สเปิร์มไม่แข็งแรง อสุจิไม่มีสเปิร์ม น้ำเชื้ออ่อน มีลูกได้หรือไม่?

ภาวะมีบุตรยาก นั้นมักเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุที่หมอมักจะพบเจออยู่เป็นประจำนั่นก็คือ ปัญหาสเปิร์มไม่แข็งแรง อสุจิไม่มีสเปิร์ม น้ำเชื้ออ่อน ซึ่งภาวะนี้จะเกิดจากความผิดปกติทางฝ่ายชายที่ส่งผลต่อคุณภาพของน้ำเชื้อ เพราะเมื่อไม่มีสเปิร์มเลยก็จะทำให้ไม่มีเชื้อที่จะนำไปผสมกับไข่เพื่อให้การตั้งครรภ์ได้ วันนี้หมอจึงจะมาพูดถึงเรื่องนี้ให้ฟังกันครับ

สเปิร์มไม่แข็งแรง อสุจิไม่มีสเปิร์ม มีลูกได้หรือไม่?

สเปิร์มคืออะไร?

สเปิร์ม คือเซลล์สืบพันธุ์ที่จะปฏิสนธิกับไข่ เพื่อพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนและทารกต่อไป โดยสเปิร์มนั้นจะมีจะมีโครโมโซมที่ใช้กำหนดเพศต่างกันอยู่ คือ โครโมโซม X และโครโมโซม Y ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

  • สเปิร์ม X (หญิง) คุณลักษณะพิเศษ คือ ตัวใหญ่ หางสั้น เคลื่อนไหวช้า แต่มีความแข็งแรงและทนต่อกรดในช่องคลอดมากกว่า
  • สเปิร์ม Y (ชาย) คุณลักษณะพิเศษ คือ ตัวเล็ก หางยาว เคลื่อนไหวเร็วกว่าสเปิร์ม X แต่มีความบอบบาง ไม่ค่อยทนต่อกรดในช่องคลอดและมักจะตายก่อนที่จะเข้าไปผสมกับไข่

ในขั้นตอนการปฏิสนธินั้นจะมีสเปิร์มเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่จะเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ที่มีโครโมโซม X เมื่อปฏิสนธิแล้วออกมาเป็น XX ทารกก็จะเป็นเพศหญิง หากออกมาเป็น XY ก็จะเป็นทารกเพศชายนั่นเอง

อ่านบทความ : FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้ คำถามเกี่ยวภาวะมีบุตรยาก

สเปิร์มไม่แข็งแรง อสุจิไม่มีสเปิร์ม เกิดจากอะไร

เนื่องจากสาเหตุของการมีบุตรยากนั้นหลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า เกิดจากฝ่ายหญิงมากกว่า แต่ความเป็นจริงแล้วปัญหานั้นก็สามารถเกิดขึ้นกับฝ่ายชายได้ อัตราเฉลี่ยอยู่ประมาณ 30 – 40% สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น สเปิร์มไม่แข็งแรง อสุจิไม่มีสเปิร์ม น้ำเชื้ออ่อน หรือมีปัญหาน้ำอสุจิหลั่งน้อยเกินไป ซึ่งแต่ละสาเหตุนั้นจำเป็นที่จะพบได้ก็ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

11 อาหารบำรุงอสุจิ ให้แข็งแรงเคลื่อนไหวรวดเร็ว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์

การประเมิน

โดยทั่วไป สิ่งแรกที่ต้องประเมินจากฝ่ายชายก็คือ การตรวจเชื้ออสุจิ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อตาม รูปร่าง จำนวน การเคลื่อนไหว และจำนวนเชื้อที่เคลื่อนไหว โดยมีค่าต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นเกณฑ์

  • Total Sperm Count > 40 million
  • Morphology (WHO) > 30% normal shape
  • Morphology (Kruger) > 14% normal shape
  • Volume > 2 milliliters
  • Motility > 50% motile
  • Liquefaction complete by 60 min

จำนวนเชื้อที่เคลื่อนไหวทั้งหมด จะเป็นข้อบ่งชี้ถึงการประเมินโดยรวมของเชื้อโดยส่วนใหญ่และผู้ที่มีความผิดปกติของการตรวจเชื้ออสุจิ อาจจะต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม รวมทั้งทำการตรวจวิเคราะห์ทางด้านฮอร์โมน การตรวจลูกอัณฑะ และในบางครั้งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจโครโมโซมร่วมด้วย

การตรวจฮอร์โมน
การตรวจฮอร์โมนของต่อมใต้สมองสามารถที่จะให้ข้อมูลในเรื่องของการผลิตเชื้ออสุจิได้ อีกทั้งการตรวจพบปริมาณฮอร์โมนที่อยู่ในระดับผิดปกติ ก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการมีบุตรยาก การตรวจระดับฮอร์โมนควรตรวจในกรณี

  1. จำนวนเชื้ออสุจิ น้อยกว่า 1 ล้านตัวต่อซีซี
  2. มีความผิดปกติในการทำงานเรื่องเพศ
  3. ตรวจพบความผิดปกติในร่างกายที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์

สเปิร์มไม่แข็งแรง อสุจิไม่มีสเปิร์ม มีลูกได้หรือไม่?

หัตถการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาปัญหาที่เกิดจากฝ่ายชาย

  1. การผ่าตัดแก้หมัน เป็นการเปิดท่อที่นำน้ำเชื้ออสุจิกลับคืน หลังจากการทำหมัน แต่วิธีนี้อาจให้ผลการรักษาได้ไม่ค่อยดีนัก กล่าวคืออาจจะมีอัตราของความสำเร็จ หรือความสมบูรณ์ของน้ำเชื้ออสุจิ เพียงร้อยละห้าสิบเท่านั้น นอกจากนี้แล้วการแก้หมันยังอาจส่งผลทำให้เกิดภูมิคุ้มกันเชื้ออสุจิได้
  2. หากเกิดกรณีมีเส้นเลือดขอดบริเวณถุงอัณฑะ เมื่อมีเส้นเลือดขอดก็อาจต้องผูกเส้นเลือดบริเวณนั้น เพื่อให้คงอุณหภูมิของเชื้ออสุจิที่ผลิตออกมาได้
  3. การเจาะเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะ PESA / TESE
    ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมัน คือ ไม่มีตัวอสุจิออกมาในน้ำน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาเลย ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การอุดตันของท่อนำอสุจิ, ไม่มีท่อนำอสุจิมาตั้งแต่กำเนิด, มีปัญหาของการหลั่ง, ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาตายหมด หรือมีการอักเสบของอัณฑะเนื่องจากเชื้อไวรัสคางทูมหรืออื่นๆ ในอดีตผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารพมีบุตรของตนเองได้ นอกจากจะใช้อสุจิจากน้ำเชื้อของผู้บริจาคเท่านั้น แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและวิวัฒนาการที่ล้ำสมัยยิ่ง จึงสามารถช่วยให้ฝ่ายชายที่ประสบปัญหาเหล่านี้สามารถมีบุตรของตนเองได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

    – PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) คือการใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา เมื่อพบตัวอสุจิแล้วก็จะนำเอามาเจาะใส่ไข่เพียงตัวเดียวโดยใช้เครื่องมือพิเศษ(Micromanipulator) จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
    – TESE (Testicular Epididymal sperm Extraction) คือการผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
    – TESA (Testicular Sperm Aspiration) คือการใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะแล้วดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
    – MESA (Microsurgical Epiddymal Sperm Aspiration) คือการผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป

  4. ICSI การทำอิ๊กซี่ เป็นการนำเชื้อที่มีอยู่ในปริมาณน้อย เข้ามาผสมกับไข่โดยตรงผ่านเครื่องและเทคนิคพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงและเคลื่อนไหวปกติมาทำเพื่อให้โอกาสในการปฏิสนธิมากที่สุด หัตถการที่ถูกต้องจะได้มีการพูดคุยกับผู้มารับบริการก่อนที่จะเริ่มการรักษา และทั้งนี้หัตการต่างๆ สามารถที่จะทำได้ในคลินิกของเรา และผู้รับบริการจะได้รับข้อมูลทั้งหมดอย่างครบถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มการรักษา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์