อาการของท่อนำไข่บวมเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มักเกิดกับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากท่อนำไข่ผิดปกติทำให้ขัดขวางกระบวนการตั้งครรภ์ ทำให้หลายๆ คนเกิดความสงสัยว่า หากตนกำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ เมื่อรักษาหายแล้วจะสามารถมีลูกๆได้หรือไม่? วันนี้หมอจึงจะมาช่วยไขข้อสงสัยให้ฟังกันครับ
ท่อนำไข่บวมคืออะไร?
ภาวะท่อนำไข่บวม ( hydrosalpinx ) คือหนึ่งในกลุ่มโรคที่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ส่งผลให้มีปัญหามีลูกยาก และมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงหลายๆ คนโดยไม่รู้ตัว อาการของโรคนี้ก็คือจะส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์แบบปกติได้ เนื่องจากท่อนำไข่ที่เดิมมีท่อเล็กๆ นั้นเกิดการติดเชื้อจนเกิดเป็นพังผืดทำให้เมื่ออสุจิเข้ามาก็ไม่สามารถผ่านไปปฏิสนธิกับไข่ทำให้ต้องค้างอยู่ภายในจนท่อนำไข่มีลักษณะโป่งพองคล้ายกับถุงน้ำ และหากคนไข้เข้ารับการรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วหรือ ICSI ก็จะไม่ประสบผลสำเร็จเพราะสารภายในท่อนำไข่ที่บวมนั้นจะเข้าไปทำลายตัวอ่อนจนไม่สามารถฝังในโพรงมดลูกได้ทำให้ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
การตรวจวินิจฉัยอาการของภาวะท่อนำไข่บวมน้ำ
โดยปกติแล้วอาการของท่อนำไข่ผิดปกติจะมีคนไข้จำนวนที่น้อยมากๆ ที่มักจะแสดงอาการก็คือ จะมีอาการอักเสบบริเวณท้องทำให้รู้สึกปวดแบบเป็นๆ หายๆ แต่คนไข้ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแสดงอาการ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังเป็นอยู่ไม่รู้ตัว แต่เมื่อมีปัญหามีลูกยากก็จะคิดว่าคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ มักจะไปซื้ออาหารเสริมอาหารบำรุงมาทานแทนเพื่อให้ตั้งครรภ์ได้แทน ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ได้ผลครับ ดังนั้นหากท่านมีปัญหามีลูกยากอยู่ ไม่ควรคาดเดาเอาเองนะครับ ทางที่ดีควรเข้ามาให้หมอตรวจเช็คร่างกายให้ละเอียดก่อนจะดีที่สุด เผื่อว่าคุณอาจจะมีปัญหาท่อนำไข่บวมอยู่ก็เป็นได้ โดยวิธีการตรวจท่อนำไข่ก็มีอยู่ 2 วิธีครับ
- การอัลตราซาวด์ คนไข้จะต้องขึ้นขาหยั่ง แพทย์จะทำการสอดเครื่องมือผ่านทางช่องหลอดเพื่ออัลตราซาวด์ดูความผิดปกติภายใน แต่วิธีนี้จะเป็นการตรวจแบบเบื้องต้น
- การฉีดสีตรวจท่อนำไข่ เป็นวิธีการตรวจคล้ายกับวิธีแรก แต่จะมีความแม่นยำสูงกว่า สามารถเห็นท่อนำไข่ชัดเจนหลังการฉีดสารทึบแสง วิธีนี้สามารถตรวจความผิดปกติอื่นๆ ได้ เช่น ติ่งเนื้อภายในมดลูก, มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ และภาวะท่อรังไข่ตัน
วิธีการรักษา
วิธีการรักษาท่อนำไข่นั้นมีอยู่หลายวิธีครับ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ การเจาะดูดน้ำภายในท่อนำไข่ทิ้ง และการผ่าตัดเอาท่อที่บวมน้ำออก ซึ่งสำหรับคนที่ต้องการทำเด็กหลอด ICSI หมอจะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดครับ
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์