การแช่แข็งไข่ หรือเรียกอย่าง “การฝากไข่” เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน ซึ่งการฝากไข่นั้นก็จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับการเก็บไข่เพื่อคุณภาพไข่ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมเพื่อบุตรในอนาคต
การแช่แข็งไข่หรือฝากไข่ นวัตกรรมเพื่อการมีบุตรในอนาคต
การฝากไข่ เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยเตรียมพร้อมใช้ไขปัญหามีบุตรยากในอนาคต ช่วยเก็บรักษาให้คงความสมบูรณ์และคงประสิทธิภาพในการมีบุตรได้ดีเพิ่มขึ้น เหมาะสำหรับผู้หญิงอาจจะยังไม่ได้แต่งงาน แต่ต้องการวางแผนการมีบุตรในอนาคต หรือ คู่สามีภรรยาที่แต่งงานแล้วแต่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร แต่หากจะรอเวลาไปเรื่อยๆ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพของไข่ฝ่ายหญิงที่จะลดความสมบูรณ์และแข็งแรงลง ตามอายุที่สูงขึ้น ดังนั้นการเก็บไข่และนำมาผ่านกระบวนการแช่แข็ง (Egg Freezing) ด้วยไนโตรเจนเหลวประมาณ -196 องศาเชลเซียส และจัดเก็บในกระบวนการแพทย์จะช่วยคงความสมบูรณ์ และเพิ่มความสำเร็จจากการปฏิสนธิในอนาคตได้
กระบวนการก่อนแช่แข็งไข่
ผู้ที่ต้องการความประสงค์ฝากไข่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจร่างกายเบี้องต้น และตรวจเลือดเพื่อดูการติดเชื้อ และโรคต่างๆ เช่น โรคเอชไอวี (HIV) โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซีซิฟิลิส และโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย จากนั้นแพทย์จะวางแผนการฉีดยากระตุ้นไข่ต่อไป
การเตรียมตัวก่อนการกระตุ้นไข่
ผู้ที่ต้องการความประสงค์ฝากไข่ควรพักผ่อนให้เพียงพอตลอดในช่วงการฉีดยากระตุ้นอย่างน้อย 8-9 ชั่วโมง ควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพไข่โดยตรง เลือกรับประทานอาหารที่ดีอุดมไปด้วยโปรตีน เพื่อเพิ่มคุณภาพของไข่ให้ออกมาสมบูรณ์แข็งแรง ( 15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตก << อ่านต่อ ) เน้นการทานผักเพื่อเสริมใยอาหาร อย่างน้อย 400 กรัมต่อวันเพื่อลดอาการท้องผูก ท้องอืด และแน่นท้อง และควรงดการออกกำลังกายหนัก หากต้องการออกกำลังกายจริงๆ ควรเลือกกิจกรรมเบาๆ เช่น โยคะ ปั่นจักรยานทางราบ หรือวิ่งจ๊อกกิ้ง
กระบวนการเก็บไข่
คนไข้จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นในเวลาเดียวกันในทุกๆ วัน เพื่อคงปริมาณฮอร์โมนในเลือดไว้ และยังช่วยให้ไข่มีความสมบูรณ์ ผลิตออกมาเยอะที่สุด ในช่วงเก็บไข่คนไข้บางรายอาจมีอาการคล้ายไข้ประมาณ 2-3 วัน ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติไม่ต้องเป็นกังวล แต่ในกรณีที่ท่านมีโรคประจำตัวอย่างภาวะหอบหืด ควรจะจะแจ้งแพทย์ผู้ดูแลก่อน
สำหรับผู้ที่มีอาการหวัด เจ็บคอ สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ปวดลดไข้ หรือยาแก้เจ็บคอได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการทานยาแก้อักเสบ หรือ ยาฆ่าเชื้อที่ไม่ได้จ่ายโดยแพทย์ และหากเกิดอาการเจ็บคอรุนแรง หรือ ต่อมทอลซินอักเสบควรมาพบแพทย์ผู้ดูแลทันที
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ฉีดยากระตุ้นไข่ กับ กินยากระตุ้นไข่ แบบไหนดีกว่ากัน?
สาเหตุมีลูกยาก เกิดจากฝ่ายชาย หรือ ฝ่ายหญิง ?
กรดโฟลิก ช่วยให้ท้องง่ายจริงหรือ? สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์ยังไง
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์