การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ?

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ?

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คือเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือที่เรียกว่า “การทำเด็กหลอดแก้ว” การทำอิ๊กซี่ (ICSI) ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อมาแก้ปัญหาที่การทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF ไม่สามารถทำได้ เช่น ผู้ชายที่เป็นหมัน น้ำเชื้อน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง หรือ ผู้หญิงที่มีปัญหาที่มดลูก ตัดปีกมดลูก ท่อนำไข่ตีบ ตัน คนที่อายุเยอะ คนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น คนที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ (PCOS) เป็นต้น 

อาการและปัจจัยเหล่านี้ ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะการมีบุตรยากได้ทั้งสิ้น ซึ่งการทำเด็กหลอดแก้วแบบอิ๊กซี่ (ICSI) เป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิและทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้สูงกว่าวิธีอื่น

IVF-ICSI

โดยในกระบวนการทำอิ๊กซี่ นักวิทย์ฯ จะคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกัน ด้วยการใช้เข็มเจาะ และฉีดอสุจิเข้าไปที่เนื้อไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำกลับไปในโพรงมดลูก ทำให้ ICSI มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าวิธีอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องของการมีบุตรยากของคู่สมรสที่ลองมาแล้วหลายวิธีแต่ไม่สำเร็จ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) เหมาะกับใคร?

  • คู่สมรสที่ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิตามธรรมชาติ (ภาวะมีบุตรยาก)
  • ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อ ที่อ่อนแอมากๆ ทั้งทางด้านรูปร่างของน้ำเชื้อ ความสามารถในการเคลื่อนที่ รวมไปถึงจำนวนของน้ำเชื้อ
  • ฝ่ายชายที่เป็นหมันหรือทำหมัน แต่ยังคงมีการสร้างน้ำเชื้อ และสามารถนำน้ำเชื้อออกมาได้จากวิธีการผ่าตัด เช่น การทำ PESA, TESE เป็นต้น
  • ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบหรือตันทั้งสองข้าง
  • ฝ่ายหญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • คู่สมรสที่เคยไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายด้วยวิธี IVF
  • คู่สมรสที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมด้วยวิธี NGS

บทความ : เอกสารการรักษามีบุตรยาก IUI / ICSI ทำไมต้องใช้ทะเบียนสมรส ?

ข้อดีของการทำอิ๊กซี่ (ICSI)

  1. เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จสูงที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีการรักษาอื่นๆ
  2. ลดความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกติ (เช่น ดาวน์ซินโดรม ธาลัสซีเมีย เป็นต้น)
  3. ใช้รักษาผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงในกลุ่มเสี่ยงภาวะมีบุตรยาก อายุเฉลี่ย 35ปีขึ้นไป
  4. ช่วยให้ผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่มีความสมบูรณ์ได้ แม้ผู้ป่วยจะมีอายุมากแล้ว
  5. เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จ กับผู้ที่เคยรักษาวิธีอื่นแล้วไม่สำเร็จ

Worldwide-ivf

” Success Rate 85% จากเคสที่เราดูแลมาแล้วกว่า 10,000 เคส “

การทำ IVF กับ ICSI ต่างกันอย่างไร ?

การทำอิ๊กซี่ ต่างกับการทำ IVF อย่างไร

การทำเด็กหลอดแก้วแบบ อิ๊กซี่ ICSI กับ IVF ต่างกันอย่างไร ?

การทำเด็กหลอดแก้วทั้งสองแบบนี้ ในกระบวนการส่วนแรกจะไม่ต่างกัน จะมีการกระตุ้นไข่ เก็บไข่ เก็บสเปิร์มเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ เทคโนโลยีในการช่วยการปฏิสนธิ จนได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์นั่นเอง

  • การทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF

เป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้วแบบเก่า โดยนักวิทย์ฯจะทำการคัดไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกัน โดยจะปล่อยให้สเปิร์มเลือกเข้าไปเจาะไข่เองตามธรรมชาติ เมื่อเกิดการปฏิสนธิที่ภายนอกแล้วจึงนำไข่ที่ผสมจนเป็นตัวอ่อน นำกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

ซึ่งวิธี IVF มีข้อเสียคือ ถ้าสเปิร์มไม่แข็งแรงจะไม่สามารถเจาะเข้าไปในไข่ได้ หรือการปล่อยให้สเปิร์มเจาะเข้าไปในไข่เอง มีโอกาสที่สเปิร์มตัวนั้นอาจจะเป็นตัวที่มีความผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ไม่สามารถเกิดการปฏิสนธิ หรือปฏิสนธิสำเร็จแต่ตัวอ่อนไม่เจริญเติบโต

7 ขั้นตอนของการทำ IVF
  • การทำเด็กหลอดแก้วแบบ อิ๊กซี่ ICSI

วิธีนี้เป็นการทำเด็กหลอดแก้วแบบ (เจาะจง) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อเสียของ IVF ช่วยเพิ่มโอกาสในการแก้ปัญหาภาวะการมีบุตรยากในเคสที่มีโอกาสสำเร็จต่ำให้สูงขึ้นได้ เช่น ในผู้ชายที่เป็นหมัน น้ำเชื้อน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง ผู้หญิงที่ท่อนำไข่ตีบ ตัน อายุมากแล้ว (35 ปีขึ้น) หรือ มีปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลให้มีบุตรยาก

โดยขั้นตอนการทำ นักวิทย์ฯจะคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกัน ด้วยการใช้เข็มเจาะและฉีดอสุจิเข้าไปที่เนื้อไข่โดยตรง จากนั้นจะทำการเลี้ยงตัวอ่อนให้ได้ยาวนานที่สุดคือ 6 วัน หรือ Day6 แล้วจึงนำตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป โดยในขั้นตอนการนำตัวอ่อนฝั่งไปที่โพรงมดลูก แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าควรย้ายตัวอ่อนรอบสด หรือรอบแช่แข็ง

หากจะทำการแช่แข็งตัวอ่อน ส่วนมากจะแช่แข็งตัวอ่อนใน Day 5 – 6 แต่บางเคสก็สามารถแช่แข็งที่ Day 2 – 3 ได้เช่นกัน (ขึ้นอยู่กับคุณภาพตัวอ่อน)

ส่วนการใส่ตัวอ่อนรอบสด จะใส่หลังจากที่ทำอิ๊กซี่ (ICSI) ใน Day5 – 6 แต่ถ้าคุณภาพของตัวอ่อนไม่ค่อยดี จะใส่ที่ Day3 และหากจะทำให้การรักษาภาวะการมีบุตรยากให้มีโอกาสสำเร็จสูงและแน่ใจได้ว่าตัวอ่อนที่ได้นั้น จะเป็นตัวที่สมบูรณ์จริงๆ “ควรต้องตรวจ ครโมโซม NGS” ร่วมด้วย

ขั้นตอน การทำอิ๊กซี่ ICSI Process

   ดูรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนการทำอิ๊กซี่ ที่นี่   

 

การตรวจโครโมโซม NGS  นักวิทย์ฯ จะตัดเซลล์ (Biopsy) ของตัวอ่อนใน Day 5-6 ไปบางส่วน เพื่อนำเซลล์ที่ตัดไปเข้าห้องปฏิบัติการทางแล็บโครโมโซมโดยเฉพาะ เพื่อตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติของโครโมโซมต่อไป ระยะเวลาการออกผลอยู่ที่ 7-14 วัน ซึ่งตัวอ่อนหลังการตัดเซลล์ไป ก็จะถูกแช่แข็งไว้ก่อนเพื่อรอผลออก (ถ้าไม่แช่แข็งตัวอ่อนจะตายเพราะไม่สามารถเลี้ยงได้นานกว่า 6 วัน)

เมื่อผลออกมาเป็นที่น่าพอใจหรือได้ตัวอ่อนที่ไม่มีความผิดปกติ ก็จะนำตัวอ่อนมาละลาย และใส่เข้าสู่โพรงมดลูกผู้หญิงในรอบเดือนถัดไปอีกที และรอตรวจผลการตั้งครรภ์ต่อไปการทำเด็กหลอดแก้วแบบนี้ เป็นวิธีการรักษาภาวะการมีบุตรยากที่มีความแม่นยำมากขึ้นและมีอัตราความสำเร็จมากกว่าวิธีอื่น

การย้ายตัวอ่อน รอบสด vs รอบแช่แข็ง (การทำอิ๊กซี่)

การทำอิ๊กซี่ การย้ายตัวอ่อน

ย้ายตัวอ่อนรอบสดหรือรอบแช่แข็งอันไหนได้ผลดีที่สุด

เมื่อก่อนการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกมักจะทำในรอบสดเป็นหลัก เพราะเทคนิคการแช่แข็งตัวอ่อนรวมไปถึงการละลาย ยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีในการเจริญพันธุ์หรือการรักษาภาวะการมีบุตรยาก เจริญก้าวหน้าไปมากทำให้ทั้งการแช่แข็งและการทำละลาย สามารถคงสภาพให้มีคุณภาพเทียบเท่าระยะก่อนแช่แข็งได้ดีขึ้น และทำลายตัวอ่อนน้อยลงกว่าการแช่แข็งสมัยก่อน

แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ ทีมนักวิทย์ฯของทางคลินิก ที่ให้การรักษาการมีบุตรยากด้วย ส่วนการจะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง และขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน

การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก สามารถเลือกทำได้ 2 แบบ

  • การย้ายตัวอ่อนรอบสด Fresh Cycle

เป็นการย้ายตัวอ่อนในรอบที่ทำการกระตุ้นและเก็บไข่ คือทำหลังจากเก็บไข่ และนำมาปฎิสนธินอกร่างกายกับอุสจิแล้ว ก็จะเลี้ยงตัวอ่อนจนอยู่ในระยะ 5 – 6 วัน หรือระยะ Blastocyst ถ้าตัวอ่อนเติบโตดี แข็งแรง แพทย์ก็จะนัดคนไข้มาย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูก

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบสด คือประหยัดเวลา รวมถึงการย้ายรอบสดอาจจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการแช่แข็ง

  • การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง Frozen Cycle

เป็นการใช้ตัวอ่อนที่แช่แข็งมาละลาย แล้วจึงย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกที่เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งคือ เราจะมีเวลาในการเตรียมโพรงมดลูกให้มีความพร้อมมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มโอกาสให้การตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จสูงสุด ด้วยการตรวจโครโมโซม NGS คือสามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ รวมไปถึงคัดกรองคุณภาพของตัวอ่อนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้นด้วย

สำหรับขั้นตอนนี้ต้องรอผลการตรวจ ทำให้ต้องใช้การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งเพื่อรอผลตรวจออกมาก่อนนั่นเอง

ปัจจุบันหากไม่ติดปัญหาหรือมีเหตุผลจำเป็นอื่น มักใช้การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง มากกว่า การย้ายตัวอ่อนรอบสด เพราะมีอัตราความสำเร็จที่สูงกว่า เหตุผลที่การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งมีอัตราความสำเร็จมากกว่ารอบสด เนื่องจากผลข้างเคียงจากการกระตุ้นที่ทำให้ฮอร์โมนสูง ทำให้เกิดมีภาวะบวมน้ำ หรือ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS) และส่งผลกระทบถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะไม่สำเร็จหรือถ้าสำเร็จมีการตั้งครรภ์ขึ้นมา คนไข้จะต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งภาวะ OHSS ที่ค้างมาจากการกระตุ้นร่วมกับการตั้งครรภ์ได้

โรคอะไรบ้าง ? ที่ต้องทำอิ๊กซี่รักษาภาวะมีบุตรยาก

โรคที่ต้องใช้ การทำอิ๊กซี่ ในการรักษาเท่านั้น

การรักษาภาวะมีบุตรยาก โรคอะไรบ้างที่ต้องใช้การทำอิ๊กซี่ (ICSI) ในการรักษาเท่านั้น

หลักๆ การทำอิ๊กซี่ คือการแก้ปัญหาที่สเปิร์มของผู้ชายที่เป็นหมัน หากอยากมีลูกจะต้องทำอิ๊กซี่ เท่านั้น

ในปัจจุบันเทคโนโลยีการทำถูกนำมาใช้ช่วยการเจริญพันธุ์อย่างแพร่หลาย ทั้งการช่วยให้มีลูกในคู่สมรสที่มีลูกยากที่เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น

  • ผู้ชายที่เป็นหมันตั้งแต่กำเนิด หรือ ทำหมัน
  • ผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุมากและอยากมีลูก
  • ผู้หญิงที่มีปัญหารังไข่ผิดปกติ PCOS  หรือโรคถุงน้ำในรังไข่เยอะ คือกลุ่มอาการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือไม่มีไข่ตก และเมื่อไข่ไม่ตกจึงไม่เกิดการตั้งครรภ์
  • โรคช็อกโกแลตซีสต์ อันดับแรกต้องทำการรักษาช็อกโกแลตซีสต์ก่อน จากนั้นจึงต้องตรวจคุณภาพของไข่ก่อน หากคุณภาพของไข่แข็งแรงดีก็อาจจะมีลูกโดยวิธีธรรมชาติได้ แต่หากคุณภาพไข่ไม่ดี ก็ต้องใช้การรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วแบบอิ๊กซี่ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น
  • โรคความผิดปกติทางโครโมโซมต่างๆ เช่น พ่อแม่ ท่านใดถ้ามีโครโมโซมคู่ใดคู่หนึ่งผิดปกติ และต้องการคัดกรองความผิดปกติไม่ให้เกิดแก่บุตร รวมถึง โรคธาลัสซีเมีย ที่เป็นกันค่อนข้างเยอะ สามารถใช้ ICSI + NGS ได้

การเก็บอสุจิจากฝ่ายชายที่เป็นหมัน

พีซ่า PESA และ เทเซ่ TESE คือการแก้หมัน การทำอิ๊กซี่

ขยายความเรื่องการเป็นหมัน

โดยส่วนมาก การทำหมันจะทำการผูกหรือตัดท่ออสุจิ เพื่อไม่ให้มีอสุจิถูกปล่อยออกมา ในกรณีเช่นนี้ ก่อนจะทำการรักษาแบบอิ๊กซี่จะต้องทำการผ่าตัดด้วย PESA/TESE ในผู้ชายก่อนเพื่อนำอสุจิออกมา จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการทำอิ๊กซี่ ได้

  • พีซ่า (PESA : Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration)

คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา เมื่อพบตัวอสุจิแล้ว จะเอามาเจาะใส่ไข่เพียงตัวเดียว โดยใช้เครื่องมือพิเศษ (Micromanipulator) จากนั้นก็นำไปทำอิ๊กซี่ต่อไป

  • เทเซ่ (TESE :Testicular Epididymal Sperm Extraction)

คือการผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา จากนั้นก็นำไปทำอิ๊กซี่ต่อไป

อ่านบทความ : FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้ คำถามเกี่ยวภาวะมีบุตรยาก


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์