กินยาคุมบ่อยมีลูกยาก ใช้ยาคุมกำเนิดติดต่อกันนานๆ จะท้องได้หรือไม่

กินยาคุมบ่อยมีลูกยาก !?

เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นหูกับประโยคนี้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับความร้ายแรงของการทานยาคุมกำเนิดว่าอาจจะส่งผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดปัญหา “ภาวะมีลูกยาก” ในอนาคต

วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประโยคความเชื่อที่ว่า “กินยาคุมบ่อยมีลูกยาก” จริงหรือไม่? ยาคุมกำเนิดมีหน้าที่อย่างไร และส่งผลต่อระบบภายในของฝ่ายหญิงทำให้มีลูกยากจริงหรือไม่?

ยาคุมกำเนิดทำให้มีลูกยาก

กินยาคุมบ่อยมีลูกยาก เชื่อได้แค่ไหน?

ความเชื่อเรื่อง กินยาคุมบ่อยมีลูกยาก เป็นความเชื่อที่มักจะได้ยินกันบ่อย เนื่องจากมีความคิดที่ว่าการทานยาคุมกำเนิดหรือการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานหลายๆ ปี ตัวยาจะทำให้ “มดลูกแห้ง ผนังมดลูกบาง” ส่งผลให้มีลูกได้ยากกว่าคนทั่วไป ความจริงแล้ว ยาคุมกำเนิดนั้นไม่มีผลต่อการทำให้เกิดภาวะมีลูกยากแต่อย่างใด!

เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีลูกยากนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ปัจจัยด้านอายุที่มากขึ้น ภาวะไข่มีเปลือกหนาแข็งจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ และภาวะน้ำเชื้ออ่อน มีน้อย อสุจิเคลื่อนไหวช้า ไม่แข็งแรง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำมีลูกยากทั้งสิ้น

( มีอัณฑะข้างเดียว น้ำเชื้อพิการ มีลูกได้ ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว << อ่านต่อ )

( สเปิร์มไม่แข็งแรง อสุจิไม่มีสเปิร์ม น้ำเชื้ออ่อน มีลูกได้หรือไม่? << อ่านต่อ )

( มีปีกมดลูกข้างเดียวจะท้องได้ไหม ตัดปีกมดลูก 1 ข้าง สามารถมีลูกได้หรือไม่ << อ่านต่อ )

ยาคุมมีผลต่อการคุมกำเนิดยังไง?

ยาคุมกำเนิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอยู่หลายประเภท ซึ่งในแต่ละชนิดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะและคุณสมบัติของยาขนิดนั้นๆ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้และระยะเวลาในการคงประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดที่แตกต่างกัน

1.ยาคุมแบบเม็ด

เป็นยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีทั้งแบบ 21 เม็ดและแบบ 28 เม็ด วิธีการใช้คือ ให้ทานอย่างต่อเนื่องทุกวันในเวลาเดิม (หรือบวกลบแล้วไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง) ซึ่งยาคุมชนิดนี้นั้นมีตัวยาที่สำคัญที่ช่วยคงประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด แต่ข้อเสียคือ หมดฤทธิ์เร็ว ทำให้ในบางรายที่ทานยาไม่ต่อเนื่องหรือหยุดทานยาก็สามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้แล้ว ดังการทานยาคุมกำเนิดจึงทำให้ไม่สามารถให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ ผลข้างเคียงหลังการหยุดใช้ยาอาจจะส่งผลให้ประจำเดือนขาดหรือมาน้อยว่าปกติในกรณีที่ทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เพราะในการทานยานั้นร่างกายนั้นคุ้นเคยกับการทานยาปรับฮอร์โมน ดังนั้นควรต้องให้เวลาให้ร่างกายปรับสมดุลประมาณ 1-2 เดือน ไข่ก็จะสามารถตกได้เองตามธรรมชาติ

2.ยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุมฉุกเฉินนั้นจะเป็นยาที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนขนาดสูง 2 เม็ดที่จะคงประสิทธิ์ภาพการคุมกำเนิดได้สูงสุดเพียง 60-70% ในกรณีที่ทานภายใน 48-72 ชั่วโมง ไม่มีผลต่อการทำให้เกิดมีลูกยาก ซึ่งหลังจากที่ทานเข้าไปอาจจะมีผลข้างเคียงที่อาจจะทำให้ประจำเดือนเลื่อน หรือมาแบบกะปริบกะปรอย และเกิดภาวะไข่ตกผิดปกติ เช่น ไข่อาจจะมีการตกมากกว่าปกติส่งผลให้เพิ่มโอกาสการเกิดแฝดเพิ่มขึ้นได้ แต่ไม่ควรทานแทนยาคุมแบบปกติเนื่องจากปริมาณฮอร์โมนในตัวยาที่สูงส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน และยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่เกิดท้องมดลูกอีกด้วย

3.ยาคุมแบบฉีด

ยาคุมแบบฉีดเป็นยาคุมชนิดที่ออกแบบมาให้ฉีดทุก 1 เดือนหรือ 3 เดือน มีฤทธิ์กดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองค่อนข้างสูง ทำให้มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดี แต่หากฉีดมาเป็นเวลานานมากกว่า 2 ปีขึ้นไป หลังหยุดยาไปแล้วอาจผลข้างเคียงคือ ประจำเดือนขาด ไข่ไม่ตก เลยอาจจะทำให้ตั้งครรภ์ยากกว่าปกติ แต่ก็ได้ทำให้เกิดภาวะมีลูกยากภาวร เพียงแต่จำเป็นต้องรอให้ร่างกายปรับสภาพฮอร์โมนให้สมดุลประมาณ 6 เดือน หรือ 1 ปี ไข่จะกลับมาตกตามปกติ หากมีการวางแผนการมีลูกในอนาคต ควรวางแผนล่วงหน้า 1 ปี และปรึกษาแพทย์เพื่อปรึกษาการปรับฮอร์โมนเพื่อให้กลับมามีประจำเดือนดังเดิมได้ตามปกติ

4.ยาคุมกำเนิดแบบฝัง

นิยมฝังไว้บริเวณที่ใต้ท้องแขน จะมีฤทธิ์คุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนานมากถึง 3 ปี หากต้องการมีลูกก็สามารถเอาออกได้ซึ่งหลังการถอดออกอาจจะมีภาวะไข่ไม่ตก ประจำเดือนขาด หรือมากะปริบกะปรอยแต่ก็จะกลับมาเป็นตามปกติ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน

ผลข้างเคียงหลังหยุดยาคุมกำเนิด

  • ประจำเดือน : เมื่อหยุดการทานยาคุมกำเนิด อาจจะมีผลต่อการมีประจำเดือนในช่วงที่กินยาคุมนั้นเป็นปรับฮอร์โมนในร่างกายให้คงที่สม่ำเสมอ และเมื่อหยุดทานจึงอาจจะส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวน ทำให้ประจำเดือนมาน้อยหรือกะปริบกะปรอย รอบเดือนสั้นลงกว่าเดิม เช่นเคยมา 5 วัน ก็อาจเหลือแค่ 3 วัน
  • มีสิวเกิดขึ้นใหม่ : หลังหยุดยาคุมกำเนิด ในบางรายอาจจะเกิดสิวขึ้นบนบริเวณหน้า ซึ่งมาจากฮอร์โมนที่แปรปรวน ดังนั้นหลังหยุดยาควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเช่น นมและน้ำตาล เน้นอาหารที่เป็นโปรตีนที่ดีเช่น ทานเนื้อปลา และรักษาความสะอาดบนใบหน้าให้ดีก็จะสามารถช่วยให้อาการทุเลาลง
  • ปวดท้องประจำเดือน หลังจากการหยุดยาคุมกำเนิดในบางรายอาจจะมีอาการของการปวดท้องในช่วง 1-2 วันแรกเนื่องจากเยื่อบุมดลูกจะผลิตสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เข้าไปกระตุ้นให้มดลูกมีการบีบตัวมากขึ้น

ดังนั้นจากที่กล่าวในข้างต้นจะพบว่า การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ นั้น ไม่ได้ส่งผลก่อให้เกิดภาวะมีลูกยากแต่อย่างใด แต่ภาวะมีลูกยากนั้นมักมาจากปัจจัยอื่นๆ มากกว่า

ภาวะมีลูกยากที่เกิดจาก “ฝ่ายหญิง”

ส่วนใหญ่ภาวะมีลูกยากที่เกิดจากสุขภาพฝ่ายหญิงนั้นมักมาจากสาเหตุความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ มดลูก รังไข่ และท่อนำไข่ ซึ่งอาการเบื้องต้นตามที่ซักประวัติกลุ่มผู้หญิงที่มีลูกยาก คือ มักจะมีอาการของประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนแปรปรวน มาไม่ตรง นานๆ มาที นั่นอาจจะเกิดจากภาวะไข่ตกไม่สม่ำเสมอ หรือ ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง ซึ่งส่งผลให้มีลูกยาก เพราะกำหนดวันตกไข่ได้ยากกว่าปกติ

( ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีลูกยากไหม? << อ่านต่อ )

นอกจากนี้อาจจะเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์ ฮอร์โมนโปรแลคตินสูง โรค PCOS  เนื้องอกในมดลูก ซีสต์รังไข่ ท่อนำไข่อุดตัน พังผืดรัดท่อนำไข่  ช็อกโกแลตซีสต์ หรือมีประวัติเคยผ่าตัดอวัยวะอุ้งเชิงกราน ( ไส้ติ่ง เนื้องอกมดลูก หรือถุงน้ำรังไข่) โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักเกินและน้ำหนักต่ำกว่าปกติ เพราะผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินหรือน้อยกว่าปกติ มักจะมีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 40% และในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ และไทรอยด์ ก็เป็นสาเหตุทำให้มีลูกยากได้ และเมื่ออายุมากขึ้นระบบเจริญพันธุ์ในร่างกายก็มักจะเสื่อมลง คุณภาพของไข่และจำนวนของไข่ก็ถูกผลิตน้อยลง จึงทำให้การตั้งครรภ์ตามธรรมชาติน้อยลง และยังเสี่ยงต่อภาวะแท้งง่ายกว่าครรภ์ทั่วไปอีกด้วย

( อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตก << อ่านต่อ )

ภาวะมีลูกยากที่เกิดจาก “ฝ่ายชาย”

ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักจะพบเจอในฝ่ายชาย มักจะเกิดจาก “ระบบสืบพันธุ์ที่มีปัญหา” เช่น น้ำเชื้อน้อย อสุจิไม่แข็งแรง อวัยวะสืบพันธุ์ไม่แข็งตัว นอกจากนี้จะมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ความดันหัวใจ มีประวัติเคยเป็นคางทูม ได้รับกระทบกระเทือนบริเวณอวัยวะเพศจากอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬาที่ เช่น ปั่นจักรยาน ชกมวย ที่อาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ในขั้นตอนการสร้างน้ำเชื้อผิดปกติ

หรือ นิสัยและพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่จัด ติดสารเสพติด มีความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ไส้เลื่อนที่ถุงอัณฑะ เส้นเลือดขอดที่ถุงอัณฑะ หรือปัญหาตั้งแต่พันธุ์กรรมมีลูกยากตั้งแต่กำเนิด

( อาหารบำรุงอสุจิ ให้แข็งแรงเคลื่อนไหวรวดเร็ว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์ << อ่านต่อ )

( สูบบุหรี่ ทำให้มีลูกยาก เป็นหมัน ภัยร้ายใกล้ตัวที่มาพร้อมกับควันบุหรี่ << อ่านต่อ )

( สังเกต อาการเสี่ยงเป็นหมัน อาการของคนเป็นหมัน จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นหมัน << อ่านต่อ )

หากอยู่ในภาวะมีลูกยากควรทำอย่างไร

ในปัจจุปันมีวีธีการรักษากลุ่มสามีภรรยาที่มีลูกยากด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งมีให้เลือกถึง 3 วิธี คือ

1.IUI (Intra Uterine Insemination)

คือการปฏิสนธิภายในร่างกายที่ถือว่าใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดโดยมีกระบวนการคือ แพทย์ผู้ดูแลจะทำการคัดเลือกน้ำเชื้อที่ข็งแรงที่สุดของฝ่ายชายมาฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง เพื่อช่วยลดระยะในการว่ายและยังลดความเสี่ยงของเชื้ออสุจิที่อาจจะตายก่อนจะปฏิสนธิได้ดีมากๆ ซึ่งวิธีนี้เป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้สูง เนื่องจากน้ำเชื้อจะเข้าผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น

( IUI การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก << อ่านต่อ )

ข้อดี

  • สามารถทำง่าย ใช้เวลาไม่นาน
  • ค่าใช้จ่ายไม่สูง
  • ปลอดภัยเนื่องจากเป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับการปฏิสนธิโดยวิธีธรรมชาติ
  • ในขั้นตอนไม่จำเป็นต้องวางยาระงับความรู้สึก (ยาสลบ)

ข้อเสีย

  • ฝ่ายหญิงอายุควรมีอายุอยู่ 22-25 เนื่องจากเป็นอายุของไข่ที่เหมาะสมที่จะปฏิสนธิที่สุด หากอายุเกิน 30 ปี ไข่จะเริ่มมีอายุเยอะขึ้นโอกาสสำเร็จก็จะลดลงตามลำดับ
  • ฝ่ายชายที่มีน้ำเชื้ออ่อนมากๆ อาจจะไม่เหมาะกับวิธีนี้
  • ไม่สามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้

2.IVF (In Vitro Fertilization)

เป็นกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายที่จะนำไข่และอสุจินำมา “ผสมกันเอง”ภายในหลอดแก้ว เมื่อเกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อนแล้ว จึงทำการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาตร์จนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงย้ายตัวอ่อนฝังภายในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์และพัฒนาสู่เป็นทารกต่อไป

( เด็กหลอดแก้ว IVF รักษาภาวะมีบุตรยากอย่างปลอดภัย ได้ผลจริง << อ่านต่อ )

ข้อดี

  • เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • สามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้
  • ฝั่งผู้ชายที่มีเชื้ออสุจิอ่อน ไม่แข็งแรง หรือเป็นหมันก็สามารถทำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการคัดเชื้อที่แข็งแรงที่สุดมาใช้ ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันแพทย์จะทำการใช้เข็มดูดน้ำเชื้อออกมาจากลูกอัณฑะโดยตรง
  • เป็นวิธีการรักษา “ภาวะมีบุตรยาก” ที่ดีทีสุดในปัจจุบัน

ข้อเสีย

  • ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
  • ไม่เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมาก หรือมีปัญหาเรื่องไข่ที่มีเปลือกแข็งและหนาจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปทำการปฏิสนธิได้
  • ในขั้นตอนจำเป็นต้องวางยาระงับความรู้สึก (ยาสลบ)

3.ICSI – Intracytoplasmic sperm injection

เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก IVF ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายที่มีวิธีการคล้ายกับการทำ IVF เกือบทุกประการ แต่ข้อแตกต่างคือ การทำ ICSI จะเป็นการคัดเลือกไข่กับอสุจิที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดนำมาปฏิสนธิด้วยวิธีการใช้เข็มเล็กๆ ที่ดูดตัวอสุจิที่คัดเลือกไว้ฉีดเข้าไปให้เนื้อไข่โดยตรงเพื่อก่อให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นก็นำเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จจนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงย้ายตัวอ่อนฝังภายในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์และพัฒนาสู่เป็นทารกต่อไป ซึ่งการทำ ICSI เป็นวิธีที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันเพราะช่วยแก้ปัญหาผู้ที่มีบุตรยากได้หลากหลายสาเหตุ

( ข้อดีของการทำอิ๊กซี่ที่คุณควรทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำ << อ่านต่อ )

ข้อดี

    • เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป
    • ฝ่ายหญิงที่มีไข่เปลือกแข็งหนาจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ หรือเป็นผู้ที่มีปัญหาที่มดลูกก็สามารถทำได้
    • ฝั่งผู้ชายที่มีเชื้ออสุจิอ่อน ไม่แข็งแรง หรือเป็นหมันก็สามารถทำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการคัดเชื้อที่แข็งแรงที่สุดมาใช้ ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันแพทย์จะทำการใหชเข็มดูดน้ำเชื้อออกมาจากลูกอัณฑะโดยตรงเช่นเดียวกับวิธี IVF
    • สามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้ 99.9%*

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์