การเตรียมผนังมดลูก เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้การตั้งครรภ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะหากโครงสร้างหรือผนังมดลูกมีความเตรียมพร้อมเหมาะสำหรับการตั้งครรภ์ ก็สามารถทำให้การฝังตัวอ่อนเป็นไปได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการเตรียมผนังมดลูกให้ดีก็เหมือนเป็นการสร้างบ้านที่อบอุ่นและแข็งแรงให้แก่ลูกในฝันแห่งอนาคตของคุณได้
เตรียมผนังมดลูก ให้แข็งแรง สามารถเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้
ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า มีอะไรที่คุณสามารถทำได้บ้าง เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนได้บ้าง คำตอบคือ ไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าอะไรสามารถเพิ่มโอกาสการฝังตัวได้จริง ซึ่งช่วงระยะที่ตัวอ่อนกำลังจะฝังตัวอยู่ในช่วง Luteal phase ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล (Progesterone) ทำงานเป็นหลัก โดยฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน โดยขนาดผนังมดลูกที่เหมาะสมคือ 8-14 มิลลิเมตร หากต้องการให้ขนาดของมดลูกเหมาะสม ต้องเริ่มต้นจากการทำงานของฮอร์โมนที่เหมาะสมซึ่งต้องอาศัยการดูแลสุขภาพ และการบำรุงที่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล (Progesterone) ทำหน้าที่สำคัญในการสร้างผนังมดลูกให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน โดยเมื่ออายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรลก็ลดลงทำเกิดปัญหาในช่วงการฝังตัวของตัวอ่อนได้
เอกสารการรักษามีบุตรยาก IUI / ICSI
ผนังมดลูกที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์
- มีความหนาของผนังไม่ต่ำกว่า 8-10 มิลลิเมตร แต่ไม่ควรหนาเกิน 14 มิลลิเมตร
- ผนังมดลูกต้องมีผิวเรียบ เมื่อตรวจดูต้องมีเห็นเส้นกลางชัดเจน เรียงตัว 3 ชั้น (Triple lines)
- ต้องต้องสะอาด ไม่มีการจับตัวกันของประจำเดือนตกค้าง
- เลือดไหลเวียนไปสะดวก
วิธี เตรียมผนังมดลูก ให้พร้อมในการฝังตัวอ่อน
1. เริ่มต้นที่อาหาร
ควรใส่ใจเรื่องของการเลือกอาหารให้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากในการเตรียมความพร้อมเพื่อการมีบุตร ว่าที่คุณแม่จะต้องเตรียมร่างกายและระบบเจริญพันธุ์ให้สมบูรณ์ที่สุด ควรทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อและเลือกให้หลากหลาย ไม่ควรทานาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเมนูเดิมๆ ซ้ำบ่อย เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร โดยเน้นอาหารดังนี้
- แมกนีเซียม (Mineral) : เพราะแมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการดูดซึมของแคลเซียม วิตามินดี และบำรุงระบบเจริญพันธุ์ โดยอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงก็คือ ดาร์กช็อคโกเเลต อัลมอลด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อโวคาโด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง วอลนัท แป้งข้าวสาลี หอยนางรม ถั่วดำ เต้าหู้ ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน รำข้าว ปวยเล้ง และข้าวโพด
- วิตามินบี 6 (Vitamin B6) : มีส่วนช่วยให้การทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ก็คือ แซลมอล ไข่ นม แครอท มันฝรั่ง กล้วย เนื้อไก่ เมล็ดทานตะวัน น้ำมะเขือเทศ ผักโขม ปลาทูน่า ข้าวไม่ขัดสี (เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมสีนิล ข้าวแดง) กะหล่ำปลี แคนตาลูป ถั่ววอลนัท
- สังกะสี (Zinc) : ช่วยบำรุงการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลให้ทำงานปกติ และเป็นแร่ธาตุที่หลายคนมักจะขาด เพราะสังกะสีเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือเก็บไว้ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทานเสริมเข้าไปเป็นประจำ เช่น อาหารทะเล (โดยเฉพาะปู) ขนมปังโฮลเกรน ไก่ ไข่แดง งา เห็ด ตับ เนื้อหมูไม่ติดมัน เนื้อวัวไม่ติดมัน เมล็ดแตงโม
- โอเมก้า 3 (Omega-3) เพราะโอเมก้า 3 มีมีส่วนช่วยให้ฮอร์โมนทางเพศมีความสมดุล มีประโยชน์ต่อทั้งร่างกาย บำรุงสมอง นอกจากนี้ยังเป็นอาหารที่มีไขมันดี เหมาะสำหรับทานระหว่างตั้งครรภ์อีกด้วย เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู น้ำมันตับปลา ปลาเฮอริ่ง ปลาซาดีน เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย
- วิตามินอี ( Vitamin E) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยป้องกันการแตกตัวของเม็ดเลือด ป้องกันเม็ดเลือดอุดตัน และต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอีพบมากในอาหาร เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันข้าวโพด มันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนล่า เฮเซลนัต บรอกโคลี กีวี่ เนยถั่ว และผักโขม
- วิตามินซี ( Vitamin C) มีส่วนช่วยบำรุงเลือดและนำไปเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น เพิ่มโอกาสให้การฝังตัวของตัวอ่อนสำเร้จมากขึ้น อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ก็คือ ดอกกะหล่ำ กะปล่ำปม ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ถั่วลันเตา ใบเผือก ใบมันสำปะหลัง ใบมะระจีน ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี ผักโขม ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้ง มะรุม ยอดมะม่วง ยอดมะละกอ พริกหวาน มะขามป้อม ฝรั่ง ส้ม สตรอเบอร์รี่ ลิ้นจี่
( 15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตก << อ่านต่อ )
( 11 อาหารบำรุงอสุจิ ให้แข็งแรงเคลื่อนไหวรวดเร็ว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์ << อ่านต่อ )
2. หลีกเลี่ยงสารเคมี
สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนการมีบุตรในอนาคต หรือกำลังอยู่ในช่วงเตรียมความพร้อมการมีบุตร และ ผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีที่อาจจะส่งผลให้เกิดอาการแท้ง โดยสารเคมีที่เราสามารถพบเจอบ่อยๆ ก็คือสาร Xenoestrogen หรือ เป็นสารเคมีที่หากเรารับเข้าไปในร่างกายในปริมาณที่มาก จะส่งผลทำให้การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดปกติ สารเคมีชนิดนี้มักพบมากในอาหารและสิ่งของต่อไปนี้
- อาหารที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม (Processed Foods) เช่น อาหารแช่แข็งหรือแปรรูป
- ผัก ผลไม้และสัตว์ที่เลี้ยงโดยการใช้สารเคมี (ฉีดสารเร่ง หรือ ฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต)
- เครื่องดื่มจากขวดพลาสติก
- อาหารกระป๋อง
- เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Phthalate
สิ่งเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการเลือกทานอาหารที่มีที่มาที่ไป ทางที่ดีที่สุดควรเลือกเฉพาะเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ที่มีการรับรองว่า ไม่ผ่านสารเคมี หรือ ปลอดสารเร่งโต ไม่ทานอาหารแช่แข็ง/อาหารแปรรูป ไม่ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ถูกเก็บอย่างไม่เหมาะสม (เช่น ใช้ซ้ำ/ตากแดดเป็นเวลานาน) หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องและเลือกใช้เครื่องสำอางเฉพาะที่ไม่มีส่วนผสมของ Phthalate หรือ ใช้เครื่องสำอางสำหรับผู้ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ
3. ลดความเครียด
ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การตั้งครรภ์มีความสำเร็จที่น้อยลง เพราะเมื่อร่างกายเกิดภาวะเครียด การทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะฮอร์โมนระบบเจริญพันธุ์ทำงานผิดปกติลดลง ในบางรายที่ตั้งครรภ์แล้วสามารถทำให้เกิดอาการแท้งได้ ดังนั้นควรทำจิตใจให้สบาย ไม่วิตกกังวลเกินไป หากใครที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าควรปรึกษาแพทย์
4. รักษามาตรฐานน้ำหนัก
สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนการมีบุตรหรือต้องการมีบุตร ลดจะรักษามาตรฐานน้ำหนักของท่านให้คงที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะหากน้ำหนักมีน้อยไปหรือมากไปนั้น จะส่งผลโดยตรงต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนโปรและโปรเจสเตอโรลทำงานผิดปกติ และหากมีน้ำหนักเกินระหว่างตั้งครรภ์ยังเสี่ยงต่ออาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกด้วย
( โรคอ้วน กับภาวะมีบุตรยาก น้ำหนักเกิน ทำไมถึงเสี่ยงลูกยาก << อ่านต่อ )
5. วิตามินบำรุง
ในบางครั้งการรับประทานอาหารเยอะๆ ก็ไม่สามารถเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายได้ทั้งหมด ดังนั้นการทานวิตามินบำรุง จึงสามารถตอบโจทย์ที่สามารถช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและยังสะดวกได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงแนะนำให้ทานวิตามินบำรุงตั้งแต่ช่วงแรกๆ ในการวางแผนการตั้งครรภ์ และวิตามินและอาหารเสริมชนิดนั้นควรจะได้รับการรับรองของแพทย์และมีแหล่งที่มาที่ตรวจสอบและเชื่อถือได้เท่านั้น
5 วิธีบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่
6.ปรึกษาแพทย์
การปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดเป็นการป้องกันอุบัติเหตุหรืออาการที่อาจจะเป็นอันตรายได้อย่างทันท่วงที ท่านไม่ควรเชื่อคำแนะนำจากเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิดคนอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหา หากมีอาการใดที่ผิดปกติ หรือมีข้อสงสัยควรที่จะถามแพทย์โดยตรงเท่านั้น
อ่านบทความ : FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้ คำถามเกี่ยวภาวะมีบุตรยาก
………………………………………………
เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K
………………………………………………
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์