ภาวะแท้ง จาก “เด็กหลอดแก้ว” มีความเสี่ยงมากกว่าเด็กปกติมากแค่ไหน?

ภาวะแท้ง ถือเป็นภาวะร้ายแรงที่ว่าที่พ่อแม่มือใหม่ทั้งหลายกลัวมากที่สุด! เนื่องจากเป็นภาวะสูญเสียที่ไม่ได้สูญเสียแค่สภาพจิตใจเท่านั้น แต่ในภาวะแท้งบ้างเคสนั้นส่งผลอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงภาวะแท้งนี้เพื่อให้คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ได้สังเกตอาการและเฝ้าระวังกัน

ภาวะแท้ง คืออะไร?

ภาวะแท้ง

การแท้ง คือ ภาวะความสูญเสียตัวอ่อนหรือทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ไม่เฉพาะในไตรมาสแรก ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยและยังเกิดได้หลายรูปแบบ

  • การแท้งคุกคาม (Threatened abortion) จะเป็นอาการการแท้งที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ เพราะจะมีเลือดออกจากทางช่องคลอดแบบกะปริดกะปรอยและมักจะมีอาการปวดท้องน้อย คล้ายกับเป็นประจำเดือน ซึ่งหากเกิดภาวะนี้ควรรีบไปพบแพทย์
  • การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable abortion) เนื่องจากการบีบรัดตัวของมดลูก จะมีเลือดออกทางช่องคลอดพร้อมๆ กับอาการปวดท้องน้อยมากขึ้น และปากมดลูกเปิดแล้ว ทำให้ตัวอ่อนก็จะหลุดออกมาเอง ในกรณีนี้จะต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการขูดมดลูกออกร่วมด้วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • การแท้งเป็นนิจ หรือ  การแท้งซ้้า ( RPL) เป็นอาการแท้งติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไปในช่วงเวลาตั้งครรภ์ใกล้ๆ กัน สาเหตุมาจากปากมดลูกปิดไม่สนิท และฮอร์โมนเพศความผิดปกติของโครโมโซม
  • การแท้งค้าง (Missed abortion) เป็นการแท้งที่ตัวอ่อนหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์แต่ตัวอ่อนยังไม่ถูกขับออกมา และจะไม่แสดงอาการใด ๆ เป็นเวลานานก่อนที่จะแท้งออกมา (ในบางรายตัวอ่อนหรือทารกที่เสียชีวิตจะถูกแคลเซียมหุ้มร่างไว้จนกลายเป็นก้อนหินปูนอยู่ภายในโพรงมดลูกตลอดไป แม้ไม่ส่งอันตรายต่อตัวแม่แต่จะทำให้แม่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกตลอดชีวิต)
  • การแท้งติดเชื้อ (Septic abortion) เป็นการแท้งร่วมกับมีการอักเสบติดเชื้อ อาการที่แสดงออกมาคือ คุณแม่มีไข้ปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอด

ภาวะแท้ง

โอกาสเสี่ยงของภาวะแท้ง

  • ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ปี มีโอกาสแท้ง เฉลี่ยอยู่ที่ 10-25%
  • อายุน้อยกว่า 35 ปี มีโอกาสแท้ง เฉลี่ยอยู่ที่15%
  • มีอายุ 35-45 ปี มีโอกาสแท้ง เฉลี่ยอยู่ที่ 20-35%
  • อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป มีโอกาสแท้ง เฉลี่ยอยู่ที่ 50%
  • ผู้ที่เคยแท้งบุตรมาก่อน มีโอกาสแท้งซ้ำ เฉลี่ยอยู่ที่ 25%

การทำ “เด็กหลอดแก้ว” IVF/ICSI มีโอกาสแท้งมากกว่าครรภ์ทั่วไปหรือไม่?

ความจริงแล้วการตั้งครรภ์โดยใช้วิธี IVF และ ICSI นั้นถึงแม้ว่าจะมีความระมัดระวังตัวสูงในช่วงแรกๆ เพราะหลังจากการฝังตัวอ่อน ฝ่ายหญิงจะต้องระมัดระวังการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งการลุก นั่ง เดิน และต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหารเพราะในระยะนี้ตัวอ่อนสามารถหลุดง่ายมาก แต่หาดผ่านช่วงตัวอ่อนฝังตัวเมื่อไรก็จะสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป

ดังนั้นความเสี่ยงของภาวะแท้งของการทำเด็กหลอดแก้วนั้นอยู่ในระดับเดียวกันกับการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ เพราะภาวะแท้งนั้นมีผลและปัจจัยที่หลากหลายมากกว่านั้นไม่ได้เกิดจากวิธีการที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ 

 

สาเหตุที่ทำให้การภาวะแท้ง

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะแท้งนั้น หลายคนมักเข้าใจว่า จะเกิดเฉพาะในช่วงการแรกเท่านั้น แต่จริงๆ สามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุครรภ์ เพียงแต่ความรุนแรงมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ ยิ่งอายุครรภ์สูงก็ยิ่งส่งผลอันตรายต่อแม่ด้วย

ปัจจัยเสี่ยงจากแม่

  • โรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์และใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
  • ปัจจัยด้านสุขภาพ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคไต โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ และไฮโปไทรอยด์
  • การติดเชื้อ เช่นหัดเยอรมัน เอชไอวี ช่องคลอดอักเสบ หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส มาลาเรีย และเชื้อไวรัส CMV
  • การทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารหมักดอง อาหารดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ
  • ปัญหาของโครโมโซมจากเชื้ออสุจิของพ่อหรือไข่ของแม่
  • ฮอร์โมนไม่สมดุล ทำให้ส่งผลต่อทารกในครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงจากระบบสืบพันธุ์

  • มีเนื้องอกในมดลูก
  • ครรภ์รูปร่างผิดปกติ
  • ปากมดลูกไม่แข็งแรง อาจจะเป็นสาเหตุให้ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดทำให้แท้งได้ง่าย
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)
  • ภาวะที่รังไข่มีขนาดใหญ่

กิจกรรมที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่าจะทำให้แท้ง

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์

ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชี้ชัดว่า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์นั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแท้งบุตร แต่ควรจะระมัดระวังในช่วงของไตรมาสแรกหรือ ช่วงสามเดือนแรก ที่ฝ่ายคุณพ่อน่าจะต้องลดกิจกรรมเข้าจังหวะให้เบาลง หรือหลีกเลี่ยงให้น้อยที่สุด เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนาระบบภายในร่างกายในสมบูรณ์จนกลายเป็นทารก ซึ่งหากได้รับการกระทบสะเทือนที่รุนแรงมากอาจจะทำให้การพัฒนาการไม่สมบูรณ์ได้ แต่หลังจาก 3 เดือนแล้วสามารถมีกิจกรรมทางเพศได้ปกติ

ออกกำลังกาย

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า คนตั้งครรภ์นั้นไม่ควรออกกำลังกายใดๆ เลย เพราะจะเสี่ยงทำให้เกิดอาการแท้งนั้น ไม่เป็นความจริงเลย! เพราะคนตั้งครรภ์นั้นสามารถออกกำลังกายได้ปกติเหมือนคนทั่วไป และยังส่งผลให้สุขภาพทั้งตัวแม่และเด็กในครรภ์แข็งแรงสมบูรณ์อีกด้วย เพียงแต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป ควรเริ่มจากกิจกรรมเบาๆ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ เต้นรำด้วยทำนองเบาๆ ช้าๆ ปั่นจักรยานบนทางลาด

การเดินทางในที่ไกลๆ

บางคนอาจจะกังวลว่า หากต้องเดินทางไกลๆ คนตั้งครรภ์สามารถเดินทางได้หรือไม่? เสี่ยงแท้งหรือเปล่า? ต้องบอกว่า การเดินทางนั้นไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้การแท้ง แต่หากเป็นการเดินทางโดยรถยนต์นั้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางบนทางที่มีพื้นที่ขรุขระ เครื่องบินก็สามารถเดินทางได้ เพียงแต่ทางสายการบินจะไม่สะดวกที่จะให้บริการผู้ที่มีอายุครรภ์เยอะแล้ว เนื่องจากเสี่ยงต่อการคลอดบนเครื่องบินที่อาจจะไม่มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือสำหรับให้บริการนั่นเอง

การนั่งนานๆ หรือ การใช้คอมพิวเตอร์

เป็นอีกหนึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุการแท้งบุตรที่หลายคนเข้าใจว่า การนั่งนานๆ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจะทำให้เสี่ยงแท้งได้ง่ายเพราะรังสีจากจอคอมพิวเตอร์ได้เข้ามาทำลายเซลล์ของลูกในครรภ์ กรณีนี้ไม่เป็นความจริงเลย เนื่องจากไม่มีผลวิจัยรองรับว่ารังสีคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้มีความรุนแรงมากพอที่จะทำลายเซลล์ได้ เพียงแต่อาจจะส่งผลให้เครียดง่ายขึ้น และการนั่งนานๆ ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้ปวดเมื่อยมากขึ้นในคนตั้งครรภ์เท่านั้น

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์