FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้ คำถามเกี่ยวภาวะมีบุตรยาก

สำหรับใครที่กำลังวางแผนการมีลูกด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ การทำ ICSI (Intracytoplasmic sperm injection) อาจจะมีคำถามที่ชวนสงสัยอยู่ไม่น้อย วันนี้หมอจึงมารวบรวมคำถามที่คนไข้มักจะถามหมอบ่อยๆ เพื่อไขข้อสงสัยของคนที่กำลังสนใจและหาข้อมูลอยู่ในฟังกันครับ

FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้ คำถามเกี่ยวภาวะมีบุตรยาก

FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้

1.ICSI คืออะไร?

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คือเทคโนโลยีการทางแพทย์สมัยใหม่ที่ต่อยอดมาจากการทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือที่เรียกว่า “การทำเด็กหลอดแก้ว” ซึ่งการทำอิ๊กซี่ (ICSI) นั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาแก้ปัญหาการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ การทำเด็กหลอดแก้วแบบธรรมดา หรือ IVF ทำไม่ได้ เช่น ไข่เปลือกหนา น้ำเชื้อไม่แข็งแรง เป็นต้น

2.มีความแตกต่างกับ IVF และ IUI อย่างไร

การทำ IUI , IVF และการทำ ICSI ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้รักษาภาวะมีบุตรยากเช่นเดียวกันแต่ทั้ง 3 วิธีก็มีความแตกต่างในด้านของขั้นตอนและอัตราความสำเร็จก็จะไม่เท่ากัน คือ

  • การทำ IUI คือ การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูกโดยตรง คือ แพทย์จะทำการเก็บน้ำเชื้อจากฝ่ายชายที่มีความแข็งแรงฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรงเพื่อย่นระยะทางในการเคลื่อนไหวของอสุจิให้เข้าไปปฏิสนธิได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • การทำ IVF คือการทำเด็กหลอดแก้วแบบปกติ ขั้นตอนคือแพทย์จะทำการคัดเลือกไข่ที่คุณภาพดีและอสุจิที่แข็งแรงใส่ในจานทดลองเพื่อให้ไข่กับอสุจิปฏิสนธิกัน จากนั้นก็จะนำไปเลี้ยงต่อในห้องทดลองจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วค่อยย้ายกลับฝังในมดลูก วิธีนี้เป็นที่นิยมอย่างมากครับ แต่ว่าก็มีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย เช่น หากไข่อายุมากเกินไป เปลือกไข่หนาจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ หรือ ฝ่ายชายมีอสุจิน้อย ไม่แข็งแรง เชื้ออ่อน ไม่มีแรงพอที่จะเจาะเปลือกไข่เข้าไปได้ ทำให้การทำ ICSI เป็นที่นิยมมากกว่าครับ
  • การทำ ICSI คือ การทำเด็กหลอดแก้วที่มีขั้นตอนการคัดเลือกไข่และอสุจิเหมือนกับ IVF ทุกประการ แต่ว่าขั้นตอนการปฏิสนธิแพทย์จะใช้เข็มที่บรรจุเชื้ออสุจิแล้วฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง ทำให้ช่วยลดปัญหาที่ IVF ไม่สามารถทำได้ ทำให้โอกาสการสำเร็จมีมากกว่า และยังช่วยลดความผิดปกติของตัวอ่อนได้ด้วยหากตรวจโครโมโซมตัวอ่อน NGS ควบคู่กันครับ

บทความ : เอกสารการรักษามีบุตรยาก IUI / ICSI ทำไมต้องใช้ทะเบียนสมรส ?

3. การทำICSI เหมาะกับใคร

เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหามีบุตรยาก แต่งงานมาหลายปี ลองรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น IUI มาแล้วหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ คู่สามีภรรยาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ผู้ชายที่เป็นหมัน น้ำเชื้อน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง หรือ ผู้หญิงที่มีปัญหาที่มดลูก ตัดปีกมดลูก ท่อนำไข่ตีบ ตัน คนที่อายุเยอะ คนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น คนที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ (PCOS)

4. ย้ายตัวอ่อนรอบสดหรือแช่แข็งดีกว่ากัน

โดยปกติแล้วการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งจะมีโอกาสสำเร็จมากกว่าการย้ายตัวอ่อนสด เพราะว่าคนไข้สามารถมีเวลาในการเตรียมความพร้อมของมดลูกและหากมีการตรวจโครโมโซม NGS ร่วมด้วยก็จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้มากขึ้นอีกด้วย

5. การตรวจโครโมโซม NGS คืออะไร?

คือ การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมเพื่อดูคุณภาพของตัวอ่อนว่ามีการแบ่งตัวที่ไม่สมบูรณ์หรือความผิดปกติของพันธุกรรมที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่? ซึ่งการตรวจโครโมโซม NGS จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคทางพันธุ์กรรม ลดความเสี่ยงต่อภาวะแท้งซ้ำซ้อน และยังเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้มากขึ้นอีกด้วยครับ

6. การตรวจ NGS จำเป็นต้องตรวจหรือไม่?

การตรวจ NGS นั้น ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกคนก็ได้ครับ จะตรวจหรือไม่ตรวจก็ได้ แต่หมอจะแนะนำให้ท่านตรวจหากท่านเคยทำเด็กหลอดแก้วมาก่อนแต่ไม่สำเร็จโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือ มีภาวะแท้งซ้ำซาก คู่สามีและภรรยาที่มีอายุมากกว่า 38 ปี หรือเคยมีประวัติการตั้งครรภ์เด็กที่มีโครโมโซมผิดปกติมาก่อน เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม

7.เด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI จะเสี่ยงท้องง่ายกว่าปกติ

ไม่จริงเลยครับ ภาวะแท้งนั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งกับครรภ์ปกติและครรภ์จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ความพร้อม และหลักการปฏิบัติตัวของผู้ที่ตั้งครรภ์ ดังนั้นการทำ ICSI จึงไม่ได้ทำให้เกิดการแท้งง่ายครับ

8.เด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI เด็กจะอ่อนแอหรือไม่?

การทำเด็กหลอดแก้วนั้นไม่ได้มีข้อบ่งชี้นะครับว่าจะทำให้เด็กที่เกิดมามีความอ่อนแอ ป่วยง่ายกว่าเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แบบปกติ เพราะเด็กที่เกิดมาจะมีความร่าเริงแข็งแรงเหมือนกับเด็กทั่วไปครับ

9. มีโอกาสมีลูกแฝดหรือไม่?

มีโอกาสครับ เนื่องจากในขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก หมอมักจะใส่ตัวอ่อนเข้าไปมากกว่า 1 ตัวเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในบางกรณีที่ตัวอ่อนเกิดการฝังในโพรงมดลูกมากกว่า 1 ตัว ก็สามารถทำให้คนไข้มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้ครับ

10.ทำ ICSI เจ็บหรือไม่?

ในขั้นตอนการทำ ICSI นั้นอาจจะเจ็บบ้างเล็กน้อยครับ เช่น ในขั้นตอนการกระตุ้นไข่ที่ในคนไข้บางรายอาจจะต้องกระตุ้นโดยการฉีดยา และขั้นตอนตอนเก็บไข่ครับซึ่งถึงแม้ว่าแพทย์จะวางยาสลบ แต่หลังจากที่เก็บไข่ไปแล้วอาจจะมีอาการปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อยหรือบริเวณอุ้งเชิงกรานเล็กน้อย ซึ่งอาการจะหายไปเองหลักจากการพักผ่อนประมาณ 1-2 วันครับ

11.จะทราบได้อย่างไรว่าทำ ICSI สำเร็จ

หลังจากย้ายตัวอ่อนประมาณ 14 วัน แพทย์จะทำการนัดเข้ามาตรวจระดับฮอร์โมน hCG เพื่อการทดสอบผลตั้งครรภ์ว่า สำเร็จหรือไม่ครับ

12.เป็นหมันทำ ICSI ได้มั้ย?

สำหรับฝ่ายชายเป็นหมัน หรือ ทำหมันก่อนหน้านี้ หากต้องการมีบุตรก็สามารถมีบุตรได้ครับ โดยแพทย์จะทำการดูดน้ำเชื้อออกมาจากอัณฑะ แล้วนำมาเข้าสู่กระบวนการทำ ICSI ต่อไป


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์