การผ่าตัดเพื่อแก้หมันถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกต้นๆ ของผู้ที่ต้องการมีลูกเพิ่มแต่พลาดทำหมันไปแล้วคิดที่จะทำเพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรของตนให้มากขึ้น แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วจริงหรือ? วันนี้หมอจะมาช่วยอธิบายไขข้อสงสัยให้ฟังกันครับ
การผ่าตัดแก้หมัน
เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับการ7คุมกำเนิดถาวร ซึ่งเทคโนโลยีอันนี้สามารถทำได้ทั้งชาย-หญิง ซึ่งในการผ่าตัดเพื่อแก้หมันของฝ่ายหญิงนั้นจะมีความซับซ้อนกว่าก็คือ หมอจะทำการผูกท่อนำไข่ทั้งสองข้างแล้วจากนั้นจะทำการตัดท่อนำไข่บางส่วนออกเพื่อคุมกำเนิด ซึ่งข้อเสียของการผ่าตัดเพื่อแก้หมันของวิธีนี้ก็คือ ฝ่ายหญิงจะสูญเสียท่อนำไข่บางส่วนออกไปหากต้องการแก้หมันอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ต้องการครับ หากต้องการแก้หมันเพื่อมีบุตรเพิ่ม หมอแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยเพิ่มโอกาสมีบุตรได้จะดีกว่า
อ่านต่อบทความ เป็นหมันก็มีลูกได้ วิธีแก้หมันชาย-หญิง ต้องทำอย่างไร?
ปัจจัยที่มีผลต่อการแก้หมันหญิง
- อายุของผู้ที่ต้องการแก้หมัน โดยปกติแล้วหมอจะไม่แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไปเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้หมัน
- ตำแหน่งของท่อนำไข่ที่หมอผูกไว้ในการทำหมันครั้งแรก
- ความยาวของท่อนำไข่ที่เหลือ ว่าเหลือมากน้อยเท่าไร
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดเพื่อแก้หมัน
- การแก้หมันอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ หากในกรณีที่ท่อนำไข่ที่เหลือน้อยมากๆ
- เพิ่มโอกาสเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
- อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการบาดเจ็บบริเวณอุ้งเชิงกราน
- เพิ่มความเสี่ยงในขั้นตอนการดมยาสลบ เนื่องจากต้องเข้ารับการผ่าตัด
มีลูกได้ง่ายๆ ด้วยวิธีทางการแพทย์
สำหรับผู้ที่ต้องการมีลูกเพิ่มแต่ไม่ต้องการแก้หมัน หรือ ลองแก้หมันแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จ โดยวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การทำอิ๊กซี่ ( ICSI) หรือการทำเด็กหลอดแก้วที่ดีที่สุดในยุคสมัยนี้ เพราะช่วยแก้ปัญหาการมีลูกยากที่มาจากปัจจัยต่างๆ ได้ดี เช่น เปลือกไข่หนา เชื้ออสุจิอ่อน (เคลื่อนไหวช้า หรือรูปร่างผิดปกติ) ท่อนำไข่ตัน ฯลฯ โดยขั้นตอนก็คือจะทำการกระตุ้นไข่ให้ได้ไข่ที่มีขนาดใหญ่ กลมสวยและมีคุณภาพดีที่สุด นำมาผสมกับอสุจิที่เลือกไว้แล่วโดยใช้เข็มเจาะเข้าไปจนเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นหมอจะทำการเลี้ยงตัวอ่อนต่อไปจนอยู่ในระยะ 5-6 วันหรือระยะบลาสโตซิสก่อนจะย้ายกลับไปที่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวจนกลายเป็นทารกต่อไปครับ
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์