” ควรมีลูกอายุเท่าไรดี อายุใกล้ 30 ปีแล้ว จะมีลูกยากหรือไม่? มักเป็นคำถามที่หมอจะถูกคนไข้ที่เข้ามาปรึกษาถามเป็นประจำ เนื่องจากค่อนข้างเป็นกังวลเกี่ยวกับอายุที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ วันนี้หมอจึงจะมาไขข้อสงสัย เกี่ยวกับ ช่วงวัยที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดให้ฟังกันครับ
ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์
ทางการแพทย์จะเรียกผู้หญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็คือช่วงตั้งแต่อายุ12 -51 ปี หรือนับตั้งแต่ครั้งแรกที่มีประจำเดือนจนถึงวัยหมดประจำเดือน
ทำไมยิ่งอายุมากถึงยิ่งมีลูกยาก
แต่เนื่องด้วยอายุของเด็กในวัย 12-18 ปีนั้นส่วนใหญ่ยังเรียนหนังสือและยังอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง ยังไม่มีวัยวุฒิและคุณสมบัติเพียงพอที่จะสามารถเลี้ยงทารกได้ ทำให้สังคมได้กำหนดช่วงอายุที่น่าจะมีความพร้อมที่จะสามารถตั้งครรภ์ได้คือหลังการเรียนจบ หรือประมาณ 22-25 ปี แต่ถึงแม้ว่าจะเรียนจบแล้ว ในยุคปัจจุบันนั้นอัตราการแต่งงานของคนรุ่นใหม่ก็ลดน้อยลง และมักจะต้องการมีลูกตอนที่พร้อมแล้วเท่านั้น ทำให้อายุปัจจุบันที่สามีภรรยาคิดจะมีลูกร่วมกันจึงอยู่ระหว่าง 30-35 ปี ซึ่งถือว่าค่อนข้างมีลูกยาก
อายุมีผลต่อไข่อย่างไร?
เนื่องจากโดยปกติแล้วผู้หญิงจะมีไข่ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดประมาณ 2 ล้านฟอง คุณภาพของไข่นั้นในช่วงแรกๆ จะมีคุณภาพสูงร่างกายผลิตออกมาเยอะมาก ทำให้ตั้งครรภ์ได้ง่าย และเมื่ออายุเพิ่มขึ้นไข่ก็จะผลิตลดลง และคุณภาพต่ำลงครับ เช่น เมื่ออายุ 30-35 ปี ไข่จะเหลืออยู่ประมาณ 25,000 ฟอและเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไปไข่อาจจะเหลือผลิตเพียง 1,000 ฟองเท่านั้น
ซึ่งนอกจากจะทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากยิ่งขึ้นแล้ว ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นอรกด้วย เช่น อาจเกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคเกี่ยวกับท่อนำไข่ และความผิดปกติของตัวอ่อน และเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษได้
ควรมีลูกอายุเท่าไร วัยที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์
หากใช้เกณฑ์อายุเป็นตัวกำหนดวัยที่เหมาะสมสำหรับการตั้งวครรภ์ก็คือจะอยู่ในช่วง 25-30 ปี แต่อายุก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เพราะการวางแผนการมีลูกนั้นถือเป็นการวางแผนระยะยาวที่พ่อและแม่จะต้องวางแผนเตรียมพร้อมทั้งเวลา การเงินทุกๆ อย่างเพื่อให้เด็กที่กำลังจะเปิดมาบนโลกได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ถึงแม้ว่าท่านจะมีอายุเกินวัยที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะช่วยแก้ไขปัญหามีลูกยากได้ เช่น
IUI (Intra Uterine Insemination)
คือการปฏิสนธิภายในร่างกายที่ถือว่าใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดโดยมีกระบวนการคือ แพทย์ผู้ดูแลจะทำการคัดเลือกน้ำเชื้อที่แข็งแรงที่สุดของฝ่ายชายมาฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง เพื่อช่วยลดระยะในการว่ายและยังลดความเสี่ยงของเชื้ออสุจิที่อาจจะตายก่อนจะปฏิสนธิได้ดีมากๆ ซึ่งวิธีนี้เป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้สูง เนื่องจากน้ำเชื้อจะเข้าผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น
IUI การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ สำหรับผู้มีบุตรยาก
ข้อดี
- สามารถทำง่าย ใช้เวลาไม่นาน
- ค่าใช้จ่ายไม่สูง
- ปลอดภัยเนื่องจากเป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับการปฏิสนธิโดยวิธีธรรมชาติ
- ในขั้นตอนไม่จำเป็นต้องวางยาระงับความรู้สึก (ยาสลบ)
ข้อเสีย
- ฝ่ายหญิงอายุควรมีอายุอยู่ 22-25 เนื่องจากเป็นอายุของไข่ที่เหมาะสมที่จะปฏิสนธิที่สุด หากอายุเกิน 30 ปี ไข่จะเริ่มมีอายุเยอะขึ้นโอกาสสำเร็จก็จะลดลง
- ฝ่ายชายที่มีน้ำเชื้ออ่อนมากๆ อาจจะไม่เหมาะกับวิธีนี้
- ไม่สามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้
ICSI (Intracytoplasmic sperm injection)
เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก IVF ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายที่มีวิธีการคล้ายกับการทำ IVF เกือบทุกประการ แต่ข้อแตกต่างคือ การทำ ICSI จะเป็นการคัดเลือกไข่กับอสุจิที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดนำมาปฏิสนธิด้วยวิธีการใช้เข็มเล็กๆ ที่ดูดตัวอสุจิที่คัดเลือกไว้ฉีดเข้าไปให้เนื้อไข่โดยตรงเพื่อก่อให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นก็นำเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จจนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงย้ายตัวอ่อนฝังภายในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์และพัฒนาสู่เป็นทารกต่อไป ซึ่งการทำ ICSI เป็นวิธีที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันเพราะช่วยแก้ปัญหาผู้ที่มีบุตรยากได้หลากหลายสาเหตุ
อ่านบทความ : FAQs รวมคำถาม ICSI ที่หลายคนอยากรู้ คำถามเกี่ยวภาวะมีบุตรยาก
ข้อดี
- เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป
- ฝ่ายหญิงที่มีไข่เปลือกแข็งหนาจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ หรือเป็นผู้ที่มีปัญหาที่มดลูกก็สามารถทำได้
- ฝั่งผู้ชายที่มีเชื้ออสุจิอ่อน ไม่แข็งแรง หรือเป็นหมันก็สามารถทำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการคัดเชื้อที่แข็งแรงที่สุดมาใช้ ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันแพทย์จะทำการใช้เข็มดูดน้ำเชื้อออกมาจากลูกอัณฑะโดยตรงเช่นเดียวกับวิธี IVF
- สามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้ 99.9%*
- เป็นวิธีการรักษา “ภาวะมีบุตรยาก” ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
ข้อเสีย
- ราคาแพง
- ในขั้นตอนจำเป็นต้องวางยาระงับความรู้สึก (ยาสลบ)
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์