ เราจะมีเวลาในการเตรียมโพรงมดลูกให้มีความพร้อมมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มโอกาสให้การตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จสูงสุด ด้วยการตรวจโครโมโซม NGS คือสามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ รวมไปถึงคัดกรองคุณภาพของตัวอ่อนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้นด้วย

โอกาสตั้งครรภ์สำเร็จที่ Worldwide IVF สามารถทำได้สูงถึง 85% จากเคสที่เราดูแลมาแล้วกว่า 10,000 เคส

การปฏิบัติตัวภายหลังการใส่ตัวอ่อน

  • ไม่ควรลุกนั่งภายหลังการใส่ตัวอ่อนอย่างน้อย 30 นาที  ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนแรง เจ็บหน่วงที่หน้าท้อง หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ จึงไม่ควรขับรถมาเอง ควรให้สามี ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดพามาเท่านั้น
  • ควรเหน็บยาในช่องคลอด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอด
  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หรือยกของหนักๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้
  • สำหรับอาหารการกินนั้น สามารถรับประทานอาหารปกติได้ แต่จำเป็นต้องทานอาหารที่มีเส้นใยเยอะๆ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องท้องผูกหรือท้องเสีย เพราะอาการเหล่านี้จะส่งผลให้การตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่พื้นที่แออัด หรือคนเยอะๆ
  • หากมีอาการผิดปกติ ต้องเข้าพบแพทย์ทันที

อ่านบทความ : FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้ คำถามเกี่ยวภาวะมีบุตรยาก


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์