ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร

คู่รักส่วนใหญ่มีความต้องการมีลูกในช่วงชีวิตแต่งงาน ประมาณ 85% จะพยายามตั้งครรภ์ตามธรรมชาติให้ได้ภายในหนึ่งปี มีเพียง 7% เท่านั้น ที่จะตั้งครรภ์ในปีที่สอง

แต่ถ้าหากพยายามตามธรรมชาติภายใน 12 เดือน ทั้งที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยไม่ได้มีการคุมกำเนิดแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ ก็ถือว่าคู่สมรสนั้นๆ อยู่ใน “ภาวะมีลูกยาก”

ดังนั้นหากต้องการมีบุตร จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง

สาเหตุของ ภาวะมีบุตรยาก

  • ต้นเหตุจาก “ฝ่ายชาย”

สาเหตุของการมีบุตรยาก ที่เกิดจากฝ่ายชายมีอยู่ประมาณ 30 – 40% ของสาเหตุการมีบุตรยากทั้งหมด โดยสาเหตุหลักๆ มาจากความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการผลิตและการทำงาน ของเชื้ออสุจิ และปัญหาที่พบนั้นสามารถพบได้ทุกส่วน ตั้งแต่ฮอร์โมน การเก็บ และทางเดินของเชื้ออสุจิ ความผิดปกติทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตามกระบวนการรักษาจะช่วยให้โอกาสของการตั้งครรภ์ มีมากขึ้นในบางกรณี

ภาวะมีบุตรยากจาก “ฝ่ายชาย” ประมาณ 30 – 40% สาเหตุหลักๆ ที่พบได้เกิดจาก

  • จำนวนเชื้ออสุจิ น้อยกว่า 1 ล้านตัวต่อซีซี
  • ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว
  • ตรวจพบความผิดปกติในร่างกายที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์
  • ความผิดปกติของการผลิตและการทำงานของเชื้ออสุจิ 
  • ต้นเหตุจาก “ฝ่ายหญิง”

โดยทั่วไปสาเหตุการมีบุตรยาก เกิดจากฝ่ายหญิงมีอยู่ที่ประมาณ 40 – 50 % สาเหตุหลักๆ ที่พบได้เกิดจาก ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ หรือ รูปร่างของอวัยวะภายในผิดปกติ โดยการตรวจต่างๆ มีดังนี้

ภาวะมีบุตรยากจาก “ฝ่ายหญิง” ที่ประมาณ 40 – 50 % สาเหตุหลักๆ ที่พบได้เกิดจาก

  • ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ
  • อายุมากภาวะไข่ไม่ตก
  • ท่อนำไข่ตัน
  • เกิดเนื้องอกในมดลูก
  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

จะทราบได้อย่างไรว่ามีภาวะมีบุตรยาก?

การประเมินทางฝ่ายชาย

โดยทั่วไป สิ่งแรกที่ต้องประเมินจากฝ่ายชายก็คือ การตรวจเชื้ออสุจิ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อตาม รูปร่าง จำนวน การเคลื่อนไหว และจำนวนเชื้อที่เคลื่อนไหว โดยมีค่าต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นเกณฑ์

  1. Total Sperm Count > 40 million
  2. Morphology (WHO) > 30% normal shape
  3. Morphology (Kruger) > 14% normal shape
  4. Volume > 2 milliliters
  5. Motility > 50% motile
  6. Liquefaction complete by 60 min

จำนวนเชื้อที่เคลื่อนไหวทั้งหมด จะเป็นข้อบ่งชี้ถึงการประเมินโดยรวมของเชื้อโดยส่วนใหญ่ และผู้ที่มีความผิดปกติของการตรวจเชื้ออสุจิ อาจจะต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม รวมทั้งทำการตรวจวิเคราะห์ทางด้านฮอร์โมน การตรวจลูกอัณฑะ และในบางครั้งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจโครโมโซมร่วมด้วย

การตรวจฮอร์โมน
การตรวจฮอร์โมนของต่อมใต้สมองสามารถที่จะให้ข้อมูลในเรื่องของการผลิตเชื้ออสุจิได้ อีกทั้งการตรวจพบปริมาณฮอร์โมนที่อยู่ในระดับผิดปกติ ก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการมีบุตรยาก

การตรวจระดับฮอร์โมนควรตรวจในกรณี

  1. จำนวนเชื้ออสุจิ น้อยกว่า 1 ล้านตัวต่อซีซี
  2. มีความผิดปกติในการทำงานเรื่องเพศ
  3. ตรวจพบความผิดปกติในร่างกายที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์

การประเมินทางฝ่ายหญิง

โดยทั่วไปสาเหตุการมีบุตรยาก เกิดจากฝ่ายหญิงมีอยู่ที่ประมาณ 40 – 50 % สาเหตุหลักๆ ที่พบได้เกิดจาก ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ หรือ รูปร่างของอวัยวะภายในผิดปกติ โดยการตรวจต่างๆ มีดังนี้

  1. การตรวจฮอร์โมนในเลือด
    ขั้นตอนแรกของการรักษา คือ การตรวจหาฮอร์โมนเพื่อดูการทำงานของรังไข่ โดยวัดได้จากระดับของฮอร์โมนจากการเจาะเลือด และระดับดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับช่วงของรอบประจำเดือนด้วย แพทย์จะให้ทำการเจาะเลือดและนำผลเลือดมาให้แพทย์ประเมินอีกครั้ง
    หลังจากแพทย์ได้วินิจฉัยแล้ว และเมื่อเริ่มขั้นตอนการรักษา แพทย์จะให้เจาะเลือดเพื่อตรวจดูฮอร์โมนอีกครั้งในวันที่ 2 ของการมีประจำเดือน เพื่อการวางแผนการรักษา เช่น ปริมาณที่ฉีด ระยะเวลาในการกระตุ้นต่อไป
  2. การตรวจอัลตราซาวน์
    โดยทั่วไปแล้ว หลักการของการตรวจอัลตราซาวด์ คือการใช้คลื่นในการตรวจ และเป็นวิธีการตรวจที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแต่อย่างใด วิธีการตรวจแพทย์จะสอดหัวตรวจเล็กๆ เข้าไปในช่องคลอด จากนั้นจะมีจอภาพที่แสดงให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง เพื่อประเมินภาวะผิดปกติของอวัยวะทั้งสองอย่าง เช่น การดูภาวะเนื้องอกมดลูก หรือถุงน้ำรังไข่ สำหรับเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาต่อไป
  3. การผ่าตัดวินิจฉัยส่องกล้อง
    การผ่าตัดวินิจฉัยส่องกล้อง จะทำเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดความผิดปกติที่ท่อนำไข่ การตรวจวิธีนี้จะเป็นการที่นำเอากล้องเล็กๆ สอดผ่านหน้าท้องเพื่อดูอวัยวะต่างๆภายในช่องท้อง ซึ่งต้องใช้ยาสลบและทำในห้องผ่าตัด นอกจากตรวจดูความผิดปกติของท่อนำไข่แล้ว ยังใช้ในการรักษาการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับเนื้องอกมดลูกและถุงน้ำรังไข่ได้อีกด้วย
  4. การเอกซ์เรย์โพรงมดลูก
    การเอกซเรย์โพรงมดลูกอาจต้องทำเพื่อวินิจฉัยการอุดตัดของท่อนำไข่ วิธีนีจะเริ่มต้นการรักษาโดยกายฉีดสีเข้าสู่โพรงมดลูกและท่อนำไข่ ผ่านปากมดลูกและตัวมดลูก ถ้าสีที่ฉีดเข้าไปไม่สามารถเข้าสู่ท่อนำไข่ หรือออกมานอกท่อนำไข่ในช่องท้องได้ แพทย์จะวินิจฉัยได้ว่าอาจมีการอุดตัน หรือมีการหดรัดตัวของท่อนำไข่ซึ่งต้องทำการวางแผนการรักษาเพิ่มเติมต่อไป

Worldwide-ivf-consultant

  • ตรวจอัลตราซาวนด์​ดูความสมบูรณ์​ของรังไข่และมดลูกโดยแพทย์
  • ตรวจฮอร์โมน​ดูความสมบูรณ์​ของไข่
  • ตรวจเชื้ออสุจิ
  • ให้คำปรึกษา​ปัญหา​โดย​แพทย์​ผู้เชี่ยวชาญ​
**ผลตรวจเบื้องต้นสามารถแจ้งผลได้ใน​ 2​ ชั่วโมง​

การรักษาภาวะมีบุตรยาก

การรักษาภาวะมีบุตรยาก

การรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบันนี้มีหลายวิธี โดยขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ระยะเวลา อายุของคู่สมรส และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ

ลำดับแรกของการรักษาคือ การหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ซึ่งจำเป็นต้องตรวจทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เนื่องจากภาวะมีบุตรยากอาจเกิดจากสาเหตุจากทั้งสองฝ่ายร่วมกันได้ ในกรณีที่ตรวจไม่พบความผิดปกติที่เป็นสาเหตุ ก็มีวิธีการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์โดยรวมได้แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนก็ตาม

การรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์

การรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ มีปัจจัยหลักในการพิจารณา คือ อัตราความสำเร็จ ค่าใช้จ่าย ผลแทรกซ้อน การเจ็บตัวที่น้อยที่สุด ซึ่งการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ตั้งครรภ์นั้นมีด้วยกันหลายวิธี

  1. การฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI) : เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องเชื้ออสุจิไม่ปกติ แต่ผู้หญิงมีมดลูกที่ดี โดยจะทำการกระตุ้นไข่ คัดเชื้ออสุจิ และนำเชื้ออสุจิที่แข็งแรงมาฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก
      โอกาสสำเร็จ : 17%


  2. การทำอิ๊กซี่ (ICSI) : เป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำเด็กหลอดแก้ว แต่แตกต่างกันตรงที่มีการคัดอสุจิที่ดีที่สุด ฉีดเข้าไปที่เซลล์ไข่โดยตรงให้เกิดการปฏิสนธิ เลี้ยงตัวอ่อนไว้ 3 – 5 วันแล้วใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูกให้เกิดการฝังตัว
           โอกาสสำเร็จ : 85%     


  3. การทำ ICSI และ NSG : เป็นขั้นตอนเดียวกันกับวิธี ICSI แต่มีการเพิ่มกระบวนการตรวจสารพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของตัวอ่อน รวมถึงความผิดปกติของพันธุกรรมที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งการทำ NGS จะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการตั้งครรภ์ได้อย่างมาก
                โอกาสสำเร็จ : 90%          


IVF

ICSI (อิ๊กซี่) เหมาะกับใคร?

  • คู่สมรสที่ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิตามธรรมชาติ (ภาวะมีบุตรยาก)
  • ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อ ที่อ่อนแอมากๆ ทั้งทางด้านรูปร่างของน้ำเชื้อ ความสามารถในการเคลื่อนที่ รวมไปถึงจำนวนของน้ำเชื้อ
  • ฝ่ายชายที่เป็นหมันหรือทำหมัน แต่ยังคงมีการสร้างน้ำเชื้อ และสามารถนำน้ำเชื้อออกมาได้จากวิธีการผ่าตัด เช่น การทำ PESA, TESE เป็นต้น
  • ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบหรือตันทั้งสองข้าง
  • ฝ่ายหญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • คู่สมรสที่เคยไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายด้วยวิธี IVF
  • คู่สมรสที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมด้วยวิธี NGS

ทำไมต้อง Worldwide IVF

Worldwide-ivf-รวม

Worldwide IVF

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ ICSI มายาวนาน

ประสบการณ์
มากกว่า 10 ปี

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทีมห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมพยาบาลมากด้วยประสบการณ์ เคสศึกษามากกว่า 10,000 เคส ทั้งลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ

เทคโนโลยีและ
อุปกรณ์การแพทย์

เทคโนโลยีและเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัยและมาตรฐานสูง พร้อมห้องปฏิบัติการของเราเอง เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จสูงสุด

ความรู้ความสามารถจาก
หลากหลายทั่วโลก

ทีมงานให้คำปรึกษา แพทย์  ทีมพยาบาล รวมถึงทีมห้องปฏิบัติการของเรา ผ่านการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถจากหลากหลายประเทศทั่วโลก

ประวัติแพทย์

นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และการรักษาภาวะมีบุตรยาก

เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์ ฝึกอบรมเพิ่มเติมทางด้าน การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ Chattanooga Women Laser Center และ Emory University and School of Medicine ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา: แพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2533

วุฒิบัตร: สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, ประเทศไทย, 2539

การศึกษาหลังปริญญา: Reproductive Endocrinology, Emory University School of Medicine, สหรัฐอเมริกา, 2543-2545

แขนงที่ฝึกฝนเป็นพิเศษ: Advance Laparoscopy & Laser Surgery

ต้นสังกัด: รพ.พญาไท 2

นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และการรักษาภาวะมีบุตรยาก

เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์ ฝึกอบรมเพิ่มเติมทางด้าน การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ Chattanooga Women Laser Center และ Emory University and School of Medicine ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา: แพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2533

วุฒิบัตร: สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, ประเทศไทย, 2539

การศึกษาหลังปริญญา: Reproductive Endocrinology, Emory University School of Medicine, สหรัฐอเมริกา, 2543-2545

แขนงที่ฝึกฝนเป็นพิเศษ: Advance Laparoscopy & Laser Surgery

ต้นสังกัด: รพ.พญาไท 2

เคสความสำเร็จ

คุณกวาง คุณท็อป ทำ IUI ลองวิธีธรรมชาติมา 2-3 ปี เริ่มปรึกษาหมอที่อื่นมา 1-2 ปี ปีที่แล้วมาปรึกษาเรา 2 เดือน ได้ TwinBoys