10 อาการมีลูกยาก สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังมี “ภาวะมีลูกยาก”

10 อาการมีลูกยาก สัญญานบ่งบอกว่าคุณกำลังมี "ภาวะมีลูกยาก"

อาการมีลูกยาก ที่คู่สมรสหลายคู่ต้องประสบปัญหา อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการที่มีสัญญาณเตือนมาก่อนแล้วหลายปี แต่มักจะถูกละเลยเนื่องจากไม่ได้ใส่ใจ ดังนั้นเราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ “สัญญาณเตือนของผู้มีบุตรยาก” มาให้อ่านและนำกลับไปสังเกตตนเองด้วยว่า คุณและคู่สมรสของคุณกำลังมีอาการแบบนี้อยู่หรือไม่?

สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังมี ” อาการมีลูกยาก “

ปัญหามีลูกยากนั้นถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากกับคู่สมรสหลายคู่ เนื่องจากในยุคปัจจุปันนั้น คู่รักนิยมการแต่งงานช้า เพราะต้องการวางแผนครอบครัวกันในระยะยาวที่มั่นคงที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเลยวัยที่เหมาะสำหรับการเจริญพันธุ์แล้ว ( วัยฝ่ายหญิงที่เหมาะสำหรับการเจริญพันธุ์ก็คือ 25-28 ปี) ทำให้หลายคนคิดว่าการมีบูตรช้า นั่นคือสาเหตุของการมีลูกยาก แต่ความจริงแล้วการมีบุตรยากนั้นไม่ได้มาจากปัจจัยด้านอายุเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเกิดจากพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว และร่างกายเองก็มักจะส่งสัญญาณเตือนของอาการผิดปกติมาตั้งนานแล้วอีกด้วย

พฤติกรรมมีลูกยาก เช็คปัจจัยความเสี่ยงที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว

อายุเยอะ อยากมีลูก ควรทำยังไง? ทำอย่างไรถึงจะท้องง่าย มีลูกเร็วๆ

Worldwide-ivf-prep

คุณกำลังมี อาการมีลูกยาก มีกี่ข้อ?

1.ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ

อาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นหนึ่งในอาการหลักที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนแต่มักจะเป็นสิ่งที่หลายคนละเลยเนื่องจากคิดว่าไม่ได้มีผลหรือส่งผลร้ายอะไร ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาก! เพราะอาการประจำเดือนมาไม่ปกตินั้น เป็นสัญญาณบอกว่าระบบเจริญพันธุ์กำลังมีปัญหา เช่น รังไข่ผิดปกติเลยทำให้ไม่มีการผลิตไข่ ภาวะไข่ไม่ตก สมองส่วน”ไฮโพทามามัส” บริเวณต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนอาจจะกำลังทำงานผิดปกติ ดังนั้นหากคุณเป็น 1 คนที่ประจำเดือนมาไม่ปกติควรจะรีบหาทางแก้ไขหรือเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์

2.ภาวะขาดสารอาหาร อาการมีลูกยาก

คนที่วางแผนการมีบุตรในอนาคต ควรจะดูแลเรื่องของปริมาณขาดอาหารที่เพียงพอต่อวันให้ดี โดยเฉพาะโปรตีนที่เป็นส่วนที่สำคัญมากที่จะช่วยบำรุงระบบเจริญพันธุ์ ดังนั้นควรทานโปรตีนไม่น้อยกว่า 20-30 กรัมต่อวัน เช่น เนื้อไม่ติดมัน เนื้อไก่ ไข่ เต้าหู้ และถั่วต่างๆ  นอกจากนี้สารอาหารที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้อีกก็คือ “กรดโฟลิก” ที่ก็เป็นวิตามินที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากกรดโฟลิกมีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างตัวอ่อน โดยเฉพาะเซลล์สมองและประสาท โดยต้องทานกรดโฟลิกอย่างน้อยวันละ 600 ไมโครกรัม เช่น ตับวัว ผักโขม และก๋วยเตี๋ยวไข่

3.อยู่ในพื้นที่เสี่ยง

วิถีชีวิตในปัจจุบันนั้น เรามักจะต้องเจอกับมลภาวะมากมาย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้กับโรงงานและอุตสาหกรรมอาจจะต้องระมักระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากในพื้นที่การทำอุตสาหกรรมนั้นมักจะมีการปล่อยสารพิษออกมา เช่น สารโลหะ ตะกั่ว ปรอท และสารหนู ซึ่งสารเหล่านี้อาจจะปะปนอยู่กับอากาศ อาหาร น้ำ ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้สุขภาพร่างกายไม่ดีและยังมีผลกับระบบเจริญพันธุ์ เช่น ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ ตัวอสุจิอ่อนแอ รังไข่ฝ่อง่าย เป็นหมัน และเสี่ยงต่อการมีบุตรยากอีกด้วย

4. น้ำหนักเยอะ

โรคอ้วนเป็นปัญหาที่ไม่ได้ส่งผลเฉพาะสภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการระบบเจริญพันธุ์อีกด้วย โดยมีผลการวิจัยรองรับว่า คนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินจะส่งผลให้มีลูกยากกว่าคนที่มีน้ำหนักตามมาตรฐานถึง 3 เท่า ดังนั้นควรจะออกกำลังกายควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถอ่านต่อได้ที่ โรคอ้วน กับภาวะมีบุตรยาก น้ำหนักเกิน ทำไมถึงเสี่ยงลูกยาก

5. ขนเยอะ

หากคุณเป็นคนที่มีขนขึ้นตามร่างกายบริเวณแขน ขา และลำตัวเยอะกว่าคนอื่นๆ นั่นอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังปัญหามีบุตรยาก เพราะการที่มีขนขึ้นเยอะตามร่างกายนั้นเกิดจากภาวะฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเยอะผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สมดุลกันเลยทำให้ระบบเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะที่บริเวณรังไข่ทำงานไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นหากคุณสังเกตว่า คุณมีขนตามร่างกายเยอะกว่าปกติ ควรเข้ารับการปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์

6.ไม่มีอารมณ์ทางเพศ

อารมณ์ทางเพศนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาและยังช่วยเรื่องการมีบุตรได้หากทั้งสามีภรรยามีความสัมพันธ์กันตามปกติ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดไม่มีอารมณ์ทางเพศ ก็จำเป็นจะต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร? อาจจะเป็นสุขภาพภายในระบบสืบพันธุ์ เช่น การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อสุจิไม่หลั่ง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ปัญหาเหล่านี้ควรรีบเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์โดยด่วน

7.ผมขาด ผมขาดหลุดร่วงง่าย ผมบาง

บางคนอาจจะคิดว่าปัญหาเรื่องเส้นผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก แต่ความจริงแล้วทั้งสองอาการมีความเกี่ยวข้องกันอยู่เนื่องจากเป็นอาการผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ส่งผลต่อระบบเจริญพันธุ์โดยตรง โดยเฉพาะฝ่ายหญิงที่หากอาการเหล่านี้จะทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน ไข่ตกช้าหรือไม่ตกเลย ส่งผลให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น

8.รู้สึกเจ็บเวลามีกิจกรรมทางเพศ

อาการนี้มักเกิดขึ้นกับทางฝั่งหญิงมากกว่า เนื่องจากสรีระที่เพศหญิงที่ต้องรองรับการเสียดสีเวลามีเพศสัมพันธ์ ซึ่งโดยปกตินั้นเวลามีเพศสัมพันธ์จะไม่รู้สึกเจ็บเพราะร่างกายจะมีการหลั่งน้ำหล่อลื่นออกมาเพื่อลดการเสียดสีตามธรรมชาติ แต่ถ้าเมื่อไรที่มีอาการเจ็บ นั่นอาจแปลว่าร่างกายกำลังขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ไม่มีการหลั่งน้ำหล่อลื่นออกมา ส่งผลช่องคลอดแห้ง  เจ็บแสบ ทางที่ดีควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพช่องคลอด

9. ขาดวิตามิน

วิตามินดีนั้นเป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด เช่น ไข่แดง ตับ นม เนย กลุ่มปลาแมคคอลเรล (ปลาทู/ปลาซาดีน/ปลาทูน่า) หรือแม้แต่การตากแดดในเวลาเช้าก่อน 10 นาฬิกา ก็สามารถรับวิตามินดีจากแสงยูวีได้เช่นกัน แต่เนื่องจากปัจจุบันวิถีชีวิตของคนเราทุกคนมักต้องทำอะไรอย่างเร่งรีบทำให้ไม่ค่อยได้เจอแดดยามเช้า และการรับประทานอาหารส่วนใหญ่ก็มักจะเน้นไปทางอาหารที่ให้ความรวดเร็ว เช่น ฟาสต์ฟู้ด อาหารสำเร็จรูป และอาหารแช่แข็งซึ่งทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินดีได้ง่าย ซึ่งวิตามินดีนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่มีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกและฟัน สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง หัวใจทำได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลการวิจัยได้รองรับว่า ผู้ชายและผู้หญิงที่ขาดวิตามินดีนั้นมักจะเกิดภาวะมีบุตรยากประมาณ 41.6 % ดังนั้นจึงควรทานอาหารที่มีมีวิตามินดีสูงๆ เพื่อรักษาความสมดุลในร่างกายในพร้อมต่อการมีบุตร

10.การมองเห็นที่ผิดปกติ

หากคุณมีอาการผิดปกติในการมองเห็นเช่น เมื่อจ้องมองหรือโฟกัสวัตถุตรงกลางแล้วมักจะมองเห็นขอบนอกหรือตรงขอบภาพข้างๆ ด้วย นั่นเป็นอาการหนึ่งที่ร่างกายกำลังบอกคุณว่า คุณอาจกำลังเป็นโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง ซึ่งเนื้องอกนั้นจะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนกระตุ้นน้ำนมโดยเฉพาะทำให้มีลูกยาก

ทำอย่างไรหากมีอาการมีลูกยาก

นับวันตกไข่

สาเหตุจากการมีบุตรยากในคู่สมรสบางคู่ บางครั้งก็เกิดจากการเลือกวันมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ตรงกับ “วันตกไข่” เพราะใน 1 รอบเดือน ฝ่ายหญิงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้เพียงแค่ 1 วันหรือ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งหากเลยวันมาแล้วก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ มีวิธีนับคือ ให้นับจากการมีรอบเดือนในทุกๆ เดือนของฝ่ายหญิง โดยปกติแล้วฝ่ายหญิงจะมีรอบเดือนทุกๆ 28 วัน ให้นับหลังจากวันที่มีรอบเเดือนมาเป็นวันที่ 1 ให้นับไปอีก 14 วันที่จะเป็นวันที่ตกไข่ เคล็ดลับก็คือ ให้คู่สามีภรรยามีกิจกรรมทางเพศประมาณ 1-2 วันก่อนไข่ตกและหากน้ำเชื้ออยู่ภายในร่างกายฝ่ายหญิงจะสามารถอยู่ได้ประมาณ 2 วันและจะพอดีกับวันตกไข่พอดี จะช่วยเพิ่มโอกาสการมีบุตรได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้เหมาะกับฝ่ายหญิงที่มีรอบเดือนปกติเท่านั้น อ่านต่อได้ที่นี่ วิธี นับวันไข่ตก วิธีง่ายๆ แก้ปัญหามีลูกยากด้วยวิธีธรรมชาติ

ปรึกษาแพทย์

สำหรับผู้ที่ลองปฏิสนธิแบบวิธีธรรมชาติแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ทั้งคู่ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งหากตรวจออกมาแล้วพบว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจนไม่สามารถมีลูกตามธรรมชาติได้ ในทางการแพทย์ก็มีเทคโนโลยีแก้ไขปัญหาการมีลูกยากโดยเฉพาะ อย่างการทำ “เด็กหลอดแก้ว (ICSI)” มารองรับ ซึ่งวิธีนี้เป็นเทคนิคสมัยใหม่ที่ทั่วโลกยอมรับ แถมยังให้ผลสำเร็จมากถึง 85% อีกด้วย


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์