ย้ายตัวอ่อนรอบสด VS รอบแช่แข็ง แบบไหนได้ผลดีที่สุด

การทำอิ๊กซี่ การย้ายตัวอ่อนรอบสด กับ รอบแช่แข็ง” แบบไหนได้ผลดีที่สุด

การทำอิ๊กซี่ การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก

ในขั้นตอนการทำอิ๊กซี่ หลังจากที่นักวิทย์ฯ ได้ทำการคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัวที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกันแล้ว หลังจากมีการผสมก็จะนำตัวอ่อนมาเพาะเลี้ยงต่อ โดยจะเลี้ยงได้ยาวนานสุดคือ 6 วัน จากนั้นตัวออนจึงจะพร้อมเข้าสู้ขั้นตอนการฝังตัวอ่อนในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป ซึ่งหากเลี้ยงตัวอ่อนถึงวันที่ 6 แล้วนำตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกทันที จะเรียกว่าการย้ายตัวอ่อนรอบสด

เมื่อก่อนการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกมักจะทำในรอบสดเป็นหลัก เพราะเทคนิคการแช่แข็งตัวอ่อนรวมไปถึงการละลายยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีในการเจริญพันธุ์หรือการรักษาภาวะการมีบุตรยากเจริญก้าวหน้าไปมากทำให้ทั้งการแช่แข็งและการทำละลาย สามารถคงสภาพให้มีคุณภาพเทียบเท่าระยะก่อนแช่แข็งได้ดีขึ้น และทำลายตัวอ่อนน้อยลงกว่าการแช่แข็งสมัยก่อน

แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ ทีมนักวิทย์ฯของทางคลินิก ที่ให้การรักษาการมีบุตรยากด้วย ส่วนการจะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง และขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน

การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก สามารถเลือกทำได้ 2 แบบ

  • การย้ายตัวอ่อนรอบสด Fresh Cycle

เป็นการย้ายตัวอ่อนในรอบที่ทำการกระตุ้นและเก็บไข่ คือทำหลังจากเก็บไข่ และนำมาปฎิสนธินอกร่างกายกับอุสจิแล้ว ก็จะเลี้ยงตัวอ่อนจนอยู่ในระยะ 5 – 6 วัน หรือระยะ Blastocyst ถ้าตัวอ่อนเติบโตดี แข็งแรง แพทย์ก็จะนัดคนไข้มาย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูก

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนสด คือประหยัดเวลา รวมถึงการย้ายรอบสดอาจจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการแช่แข็ง

  • การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง Frozen Cycle

เป็นการใช้ตัวอ่อนที่แช่แข็งมาละลาย แล้วจึงย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกที่เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งคือ เราจะมีเวลาในการเตรียมโพรงมดลูกให้มีความพร้อมมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มโอกาสให้การตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จสูงสุด ด้วยการตรวจโครโมโซม NGS คือสามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ รวมไปถึงคัดกรองคุณภาพของตัวอ่อนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้นด้วย

สำหรับขั้นตอนนี้ต้องรอผลการตรวจ ทำให้ต้องใช้การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งเพื่อรอผลตรวจออกมาก่อนนั่นเอง

ปัจจุบันหากไม่ติดปัญหาหรือมีเหตุผลจำเป็นอื่น มักใช้การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง มากกว่า การย้ายตัวอ่อนสด เพราะมีอัตราความสำเร็จที่สูงกว่า เหตุผลที่การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งมีอัตราความสำเร็จมากกว่ารอบสด เนื่องจากผลข้างเคียงจากการกระตุ้นที่ทำให้ฮอร์โมนสูง ทำให้เกิดมีภาวะบวมน้ำ หรือ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS) และส่งผลกระทบถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะไม่สำเร็จหรือถ้าสำเร็จมีการตั้งครรภ์ขึ้นมา คนไข้จะต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งภาวะ OHSS ที่ค้างมาจากการกระตุ้นร่วมกับการตั้งครรภ์ได้

การปฏิบัติตัวภายหลังการใส่ตัวอ่อน

  • ไม่ควรลุกนั่งภายหลังการใส่ตัวอ่อนอย่างน้อย 30 นาที  ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนแรง เจ็บหน่วงที่หน้าท้อง หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ จึงไม่ควรขับรถมาเอง ควรให้สามี ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดพามาเท่านั้น
  • ควรเหน็บยาในช่องคลอด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอด
  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หรือยกของหนักๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้
  • สำหรับอาหารการกินนั้น สามารถรับประทานอาหารปกติได้ แต่จำเป็นต้องทานอาหารที่มีเส้นใยเยอะๆ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องท้องผูกหรือท้องเสีย เพราะอาการเหล่านี้จะส่งผลให้การตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่พื้นที่แออัด หรือคนเยอะๆ
  • หากมีอาการผิดปกติ ต้องเข้าพบแพทย์ทันที

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์