อาการหลัง ทำอิ๊กซี่ ที่สำหรับผู้ที่เลือกแก้ไขปัญหาการมีบุตรยากด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วหรือ อิ๊กซี่ (ICSI) ควรทราบ วิธีการปฏิบัติตัว อาหารการกินที่ควรระวังเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรถ์ให้มากขึ้นนั้นมีอะไรบ้าง?
ทำไมต้อง ทำอิ๊กซี่
อิ๊กซี่ หรือ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นการทำเด็กหลอดแก้วเด็กหลอดแก้วด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะช่วยแก้ปัญหาผู้ที่มีบุตรยากด้วยปัญหาต่างๆ เช่น ปัจจัยด้านอายุเยอะ ไข่มีอายุมาก มีปัญหาผิดปกติเกี่ยวกับท่อนำไข่และมดลูกหรือเปลือกแข็งและหนาจนอสุจิเจาะเข้าไปไม่ได้ ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อน้อย อสุจิไม่แข็งแรง ฯลฯ ซึ่งการทำ ICSI นั้นเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่นิยมกันในปัจจุบันเนื่องจากปลอดภัยและยังมีอัตราการประสบความสำเร็จสูงถึง 85%
คำถามเกี่ยวกับ เด็กหลอดแก้ว IVF / ICSI ที่หลายคนอยากรู้
การปฏิบัติตัวภายหลังการใส่ตัวอ่อน
- ไม่ควรลุกนั่งภายหลังการใส่ตัวอ่อนอย่างน้อย 30 นาที ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนแรง เจ็บหน่วงที่หน้าท้อง หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ จึงไม่ควรขับรถมาเอง ควรให้สามี ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดพามาเท่านั้น
- ควรเหน็บยาในช่องคลอด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- งดการมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน
- ห้ามสวนล้างช่องคลอด
- ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หรือยกของหนักๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้
- สำหรับอาหารการกินนั้น สามารถรับประทานอาหารปกติได้ แต่จำเป็นต้องทานอาหารที่มีเส้นใยเยอะๆ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องท้องผูกหรือท้องเสีย เพราะอาการเหล่านี้จะส่งผลให้การตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
- ไม่ควรทานอาหารดิบ หรือ กึ่งสุกกึ่งดิบ
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่พื้นที่แออัด หรือคนเยอะๆ
อาการข้างเคียง หลังการใส่ตัวอ่อน
อาการข้างเคียงหลังจากการฝังตัวอ่อนนั้นในอาจจะมีอาการคล้ายกับคนตั้งครรภ์ เช่น ปวดเกร็งท้องน้อย เต้านมคัด ปวดเมื่อตามร่างกายเช่น แขน ขาและหลัง ในบางรายอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย แต่ในบางรายก็ไม่มีอาการใดๆ เลย หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอดควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
หลังทำ ICSI จะรู้ผลว่าเมื่อไร?
ภายหลังการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกประมาณ 14 วัน แพทย์ผู้ดูแลจะทำการนัดให้เข้ามาตรวจเลือดเพื่อเช็กระดับฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotrophin Hormone) หรือ “ฮอร์โมนการตั้งครรภ์” ซ่งฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรกตัวอ่อนที่เป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกว่าตั้งครรภ์ สามารถตรวจได้จากการเจาะเลือดและการตรวจปัสสาวะ ในบางกรณีอาจจะมีครรภ์แฝด แต่หากไม่ตรวจแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ แพทย์จะสั่งให้หยุดยา จากนั้นจะเริ่มมีเลือดออกทางช่องคลอดประมาณ 3-5 วันต่อมา ซึ่งมาจากการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นในการทำ ICSI
*** ในกรณีที่ไม่เหลือไข่ที่กระตุ้นไว้รอบแรกแล้วหากต้องการกระตุ้นใหม่ ควรรอพักมดลูกให้พร้อมก่อนประมาณ 1 เดือน แต่หากยังเหลือตัวอ่อนที่แช่แข็งไว้อยู่ สามารถทำได้เลยสามารถทำต่อในรอบต่อไปได้เลย
บทความที่น่าสนใจ
สาเหตุที่ทำให้ ICSI ไม่สำเร็จ สาเหตุที่ทำ “อิ๊กซี่” หรือ “เด็กหลอดแก้ว” ไม่ติด!!
ภาวะแท้ง จาก “เด็กหลอดแก้ว” มีความเสี่ยงมากกว่าเด็กปกติมากแค่ไหน?
𝐖𝐨𝐫𝐥𝐝𝐰𝐢𝐝𝐞 𝐈𝐕𝐅 เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรยาก แบบละเอียดเจาะลึกทุกขั้นตอน โดย นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และการรักษาภาวะมีบุตรยาก ทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมนักวิทย์ฯ และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มามากกว่า 10 ปี ดูแลทั้งลูกค้าไทย และต่างชาติ ใช้เครื่องมือและห้องประฏิบัติการทางแล็บที่ทันสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จสูงสุด มีห้องปฏิบัติการตรวจโครโมโซม NGS ระดับสากล
6 ข้อดีของการทำอิ๊กซี่ และข้อเสียการทำอิ๊กซี่ ที่คุณควรทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำ
4 สาเหตุที่ทำให้ ICSI ไม่สำเร็จ สาเหตุที่ทำ “อิ๊กซี่” หรือ “เด็กหลอดแก้ว” ไม่ติด!!
การ ฝากไข่ (Egg Freezing) การเตรียมตัวฝากไข่เพื่อลูกในอนาคต
อุ้มบุญ หนึ่งทางเลือกของคนมีลูกยาก กับความหวังกับกฎหมายใกล้คลอด
12 ข้อที่ควรทำก่อนและหลัง กระตุ้นไข่ เพื่อนำไปทำอิ๊กซี่ (ICSI) และ IVF