วิธี นับวันไข่ตก แก้ปัญหามีลูกยาก ช่วยให้มีลูกง่ายด้วยวิธีธรรมชาติ

นับวันไข่ตก ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่เหมาะสำหรับใช้แก้ปัญหามีบุตรยาก เพราะถือเป็นวิธีการธรรมชาติและยังสามารถทำได้ง่ายมากๆ  เนื่องจากในการตั้งครรภ์นั้น กระบวนการณ์ที่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ ฝังตัวอ่อนจนเกิดเป็นทารกได้นั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งหากมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ตรงกับวันนั้นๆ ก็จะทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ วันนั้นในจะเรียกว่า “วันไข่ตก” 

สังเกตมูกไข่ตก มูกช่องคลอด ตกขาว สัญญาณพร้อมท้องดูยังไง?

การ นับวันไข่ตก ช่วยเรื่องอะไร?

นับวันไข่ตก วิธีง่ายๆ แก้ปัญหามีลูกยากด้วยวิธีธรรมชาติ

ทำไมต้องนับวันตกไข่

โดยปกติแล้วในร่างกายของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 1 คนจะมีเซลล์ไข่ที่สามารถให้กำเนิดได้ประมาณ 2-5 แสนฟอง ในจำนวนนั้นจะมีไข่ที่สามารถทำตั้งครรภ์ได้เพียง 400-500 ฟองเท่านั้น ฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตและตกไข่ในแต่ละเดือนก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน LH (Luteinozing Hormone) และ FSH (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งนอกจากฮอร์โมนพวกนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นและผลิตไข่ออกมาแล้ว ยังมีหน้าที่คัดเลือกไข่ฟองที่มีความเหมาะสมที่สุดเพียง 1 ใบเท่านั้น โดยไข่ใบนี้จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง (วันตกไข่) เท่านั้น หากไม่ได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน ดังนั้นหากพลาดไข่ฟองนี้ไปแล้ว อาจจะต้องรออีก 1 เดือน เพื่อให้ไข่ตกใหม่ โดยวิธีการตรวจนับวันตกไข่นั้นก็สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1.วิธีการนับวันตกไข่ด้วยตัวเอง

ในวิธีเป็นวิธีที่หลายคนสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เป็นการนับโดยอาศัยการนับรอบเดือนที่ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ทุกคนจะมีรอบเดือนอยู่ประมาณ 28 วัน วิธีการนับให้เริ่มนับวันที่ 1 ในวันที่เริ่มมีประจำเดือนวันแรก และนับไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 14 ของเดือนวันนั้นถือว่าเป็น “วันไข่ตก” (Fertile Window)

เช่น หากปกติประจำเดือนมาทุกวันที่ 10 ของเดือน ให้นับให้วันนั้นเป็นวันที่ 1 เมื่อนับไปจนครบ 14 วันจะตรงกับวันที่ 23 ของเดือน หากมีการวางแผนมีบุตรควรจะมีกิจกรรมทางเพศกับสามีในช่วงวันที่ 21-22 ของเดือน

*** วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอบเดือนมา “ตรงเวลา” เป็นประจำทุกเดือนเท่านั้น สำหรับคนที่ประจำเดือนมาไม่ตรงกัน หรือมาๆ หายๆ จะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้

2.ใช้ชุดตรวจการตกไข่

การใช้ตรวจการตกไข่นี้เป็น เทคโนโลยีการตรวจวันไข่ตกที่ค่อนข้างในผลที่ค่อนข้างแม่นยำ วิธีตรวจก็สามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ปัสสาวะในการตรวจ วิธีนี้สามารถตรวจได้กับผู้หญิงที่ประจำเดือนตรงเวลาและไม่ตรงเวลามีทั้งหมด 3 แบบ คือ

  • แบบทดสอบโดยวิธีจุ่ม (Strip) วิธีคือ ให้ปัสสาวะลงในถ้วย แล้วใช้แถบตรวจจุ่มลงในถ้วยประมาณ 5 วินาที จากนั้นนำขึ้นมาวางทิ้งไว้ให้อุณหภูมิห้องประมาณ 5 นาทีค่อยอ่านผล
  • การทดสอบโดยใช้การหยด (Cassette) ใช้หยดปัสสาวะลงในแบบทดสอบประมาณ 4 หยด แล้วรออ่านผลประมาณ 5 นาที
  • แบบผ่าน (Midstream) วิธีนี้จะใช้วิธีปัสสาวะผ่านตรงตรงแบบทดสอบ รอประมาณ 5 นาที

วิธีอ่านผลจะคล้ายกับชุดแบบชุดสำรวจการตั้งครรภ์คือ หากขึ้น 1 ขีด หมายถึงยังไม่ใช่วันตกไข่ หากขึ้น 2 ขีดเข้มหมายถึงเป็นวันตกไข่แล้ว โดยเวลาที่เหมาะสำหรับการตรวจมากที่สุดก็คือ เวลา  14.00 น. ของวัน หากวันแรกที่ตรวจแล้วไม่ตรงกับวันตกไข่และหากต้องการตรวจซ้ำ สามารถตรวจได้แต่ควรตรวจเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน และก่อนตรวจ

วิธีสังเกตอาการตกไข่

1. ตกขาวเยอะกว่าเดิม

หากสังเกตว่า ช่วงนี้มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ นั่นอาจเป็นอาการของไข่กำลังจะตก โดยทางการแพทย์จะเรียกตกขาวนั่นว่า มูกที่ปากมดลูก (Cervical mucus) ซึ่งมูกชนิดนี้เป็นมูกที่จะช่วยให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น

2. มีอารมณ์ทางเพศ

ในช่วงจังหวะที่ตรงกับช่วงไข่ตก ผู้หญิงจะมีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาทางร่างกายที่มีการสูบฉีดเลือดมากขึ้น ส่งผลให้ผู้หญิงมีอารมณืมากขึ้น และนอกจากนี้ฮอร์โมนในร่างกายจะช่วยให้ร่างกายของผู้หญิงมีความมีน้ำมีนวล เพิ่มสรีระทางเพศให้ดูสวยงามเพิ่มยิ่งขึ้น

3. อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น

ในช่วงเวลาไข่ตก อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนและเลือดที่สูบฉีดเพิ่มขึ้นส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น รู้สึกว่าร่างกายร้อนขึ้นนั่นเอง 

4. มีอาการเจ็บคัดเต้านม

ในระยะช่วงไข่ตกในบางรายอาจจะมีความรู้สึกคล้ายกับเจ็บตึง คัดที่หน้าอก นั่นอาจจะเป็นอาการว่า คุณกำลังอยู่ในช่วงไข่ตก เนื่องจากฮอร์โมนมีปริมาณที่สูงขึ้นกว่าปกติ แต่ในกรณีนี้อาจจะไม่แม่นยำเสมอไปเพราะอาการเจ็บตึงเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น มะเร็งเต้านม ดังนั้นควรสังเกตตนเองว่า มีอาการเหล่านี้หรือไม่?

  • เต้านมรูปร่างเปลี่ยนไป หรือเกิดก้อนแข็งๆ บริเวณเต้านม หรือมีเนื้อบางอย่างหนาขึ้นมากกว่าปกติ 
  • มีน้ำใสๆ หรือเลือดไหลออกจากหัวนม
  • มีรอยแผลหรือผื่นบริเวณเต้านมอย่างไม่ทรายสาเหตุ
  • รู้สึกปวดบริเวณเต้านมมากผิดปกติ

อาการเหล่านี้หากเกิดขึ้นควรเข้าพบแพทย์ทันที 

6. ปวดท้องน้อยข้างเดียว

ในขณะที่มีการตกไข่ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หลายราย มักจะมีอาการปวดที่ท้องน้อยนิดๆ อาการเหล่านี้เกิดจากร่างกายได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเจริญพันธุ์ภายในให้เหมาะสมสำหรับฝังตัวของตัวอ่อนนั้นเอง ซึ่งอาการจะทุเลาลงได้เอง

ในหนึ่งเดือน ไข่ตกกี่ฟอง?

อัตราเฉลี่ยของไข่สุกแต่ละครั้งของเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 5-10 ฟอง ซึ่งในจำนวนนั้นอาจจะมีไข่ดีที่มีความสมบูรณ์และพร้อมต่อการปฏิสนธิไม่เท่ากัน เช่น ในบางรอบอาจจะมีไข่ดีเยอะ บางรอบอาจจะมีไข่ดีน้อย บางรอบอาจคละกันไป หรือในบางครั้งก็อาจจะไม่ได้ไข่ดีเลยก็ได้

นับวันไข่ตกแล้วก็ไม่ท้องสักทีเกิดจากอะไร?

ในกรณีที่มีสามีภรรยาที่ลองใช้วิธีตั้งครรภ์แบบธรรมชาติ โดยใช้ระยะเวลาลองเกิน 3 เดือน เช่น การนับวันตกไข่แล้วแต่ก็ไม่ได้ผล ทั้งคู่จำเป็นที่จะต้องเข้ามาปรึกษาหมอเพื่อทำการตรวจเช็กร่างกายแล้วครับ เนื่องจากสามารถเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

  1. ฝ่ายหญิงเหลือไข่ดีจำนวนน้อยมาก หรือ ไข่มีอายุมากแล้ว เปลือกแข็งหนา จนไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ อันนี้จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นไข่เพื่อกระตุ้นให้มดลูกผลิตไข่ออกมาได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้มากขึ้นได้
  2. ฝ่ายหญิงมีผนังมดลูกบาง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเกาะตัวหรือฝังตัวได้
  3. อาจเกิดจากปัญหาของฝั่งชายที่อาจจะมีอสุจิน้อย และไม่แข็งแรง ทำให้อสุจิตายก่อนที่จะเข้าไปปฏิสนธิ หรือ ในบางครั้งที่ปฏิสนธิเข้าไปแล้วก็ทำให้เกิดเป็นตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ ทำให้หลุดลอกออกมาก่อนจะได้พัฒนาไปสู่ทารก

ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้จะสามารถทราบได้ก็ต่อเมื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชียวชาญเท่านั้น และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการทานอาหารเสริม ดังนั้นหากต้องการมีลูกเร็วๆ ไม่ควรรอ ทิ้งเวลาไปเปล่าๆ เพื่อรอโอกาสให้เข้ามา แต่ควรจะไขว้คว้าโอกาสนั้นได้ด้วยตนเอง

 

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

IUI การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ สำหรับผู้มีบุตรยาก

การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ?

เด็กหลอดแก้ว IVF รักษาภาวะมีบุตรยากอย่างปลอดภัย


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์