ICSI คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสูงที่จะช่วยคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากโดยเฉพาะ และยังเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกอีกด้วย เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง สามารถคัดกรองโรคติดต่อ/โรคทางพันธุ์กรรมได้ และยังมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมากว่า 85 % โดยทุกขั้นตอนของกระบวนการทำอิ๊กซี่ (ICSI) นั้นจะอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ ทีมพยาบาล และนักวิทยฯ ผู้มีความเชียวชาญดูแลโดยเฉพาะอีกด้วย
ICSI คือ อะไร?
อิ๊กซี่ (ICSI) หรือ ที่หลายๆ คนอาจจะคุ้นชินกับคำว่า ” เด็กหลอดแก้ว” นั้นเป็นกระบวนการทางแพทย์ที่ช่วยในเรื่องการเจริญพันธุ์ในเชิงของการปฏิสนธินอกร่างกาย ซึ่งเป็นเทคนิคการแพทย์ชั้นสูงที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากการทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF เกือบทุกประการ โดยข้อแตกต่างของทั้ง 2 วีธีคือ
- การทำ IVF เป็นการคัดเลือกไข่และเชื้อที่สมบูรณ์นำมาปฏิสนธิภายในหลอดทดลอง จากนั้นทำการเพาะเลี้ยงจนกลายเป็นตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ แล้วจึงย้ายนำกลับเข้าไปฝังยังที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
- การทำ ICSI เป็นการทำ “ปฏิสนธิแบบจงใจ” คือการนำเข็มดูดเชื้อที่แข็งแรงที่สุด แล้วนำไปฉีดเข้าไปในเนื้อไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อนซึ่งวิธีนี้เชื้อจะไม่ต้องเจาะเปลือกไข่เข้าไปเอง จากนั้นแพทย์ผู้ดูแลจะทำการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ แล้วจึงนำกลับไปฝังในโพรงมดลูก ทำให้ ICSI มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาเรื่องของการมีบุตรยากของคู่สมรสปัญหาปัจจัยด้านอายุ (เช่น อายุมาก) หรือปัญหาด้านสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ (เช่น ไข่เปลือกหนาแข็ง น้ำเชื้ออ่อน เป็นหมัน) หรือลองทำเด็กหลอดแก้วมาแล้วหลายวิธีแต่ไม่ได้ผล
และเนื่องจากการรักษาด้วยวิธีอิ๊กซี่ (ICSI) นั้นเป็นการรักษาแบบปฏิสนธิแบบ “จงใจ” คือการเอาเข็มดูดน้ำเชื้อฉีดเข้าไปในเนื้อไข่โดยตรง ทำให้อัตราความสำเร็จมีสูงกว่า IVF เพราะหากไข่ของฝ่ายหญิงที่เข้ารับการรักษานั้นมีอายุมาก หรือเปลือกไข่แข็งหนาจนอสุจิเจาะเข้าไปไม่ได้ วิธีการรักษาแบบ IVF อาจจะไม่ใช่วิธีการรักษาที่ผลลัพธ์ที่ประสบผลสำเร็จ
มีลูกยาก ทำเด็กหลอดแก้วดีมั้ย? วิธีไหนได้ผลสำเร็จกว่ากัน
ใครที่เหมาะสำหรับการ ทำอิ๊กซี่
- สำหรับคู่สมรสที่แต่งงานมากนานแล้ว และลองปฏิสนธิตามธรรมชาติแล้วไม่ตั้งครรภ์
- สำหรับฝ่ายผู้ชายที่มีน้ำเชื้อน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง หรือ ทำหมัน
- ผู้หญิงมีอายุสูงเช่น 35 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีปัญหาที่มดลูก เปลือกไข่หนาทำให้เชื้อไม่สามารถเจาะไข่เข้าไปได้ (ซึ่งในกรณีนี้จะต้องให้แพทย์เป็นผู้ตรวจ และวินิจฉัยว่าการปฏิสนธิภายนอกแบบอื่นไม่ได้ผล)
15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตกให้พร้อมสำหรับทำ “อิ๊กซี่ (ICSI)”
11 อาหารบำรุงอสุจิ ให้แข็งแรงเคลื่อนไหวรวดเร็ว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์
ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่
ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่นั้นจะถูกแบ่งออกหลายขั้นตอน และต้องกระทำทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาได้ที่ประสิทธิผลมากที่สุด
กระบวนการขั้นตอนการเก็บไข่
- เริ่มแรกก่อนการทำอิ๊กซี่ (ICSI) นั้น จำเป็นจะต้องมีการตรวจเพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่าเหมาะสมกับการทำอิ๊กซี่หรือไม่ เช่น การเจาะเลือดวัดฮอร์โมน โดยทางฝ่ายหญิงนั้นจำเป็นจะต้องตวรจในช่วงวันที่ 2-3 ของการมีรอบเดือน ซึ่งการตรวจนี้จะเป็นวิธีการประเมินการทำงานของรังไข่ จากนั้นจะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อนับจำนวนไข่ของรอบเดือนนั้นๆ จากนั้นจึงจะเริ่มการฉีดกระตุ้นไข่บริเวณหน้าท้อง (จำนวนเข็มที่ฉีดจะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ โดยจะยึดหลักปริมาณฮอร์โมน ผลตรวจและอายุของฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด) เป็นระยะเวลา 10 วัน
- หลักจากฉีดกระตุ้นไข่ครบจำนวนแล้ว จะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับฮอร์โมนอีกครั้งและจะอัลตร้าซาวด์เพื่อดูปริมาณและขนาดของไข่ทางช่องคลอดเพื่อดูจำนวนกี่ใบและไข่ที่ได้นั้นมีขนาดที่เหมาะสมสำหรับผสมตัวอ่อนได้ไม่? จากนั้นจะนัดมาฉีดยาระงับการไข่สุกเพื่อป้องกันการตกไข่สุกก่อนโดยจะฉีดบริเวณหน้าท้องเช่นเดียวกับที่ฉีดกระตุ้นไข่ และจะนัดมาสังเกตอาการและขนาดของไข่เรื่อยๆ เป็นระยะ
- เมื่อครบกำหนดเวลาที่เหมาะสมแล้ว แพทย์จะฉีดยาให้ไข่ตกเข้าทางกล้ามเนื้อสะโพก จากนั้นรอเวลาประมาณ 36 ชั่วโมง จากนั้นจะทำการเก็บไข่เพื่อนำไปเก็บรอการผสมกับน้ำเชื้อและทำการปฏิสนธิให้เป็นตัวอ่อน
การเก็บน้ำเชื้อ
- คู่สมรสจำเป็นจะได้งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 48 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 7 วัน
- จากนั้นจะเข้าสู่วิธีการเก็บน้ำเชื้อโดยการหลั่งนอก หากเป็นผู้มีปัญหาเช่น ทำหมัน ทางแพทย์จะใช้วิธีการใช้เข็มดูดออกทางลูกอัณฑะ จากนั้นจะนำเชื้อที่ได้ไปคัดเลือกเพื่อหาเชื้อตัวที่แข็งแรงที่สุด พร้อมสำหรับผสมกับไข่โดยการใช้เข็มนำน้ำเชื้อฉีดเข้าไปในไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฎิสนธิ
หากการปฏิสนธิสมบูรณ์ จะมีการแจ้งผลเพื่อนัดเวลามาใส่ตัวอ่อนเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติต่อไป ซึ่งจะต้องพบแพทย์เป็นระยะ เพื่อตรวจพัฒนาการ และควรมาพบทุกครั้ง
ขั้นตอนการทําอิ๊กซี่ ขั้นตอนการดำเนินงาน การเตรียมตัว และปัจจัยเสี่ยง
การปฏิบัติตัวภายหลังการใส่ตัวอ่อน
- ไม่ควรลุกนั่งภายหลังการใส่ตัวอ่อนอย่างน้อย 30 นาที ในบางรายอาจจะมีอาการอ่อนแรง เจ็บหนาวงหน้าท้อง หน้ามืด วิงเวียนศีรษะจึงไม่ควรขับรถมาเอง ควรให้สามี ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดพามาเท่านั้น
- ควรเหน็บยาในช่องคลอด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดที่สุด
- งดการมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน
- ห้ามสวนล้างช่องคลอด
- ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หรือยกของหนักๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้ง่าย
- สำหรับอาหารการกินนั้นสามารถรับประทานอาหารปกติได้ แต่จำเป็นต้องทานอาหารที่มีความเครียดน้อย ๆ ควรละเว้นเรื่องล้มเหลวหรืออาจเพราะอาจจะส่งผลให้การตั้งไม่สำเร็จ
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ที่ชานชาลาหรือคนเยอะ ๆ
- หากมีอาการผิดปกติต้องเข้าพบแพทย์ทันที
ข้อดีของ การทำอิ๊กซี่
- การทำอิ๊กซี่จะมีกระบวนการคัดกรองน้ำเชื้อและไข่ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเพื่อนำมาปฏิสนธิเท่านั้น ในจุดๆ นี้จึงเป็นข้อดีที่สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดของทารกที่มีอาการดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติทางพันธุกรรมได้
- เพิ่มโอกาสการตั้งสูงกว่าการทำเด็กหลอดแก้ววิธีอื่นเพราะมีอัตราผลสำเร็จสูงถึง 80%
- หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีเชื้อ HIV การทำอิ๊กซี่ (ICSI) สามารถป้องกันการติดไปสู่ลูกได้ 99.99%
- คู่สมรสที่วางแผนการมีบุตรในตอนที่พร้อม สามารถมาทำการเก็บไข่และน้ำเชื้อไว้ได้ ซึ่งในการเก็บไข่และอสุจิที่จะพร้อมใช้ในอนาคตนั้น ทีมแพทย์จะทำการแช่แข็งเอาไว้ในห้องปฏิบัติการเฉพาะ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถเก็บได้นานถึง 10 ปี และหากมีความพร้อมที่จะมีลูกเมื่อไรก็สามารถนำไข่และน้ำเชื้อออกมาใช้เพื่อทำอิ๊กซี่ได้
- คนโสดที่มีการวางแผนว่าจะมีครอบครัวในอนาคต แต่ตอนนี้อาจจะยังไม่พร้อมด้วยสาเหตุบางอย่าง ก็สามารถมาทำการเก็บไข่และน้ำเชื้อไว้ได้ เมื่อถึงวันที่พร้อมมีครอบครัวเมื่อไหร่ใช้ได้ทันที และสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 10 ปีเช่นเดียวกัน
- สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงเช่น โรคมะเร็งที่จำเป็นต้องรักษาโดยการฉายแสงเคมีบำบัด ก็สามารถเอาไข่หรืออสุจิมาฝากไว้ก่อนได้เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่และอสุจิเสื่อมจากการรักษาได้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สาเหตุที่ทำให้ ICSI ไม่สำเร็จ สาเหตุที่ทำ “อิ๊กซี่” หรือ “เด็กหลอดแก้ว” ไม่ติด!!
12 ข้อที่ควรทำก่อนและหลัง กระตุ้นไข่ เพื่อนำไปทำอิ๊กซี่ (ICSI) และ IVF
12 ข้อที่ควรทำก่อนและหลัง กระตุ้นไข่ เพื่อนำไปทำอิ๊กซี่ (ICSI) และ IVF
𝐖𝐨𝐫𝐥𝐝𝐰𝐢𝐝𝐞 𝐈𝐕𝐅 เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรยาก แบบละเอียดเจาะลึกทุกขั้นตอน โดย นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และการรักษาภาวะมีบุตรยาก ทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมนักวิทย์ฯ และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มามากกว่า 10 ปี ดูแลทั้งลูกค้าไทย และต่างชาติ ใช้เครื่องมือและห้องประฏิบัติการทางแล็บที่ทันสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จสูงสุด มีห้องปฏิบัติการตรวจโครโมโซม NGS ระดับสากล
6 ข้อดีของการทำอิ๊กซี่ และข้อเสียการทำอิ๊กซี่ ที่คุณควรทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำ
4 สาเหตุที่ทำให้ ICSI ไม่สำเร็จ สาเหตุที่ทำ “อิ๊กซี่” หรือ “เด็กหลอดแก้ว” ไม่ติด!!
การ ฝากไข่ (Egg Freezing) การเตรียมตัวฝากไข่เพื่อลูกในอนาคต
อุ้มบุญ หนึ่งทางเลือกของคนมีลูกยาก กับความหวังกับกฎหมายใกล้คลอด
12 ข้อที่ควรทำก่อนและหลัง กระตุ้นไข่ เพื่อนำไปทำอิ๊กซี่ (ICSI) และ IVF