4 สาเหตุที่ทำให้ ICSI ไม่สำเร็จ สาเหตุที่ทำ “อิ๊กซี่” หรือ “เด็กหลอดแก้ว” ไม่ติด!!

ICSI ไม่สำเร็จ เกิดจากสาเหตุอะไร? เป็นคำถามคาใจที่คู่สามีภรรยาหลายคู่เที่กำลังวางแผนการมีบุตรด้วยการพึ่งการทำอิ๊กซี่ ICSI แต่ก็ได้ผลออกมาไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่มีการฝังตัวอ่อนสักที ทำให้การตั้งครรภ์ล้มเหลว ซึ่งก็สร้างความผิดหวังให้กับครอบครัวอย่างมาก และเกิดความสงสัยว่า ในเมื่ออัตราเฉลี่ยความสำเร็จของการทำอิ๊กซี่นั้นมีเปอร์เ็นต์ที่สูงมากกว่า 85% เมื่อเทียบกับวิธีการทำเด็กหลอดแก้ววิธีอื่นๆ แล้วเพราะสาเหตุใดถึงมีเกิดล้มเหลวในการตั้งครรภ์ได้ วันนี้้เราจะมาพูดถึงสาเหตุว่า สาเหตุที่ทำให้การทำอิ๊กซี่ไม่สำเร็จนั้นเกิดจากอะไร? 

ทำไมถึงทำ ICSI ไม่สำเร็จ

ICSI ไม่สำเร็จ

การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection : ICSI) คือกระบวนการทางแพทย์ที่ช่วยในเรื่องการเจริญพันธุ์ในเชิงของการปฏิสนธินอกร่างกาย เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยผู้มีบุตรยากที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากวิธี IVF แต่ได้รับประสิทธิผลมากกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตรแต่ติดปัญหาด้านต่างๆ เช่น อายุมาก ไข่ไม่ตก เปลือกไข่แข็งหนา น้ำเชื้อน้อย ตัวอสุจิไม่แข็งแรง โดยวิธีการรักษาคือ แพทย์ผู้ดูแลจะทำการฉีดยากระตุ้นไข่แก่ฝ่ายหญิงเพื่อให้ร่างกายผลิตไข่ออกมาให้มีจำนวนเยอะๆ และขนาดที่เหมาะสมสำหรับการนำไปปฏิสนธิ จากนั้นจะทำการฉีดยาให้ไข่ตกเพื่อทำการเก็บออกมาภายนอก ก่อนที่จะนำไปปฏิสนธิกับอสุจิที่ผ่านการคัดกรองมาแล้วว่าเป็นตัวที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุดด้วยวิธีการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และใช้เข็มขนาดเล็กฉีดเชื้อเข้าไปให้เนื้อไข่โดยตรงอย่างเจาะจง นำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการประมาณ 3-5 วัน จนตัวอ่อนมีการพัฒนาในระยะที่เหมาะสมแล้ว (นั่นก็คือ Day5 หรือระยะบลาสโตซีสต์) ก็จะทำการย้ายตัวอ่อนเข้าไปฝังในโพรงมดลูกเพื่อให้มีการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติต่อไป

อัตราการประสบความสำเร็จของการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง? 

  1. อายุของฝ่ายหญิงผู้ที่เข้ารับการรักษา เพราะหากอายุยิ่งมากขึ้น คุณภาพของไข่ก็จะยิ่งลดน้อยลง
  2. จำนวนไข่ที่ได้จากการกระตุ้นว่าจำนวนเยอะเท่าไร  (15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตก << อ่านต่อ)
  3. คุณภาพของไข่ที่ได้จากการกระตุ้นในครั้งนั้น มีคุณภาพมากน้อยเท่าไร
  4. รูปร่างและความแข็งแรงของอสุจิ (11 อาหารบำรุงอสุจิ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์ << อ่านต่อ)
  5. ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในวันที่ทำการย้ายตัวอ่อนนั้น มีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่?  (6 วิธีเตรียมผนังมดลูก การบำรุงมดลูกสำหรับการฝังตัวอ่อน เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ << อ่านต่อ)

ซึ่งหากทั้ง 5 ข้อข้างบนนั้นไม่ปัญหาอะไร แต่การตั้งครรภ์ภายหลังจากการฝังตัวอ่อนก็ยังไม่สำเร็จผลสักที ในส่วนนี้แพทย์อาจจะวินิจฉัยว่า คุณอาจจะอยู่ใน “ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน” 

มดลูกต่ำ มดลูกคว่ำ ทำให้แท้งง่ายจริงหรือไม่?

ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน (Repeat Implantation Failure)

เป็นอาการของผู้ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ถึงแม้ว่าจะมีการย้ายตัวอ่อนคุณภาพดีหลายรอบ โดยแพทยืจะแบ่งอาการและเกณฑ์การวินิจฉัยหลายแบบที่ในหลายๆ คู่อาจจะมีสาเหตุและอาการไม่เหมือนกัน เช่น

  • ภาวะไม่เกิดการตั้งครรภ์ ภายหลังการย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี 12 ตัวขึ้นไป
  • ภาวะไม่ตั้งครรภ์ภายหลังการตัวอ่อนคุณภาพดีจำนวน 10 ตัวอ่อนขึ้นไป หรือ ทำการย้ายมากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป
  • ภาวะไม่ตั้งครรภ์ภายหลังการย้ายตัวอ่อนคุณภาพดี 3 ครั้งขึ้นไป โดยมีตัวอ่อนคุณภาพดีไม่น้อยกว่า 2 ตัวอ่อนขึ้นไป

ปัจจัยทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว

1. มาจากตัวอ่อนโดยตรง

สาเหตุอันดับหนึ่งที่เกิดขึ้นได้มาจากตัวอ่อนโดยตรงซึ่งถึงแม้ว่าตัวอ่อนทุกตัวนั้นจะอยู่เพาะเลี้ยงตัวในห้องปฏิบัติการในอุณหภูมิที่เหมาะสมและได้รับการดูแลจากนักวิทย์ฯ โดยตรง แต่ในการเพราะเลี้ยงนั้นก็อาจจะได้ทั้งตัวอ่อนที่มีคุณภาพและตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ได้ การที่ได้ตัวอ่อนไม่สมบูรณ์จากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการนั้นสาเหตุการเกิดจากการเลี้ยงในอุณหภูมิที่ทำให้ตัวอ่อนพัฒนาการช้า หรือ พัฒนาการไม่สมบูรณ์ได้ซึ่งเมื่อนำไปฝังในโพรงมดลูกจึงทำตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรืออีกนัยหนึ่งก็อาจจะเกิดจากการคัดเลือกตัวอ่อนเพื่อใส่กลับโพรงมดลูกจากแพทย์เองที่อาจจะไม่ทราบว่าเป็นตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ เพราะรูปร่างและหน้าตาของของตัวอ่อนเหมือนกัน จึงทำให้อาจจะเลือกผิดพลาดได้

ตัวอ่อนผิดปกติ ตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ ทำ ICSI ติดมั้ย? ลูกจะพิการหรือเปล่า?

2. คุณภาพโพรงมดลูกที่ฝัง

ในการฝังตัวอ่อนนั้น คุณภาพโพรงมดลูกก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ถึงแม้ว่าตัวอ่อนที่คัดมาจะมีคุณภาพดีมากแค่ไหน ถ้าหากโพรงมดลูกไม่มีคุณภาพพอตัวอ่อนก็ไม่สามารถฝังได้และยิ่งหากถ้ามีการตรวจเจอติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือเนื้องอกในโพรงมดลูกก็จะส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนยากขึ้นอีกด้วย

อยากมีลูก แต่มดลูกไม่แข็งแรง ควรทำอย่างไร

3. ปัญหา Auto-Immune

ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับฝ่ายหญิงบางคนที่ร่างกายจะมีการขับสารบางอย่างที่รบกวนการสร้างผนังเซลล์ และมีผลทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือด ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลโดยตรงที่จะเข้าไปขัดขวางการสูบฉีดเลือดส่งไปยังโพรงมดลูก และยับยิ้งกระบวนการฝังตัวอ่อนลงทำให้ไม่สามารถฝังตัวของตัวอ่อนได้จนเกิดอาการแท้งในภายหลัง

วิธีรับมือกับปัญหาท้องแล้วแท้ง ให้ตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย

4. ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ

อาการของความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น กลุ่มคนที่เป็นโรคของต่อมไทรอยด์ที่มีระดับโปรแลกตินในเลือดสูงกว่าปกติ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตั้งครรภ์ยากกว่าปกติ แต่อาการเหล่านี้นั้นสามารถป้องกันได้หากมีการแจ้งแพทย์ก่อนทำอิ๊กซี่ หรือมีการตรวจเลือดเพื่อคัดกรอง หาสาเหตุและทำการรักษาก่อน

ข้อดีของการตรวจโครโมโซม การตรวจคัดกรองตัวอ่อน มีความสำคัญยังไง

นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างบนแล้วยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก เช่น ปัจจัยระหว่างการเคลื่อนย้ายตัวอ่อนเพื่อนำไปฝังในโพรงมดลูกที่อาจจะใส่ยากกว่าปกติเ หรือฝ่ายหญิงมีปากมดลูกตีบหรืองอทำให้การใส่ตัวอ่อนใช้เวลานานทำให้อุณหภูมิในตัวอ่อนแปรปรวนอาจส่งผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนได้  หรือ ปัญหาเรื่องของความเป็นกรดด่างที่ของน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งทั้งหมดนี้นั้นสามารถส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัวได้ทั้งสิ้น

มดลูกต่ำ มดลูกคว่ำ ทำให้แท้งง่ายจริงหรือไม่?

ท้องนอกมดลูก เกิดจากอะไร? สามารถป้องกันได้อย่างไร?

เนื้องอกในมดลูก ทำให้มีลูกยาก เนื้องอกแบบไหนทำให้มีลูกยาก

.

เอกสารการรักษามีบุตรยาก IUI / ICSI ทำไมต้องใช้ทะเบียนสมรส ?

แนวทางในการแก้ไข ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัว

  1. สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มจำนวนตัวอ่อนเพื่อฝังในโพรงมดลูกให้เยอะมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการฝังตัว แต่ควรจะระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์แฝด ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
  2. ย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 5 หรือระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) แทนที่จะใช้ตัวอ่อนระยะวันที่ 3 ซึ่งในการย้ายตัวอ่อนนำมาใส่ในช่วงระยะนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนฝังตัวมากขึ้น
  3. การจ่ายยาบำรุงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อบำรุงครรภ์ให้มากขึ้น เพื่อช่วยในการพยุงการตั้งครรภ์และหลังการย้ายตัวอ่อนเป็นไปอย่างราบรื่น
  4. หากแพทย์วินิยฉัยว่า ฝ่ายหญิงที่มีการฝังตัวอ่อนมีภาวะเสี่ยงต่ออาการ Aoto-Immune แพทย์อาจจะจ่ายยาแอสไพรินหรือยาเฮปปาริน เพิ่มเพื่อให้โอกาสการตั้งครรภ์มีมากขึ้น
  5. การใช้ตัวอ่อนแช่แข็ง เพื่อเลี่ยงยาฉีดกระตุ้นในมดลูกมากเกินไปซึ่งอาจมีผลต่อตัวรับที่มดลูกที่อาจจะหนักเกินไป ย้ายตัวอ่อนรอบสด vs รอบแช่แข็ง แบบไหนได้ผลดีที่สุด
  6. การตรวจภายในอย่างละเอียดก่อนการทำอิ๊กซี่ (ICSI) เพื่อหาสาเหตุที่อาจจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ยาก หรือ ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ยากในอนาคต เช่น พังผืดในช่องท้อง เนื้องอก หรือติ่งเนื้อ เพื่อให้แพทย์สามารถแก้ไขได้ก่อน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วิธีทำ ICSI ติดในครั้งเดียว เคล็ดลับเพิ่มโอกาสการมีลูกด้วยการทำอิ๊กซี่

น้ำมะกรูด ทำให้มีลูกง่าย ช่วยให้ท้องได้จริงหรือไม่?

ตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร? ทำไมต้องตรวจก่อนตั้งครรภ์

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์