รู้หรือไม่? ว่าสัญญาณที่บ่งบอกว่า เราพร้อมที่จะตั้งครรภ์แล้วนั้น สามารถสังเกตได้จากมูกช่องคลอดได้ ซึ่งปริมาณของมูกที่ออกมาในแต่ละครั้งนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป วันนี้หมอจึงจะมาเล่าไขข้อสงสัย และแนะนำวิธีตรวจดูเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ฟังกันครับ
มูกช่องคลอด คืออะไร?
มูกช่องคลอด หรืออีกชื่อหนึ่งที่หลายๆ คนมักจะคุ้นหูกันมากกว่าอย่าง “ตกขาว” เป็นสารคัดหลั่งชนิดหนึ่งที่จะหลั่งออกมาจากทางช่องคลอด มักพบได้ในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มูกปกติจะมีลักษณะเป็นสีขาว อาจมีลักษณะข้นเหนียว หรือในบางครั้งก็จับตัวกันเป็นก้อน แต่จะไม่มีสีและมีกลิ่นเหม็น หากมูกของท่านออกมามีสีเหลือง เขียว หรือมีกลิ่นเหม็น ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ทันที เนื่องจากอาจจะอาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อบริเวณช่องคลอดได้
วิธี นับวันไข่ตก วิธีง่ายๆ แก้ปัญหามีลูกยากด้วยวิธีธรรมชาติ
“มูกไข่ตก” ตรวจสัญญาณการตั้งครรภ์ได้ด้วยตัวเอง
สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนการมีบุตรนั้น นอกจากจะใช้วิธีการนับวันไข่ตกตามธรรมชาติแล้ว การสังเกตมูกที่หลั่งออกมาจากช่องคลอดก็เป็นอีกวิธีนึงที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากมูกที่หลั่งออกมาในแต่ละช่วงเวลานั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างกันซึ่งสามารถบ่งบอกสภาวะภายในร่างกายได้ หากท่านต้องการมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ สามารถสังเกตได้ดังนี้
หลังมีประจำเดือน
มูกจะมีลักษณะที่ค่อนข้างเหนียวข้น ในบางครั้งก็จะมีลักษณะแห้งๆ
ช่วงก่อนไข่ตก
มุกจะมีลักษณะคล้ายครีม มีความข้นเล็กน้อย
วันไข่ตก
มูกจะมีลูกลักษณะเหนียวใส มีความลื่นแล้วยืดหยุ่นได้ดีไม่ขาดออกจากกัน มูกชนิดนี้จะเรียกว่า “มูกไข่ตก” (Fertile Cervical Mucus) จะมีความชุ่มชื่้นสูง ทำให้สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยให้อสุจิเคลื่อนที่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มีค่า ph ที่ช่วยยืดอายุของอสุจิให้ไม่ตายเร็ว และยังมีสารอาหารประเภทแคลเซียม แมกนีเซียมที่มีส่วนช่วยต่อกระบวนการปฏิสนธิอีกด้วย
หลังวันไข่ตก
มูกจะมีลักษณะขาวขุ่น
ดังนั้นหากท่านวางแผนที่จะมีบุตรโดยวิธีธรรมชาติวิธีเหล่านี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นได้ แต่ว่าวิธีนี้ก็เป็นเพียงวิธีนึงที่อาจจะใช้ไม่ได้ผลกับทุกคนและทุกเคสนะครับ เนื่องจากภาวะทางร่างกายของแต่ละคนนั้นมีความซับซ้อนและไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากท่านทดลองแล้วก็ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เองตามธรรมชาติภายใน 3 เดือน ท่านอาจจะมี “ภาวะมีบุตรยาก” ซึ่งควรเข้ารับการรักษาและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงจะดีที่สุดครับ
อ่านบทความ : FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้ คำถามเกี่ยวภาวะมีบุตรยาก
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์