เช็คภาวะไข่เสื่อม ตั้งครรภ์ยาก คุณกำลังประสบอยู่หรือไม่?

อยากตั้งครรภ์ อยากมีลูกแต่ไม่ท้องสักที พยายามทานยาบำรุง ออกกำลังกายแล้วแต่ก็ไม่ท้อง บางทีอาจเป็นเพราะคุณกำลังประสบปัญหาภาวะไข่เสื่อมอยู่ก็ได้

เช็คภาวะไข่เสื่อม ตั้งครรภ์ยาก คุณกำลังประสบอยู่หรือไม่?

ภาวะไข่เสื่อม (Premature ovarian failure) คืออะไร?

หมายถึงภาวะของรังไข่ที่เทำงานผิดปกติ หรือ หยุดทำงานก่อนวัยอันควร เนื่องจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ และฮอร์โมนกระตุ้นการเติบโตของไข่ (Follicular Stimulating Hormone : FSH) ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ประจำเดือนและฮอร์โมนชนิดนี้จะพบได้มาในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

ภาวะรังไข่เสื่อมเกิดจากอะไร ?

ภาวะรังไข่เสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น

  • ในบางรายก็อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมและพันธุกรรม ทำให้รังไข่เสื่อมเร็วกว่าคนทั่วไป
  • เกิดจากโรคประจำตัวเช่น โรค SLE โรคภูมิต้านทานตนเองของต่อมไทรอยด์ (autoimmune thyroid disorder) โรคพาราไทรอยด์ และการติดเชื้อบางชนิด เช่น คางทูม วัณโรค มาลาเรียหากรักษาตัวได้ดีรังไข่อาจมีโอกาสกลับมาทำงานปกติได้
  • ภาวะเสื่อมจากการผ่าตัดบริเวณใกล้กับรังไข่
  • เกิดจากการรักษาตัวจากเคมีบำบัด ทำให้รังไข่หยุดทำงาน
  • เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัว เช่น การสูบบุหรี่ หรือได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงและโลหะหนักบางชนิดสะสมเป็นเวลานาน

ผลกระทบของภาวะรังไข่เสื่อม

ผลกระทบทางตรงของผู้ที่มีภาวะรังไข่เสื่อมคือ มีปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้การตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติยากกว่า หรือในยบางรายไม่สามารถตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้เลย จะต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการช่วยกระตุ้นไข่ให้เท่านั้น

อาการของภาวะรังไข่เสื่อม

  • ผิวแห้งง่าย
  • ผมร่วง
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ มาบ้างขาดบ้าง บางทีก็ทิ้งช่วงนานกว่าปกติ
  • มีอาการร้อนวูบวาบตามตัว ไม่สบายตัว
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด หัวร้อนง่าย
  • นอนหลับยาก นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
  • ช่องคลอดแห้ง เวลามีเพศสัมพันธ์แล้วเจ็บ

** หากในกรณีมีอายุน้อยกว่า 40 ปีแล้วมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการปรึกษาแพทย์

อายุเท่าไรเสี่ยงต่อภาวะรังไข่เสื่อม

ภาวะของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 40 ปี หากสงสัยว่าตนมีอาการคล้ายกัลกลุ่มเสี่ยงภาวะนี้ หรือ ลองพยายามตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติโดยไม่ป้องกันนานมากกว่า 3. เดือนแล้วไม่ตั้งครรภ์สักที ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย

วิธีป้องกันภาวะรังไข่เสื่อม

การป้องกันรังไข่เสื่อมนั้นสามารถป้องกันได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาครับ เช่น

  • ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาตัวจากการฉายรังสีหรือเคมีบำบัด หากต้องการรักษายืดอายุไข่เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ หมอแนะนำให้คุณใช้เทคโนโลยี “การฝากไข่” เพื่อป้องกันไข่ถูกทำลายจากรังสี
  • การลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำลายไข่ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  • การทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ไม่ทานอาหารสำเร็จรูป อาหารที่มีไขมันสูง ฟาสต์ฟู้ด
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

โรคอ้วน กับภาวะมีบุตรยาก น้ำหนักเกิน ทำไมถึงเสี่ยงลูกยาก

สูบบุหรี่ ทำให้มีลูกยาก เป็นหมัน ภัยร้ายใกล้ตัวที่มาพร้อมกับควันบุหรี่

ตรวจ AMH ตรวจวัดระดับฮอร์โมน วัดจำนวนไข่ เพิ่มโอกาสมีลูก

 


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์