อายุ 40 มีลูกได้ไหม มีโอกาสตั้งครรภ์แค่ไหน?

อายุ 40 มีลูกได้ไหม เป็นคำถามของผู้ที่ต้องการวางแผนการมีบุตรแต่ติดปัญหาเรื่องของอายุที่อาจจะเป็นกังวล เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็มักจะมีเรื่องของปัจจัยด้านอายุเป็นเหตุ วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาเรื่องนี้กันว่า เมื่ออายุมากเข้าเลข 4 แล้ว สามารถมีลูกได้หรือไม่?

เมื่ออายุ 40 มีลูกได้ไหม เสี่ยงมากหรือไม่?

อายุ 40 มีลูกได้ไหม อายุ40มีลูกยาก มีลูกยาก

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น การวางแผนเรื่องการมีบุตรก็เป็นไปได้ยากขึ้นเนื่องจากระบบเจริญพันธุ์ของร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นในฝ่ายชายด้วย

ภาวะมีบุตรยากใน “ฝ่ายชาย”

หลายคนอาจจะคิดว่า อายุไม่มีผลต่อระบบเจริญพันธุ์ในผู้ชาย อายุเท่าไรก็สามารถมีลูกได้ แต่ความจริงแล้วยิ่งอายุของมากขึ้น ระบบเจริญพันธุ์ภายในจะมีการผลิตอสุจิที่อ่อนแอลง เพราะอัตราการเคลี่อนไหวช้าลง หากเทียบผู้ชายอายุ 30-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่อสุจิแข็งแรงที่สุด กับผู้ชายที่อายุมากกว่า 55 ปี นอกจากเรื่องการเคลื่อนไหวช้าลงแล้ว อายุที่มากขึ้นยังส่งผลต่อคุณภาพพันธุกรรมของอสุจิโดยตรงอีกด้วย อ้างอิงจากการศึกษาจาก Lawrence Livermore National laboratory และ University of California ที่ Berkely ซึ่งความบกพร่องนั้นก็คือ

  • ส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพลดลง
  • เพิ่มโอกาสในการแท้งให้มีสูงมากขึ้นเนื่องจากอสุจิไม่สมบูรณ์
  • เพิ่มอัตราเสี่ยงตอนคลอดที่อาจจะเสียชีวิตได้ง่ายกว่าปกติ (Stillbirth)
  • เพิ่มความเสี่ยงของความพิการตั้งแต่กำเนิด
  • มีแนวโน้มที่บุตรจะมีอาการ Autism ,โรคไบโพล่าร์,โรคจิตเภท Schizophrenia (กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง) , กลุ่ม Achondroplasia (ภาวะแคระ) และ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย

นอกจากปัจจัยด้านอายุที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้อสุจิไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรแล้ว ยังมีปัจจัยด้านอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือ สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เสี่ยงต่อการมีภาวะมีบุตรยากอีกด้วย

 

อายุ 40 มีลูกได้ไหม

ภาวะมีบุตรยากใน “ฝ่ายหญิง”

การเกิดภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิงนั้น มักจะเกิดขึ้นง่ายมากกว่าฝ่ายชาย เนื่องจากระบบเจริญพันธุ์ของฝ่ายหญิงนั้นจะมีความเสื่อมสภาพลง โดยปกติแล้ววัยที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ที่สุดจะอยู่ที่ช่วงอายุ 22-28 ปี และเมื่อเริ่มเข้าอายุ 30 ปี อัตราการตกไข่ก็จะค่อย ๆ ลดลง จนกระทั่งเข้าอายุ 40 ปีหรือที่คุ้นหูกันกับคำว่า “วัยทอง” ในวัยนี้หลายคนมักจะเริ่มหมดประจำเดือนกันแล้ว ทำให้ไม่สามารถมีลูกได้ แต่ในบางรายอาจจะยังมีประจำเดือนอยู่ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณว่า “ยังสามารถตั้งครรภ์ได้อยู่เพราะไข่ยังตกได้อยู่” แต่ก็ค่อนข้างเสี่ยงต่อปัจจัยหลายอย่าง เพราะไข่ที่ยังตกอาจจะไม่มีคุณภาพมากพอที่จะปฏิสนธิได้ หรือถึงแม้ว่าจะปฏิสนธิได้ ตัวอ่อนก็อาจจะไม่แข็งแรงทำให้มีโอกาสแท้งเนื่องจากตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้สูง

นอกจากเรื่องของอาการแทรกซ้อนในการฝังตัวอ่อนแล้ว ยังเสี่ยงต่อเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วย เช่น เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ และคลอดก่อนกำหนด ทำให้ทารกที่เกิดจะเกิดมาพร้อมกับโรคประจำตัวรวมถึงมีความผิดปกติทางพันธุกรรมสูงขึ้น

สังเกตมูกไข่ตก มูกช่องคลอด ตกขาว สัญญาณพร้อมท้องดูยังไง?

วิธีการแก้ไข

1.รักษากิจกรรมทางเพศให้สม่ำเสมอ

สำหรับปัญหาอันดับ 1 ที่ทำให้มีบุตรยากนั้น ปัจจัยหนึ่งเกิดจากการมีกิจกรรมทางเพศของสามีภรรยาที่มีน้อยจนเกินไป ซึ่งหากต้องการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ควรจะมีกิจกรรมทางเพศอย่างสม่ำเสมอ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรจะเลือกในช่วงวันที่ไข่ตก จะสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นได้ หากลองวิธีนี้ประมาณ 5-6 เดือนแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ควรเข้าปรึกษาแพทย์

2.ควรตรวจสุขภาพ

ในกรณีที่ท่านเป็นคู่สามี-ภรรยาที่มีอายุ 35-40 ปีแล้ว หากคุณต้องการวางแผนการมีบุตรควรจะเข้าตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อเป็นการวางแผนป้องกันปัจจัยเสี่ยงแท้งและคัดครองความผิดปกติของทารกที่จะเกิดมา

โรคกลุ่มเสี่ยงมีลูกยาก ต้องทำอิ๊กซี่ (ICSI)

3.รักษาสุขภาพ

ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงตลอดเวลาทั้งสามีและภรรยา และควรจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้โอกาสในการมีบุตรน้อยลง เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาแฟอีน เช่น กาแฟ  งดการสูบบุหรี่ รักษามาตรฐานด้านน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป ควรนอนหลับพักผ่อนไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน และรักษาภาวะด้านอารมณ์ให้คงที่ไม่ให้เครียด หรือ วิตกกังวล

4.การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์

ในปัจจุบัน ทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาไปมากกว่าในยุคอดีตด้วยการสามารถรักษาภาวะมีบุตรยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอายุมาก เป็นหมัน น้ำเชื้อไม่มีคุณภาพ เคลื่อนไหวช้า เปลือกไข่แข็ง ฯลฯ และยังสามารถคัดกรองโรคทางพันธุกรรมได้ เช่น

  • ICSI – Intracytoplasmic sperm injection

เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก IVF ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายที่มีวิธีการคล้ายกับการทำ IVF เกือบทุกประการ แต่ข้อแตกต่างคือ การทำ ICSI จะเป็นการคัดเลือกไข่กับอสุจิที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดนำมาปฏิสนธิด้วยวิธีการใช้เข็มเล็ก ๆ ดูดตัวอสุจิที่คัดเลือกไว้ฉีดเข้าไปให้เนื้อไข่โดยตรงเพื่อก่อให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นก็นำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงย้ายตัวอ่อนฝังภายในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์และพัฒนาสู่การเป็นทารกต่อไป ซึ่งการทำ ICSI เป็นวิธีที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันเพราะช่วยแก้ปัญหาผู้ที่มีบุตรยากได้หลากหลายสาเหตุ

ข้อดีของการทำอิ๊กซี่ที่คุณควรทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำ

วิธีนี้เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปที่มีไข่เปลือกแข็งหนาจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ และฝ่ายผู้ชายที่มีเชื้ออสุจิอ่อน ไม่แข็งแรง หรือเป็นหมันก็สามารถทำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการคัดเชื้อที่แข็งแรงที่สุดมาใช้ ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันแพทย์จะทำการใช้เข็มดูดน้ำเชื้อออกมาจากลูกอัณฑะโดยตรงเช่นเดียวกับวิธี IVF และการทำ ICSI นั้นยังสามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้ 99.9%* อีกด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำเด็กหลอดแก้วดีมั้ย IUI/IVF/ ICSI วิธีไหนได้ผลสำเร็จกว่ากัน

ทำ ICSI ที่ไหนดี ? ปรึกษาเรื่องการทำ ICSI ที่ไหนถึงได้ผลดีที่สุด

การทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF กับ ICSI ต่างกันอย่างไร ? 

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์