ช็อกโกแลตซีสต์ มีลูกได้ไหม? ผ่าตัดแล้ว สามารถมีลูกได้เองหรือไม่?

ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นโรคที่สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกเพศทุกวัย และยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์หลายคนค่อนข้างเป็นกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจจะทำให้มีลูกยาก หรือไม่สามารถมีลูกได้ วันนี้หมอจะมาพูดเรื่องนี้ให้ฟังกันครับ 

ช็อกโกแลตซีสต์ มีลูกได้ไหม? ผ่าตัดแล้ว สามารถมีลูกได้เองหรือไม่?

‘ช็อกโกแลตซีสต์’ คืออะไร?

Chocolate Cyst คือ ภาวะผิดปกติทางร่างกายที่เกิดจากถุงน้ำในระบบสืบพันธุ์ โดยประเภทของซีสต์นั้นก็มีอยู่หลายประเภท แบ่งออกได้ดังนี้

  • Functional Cyst เป็นถุงน้ำที่สร้างขึ้นตามธรรมชาติ ถุงน้ำชนิดนี้จะสามารถสลายออกไปอีกได้ภายใน 2-3 เดือน
  • Ovarian Cyst (Ovarian Tumor) ซีสต์ชนิดนี้เป็นเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง แต่ว่าไม่ร้ายแรงอะไร ภายในจะบรรจุน้ำ ไขมัน เส้นผม กระดูกและฟัน
  • Tumor like condition ซีสต์ชนิดนี้คือ ซีสต์ที่อันตราย เป็นภาวะที่เกิดจากการตกไข่ที่ผิดปกติส่งผลให้เลือดประจำเดือนค้างอยู่ในภายในร่างกายเป็นเวลานาน จนกลายเป็นสีน้ำตาล

จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรค ‘ช็อกโกแลตซีสต์

โดยปกติแล้วคนที่เป็นโรคช็อกแลตซีสต์นั้นมักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าเป็นอยู่ เพราะจะไม่มีการแสดงอาการในระยะแรกๆ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีสังเกตอาการได้เลย วันนี้หมอจึงจะมาแชร์วิธีสังเกตอาการเสี่ยงต่อโรคช็อกแลตซีสต์ให้ฟังครับ 

  • มีอาการปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ หรือ มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • บริเวณที่ปวดมักจะปวดบริเวณท้องด้านหน้า ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกรานและส่วนด้านหลังตั้งแต่เอวไปถึงก้นกบ
  • มีภาวะลำไส้แปรปรวน เช่น อาการท้องอืด ท้องเสีย อาจจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดร่วมด้วย
  • ปัสสาวะบ่อย บางรายอาจมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด
  • มีอาการปวดหลัง บางทีก็ปวดร้าวลงไปถึงบริเวณขา

‘Chocolate Cyst มีลูกได้มั้ย และทำให้มีลูกยาก จริงหรือไม่? 

ผู้ที่มีภาวะ Chocolate Cyst นั้นสามารถมีลูกได้ครับ แต่ว่าอาจจะมีลูกยากมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นโรคที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ทำให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติ จึงทำให้และทำให้คนไข้มีลูกได้ยากขึ้น

การรักษา Chocolate Cyst

1.การใช้ยา

ในกระบวนการรักษานั้น จำเป็นจะต้องใช้ยาที่มีคุณสมบัติคุมกำเนิดทั้งหมด ยังยั้งไม่ให้ไข่เจริญเติบโตดังนั้นหากท่านกำลังเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้อยู่และต้องการมีบุตร ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์

2.การผ่าตัด

การรักษาด้วยการผ่าตัด จะเป็นกระบวนการรักษาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสามารถจัดการกับปัญหาได้ตรงจุดที่สุด และเนื้อที่ผ่าออกมาก็ยังสามารถส่งตรวจต่อไปด้ว่า ชีสต์ชนิดนี้เป็นก้อนซีสต์ธรรมดาหรือซีสต์ที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็ง และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นอีกได้ แต่ในการผ่าตัดก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน เช่น

  • จำเป็นจะต้องดมยาสลบ
  • ในขั้นตอนรักษาโดยการสอดกล้องทางการแพทย์ มีความเสี่ยงที่เครื่องมืออาจจะไปโดนอวัยวะต่างๆ ภายใน
  • ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ปริมาณและขนาดของไข่ อาจจะลดลงหลังจากการผ่าตัด เพราะในกระบวนการณ์รักษานั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของซีสต์ที่หากมีขนาดเล็ก ก้สามารถลอกออกมาได้โดยง่าย แต่ถ้ามีขนาดที่ใหญ่มากๆ ก้ต้องลอกออกมาเยอะซึ่งอาจจะทำให้ผนังมดลูกส่วนดีต้องหลุดตามออกมาด้วย ส่งผลให้มีลูกยาก

การทำ อิ๊กซี่ ICSI เพื่อแก้ปัญหาการมีลูกยาก 

เนื่องจากการทำอิ๊กซี่นั้น เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาการมีลูกยากจากภาวะต่างๆ เช่น อายุมาก เป็นหมัน น้ำเชื้ออ่อน รวมถึงภาวะช็อกโกแลตชีสต์ได้ ซึ่งการทำอิ๊กซีนั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น เนื่องจากจะเป็นการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง และนอกจากนี้กระบวนการทำอิ๊กซี่ ICSI นั้นยังสามารถช่วยคัดกรองน้ำเชื้อและไข่ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเท่านั้น จึงสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการของบุตรที่อาจจะมีอาการดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติทางพันธุกรรมได้อีกด้วย


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์