โรคซึมเศร้า ทำให้มีลูกยาก ความเครียดที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก

โรคซึมเศร้า ทำให้มีลูกยาก จริงหรือ? อาการป่วยอันเนื่องมาจากความเครียดที่หลายคนไม่รู้ว่า สามารถทำให้เกิด “ภาวะมีบุตรยาก” ใครที่ต้องการมีลูกหรือมีลูกยากควรเข้ามาอ่านและสังเกตตัวเองดูว่า เข้าข่ายหรือไม่? เพื่อจะได้รับการป้องกันและแก้ไขอย่างทันท่วงที

สาเหตุของ โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า ทำให้มีลูกยาก ความเครียดที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก

ภาวะซึมเศร้า เป็นอาการความผิดปกติชนิดหนึ่งทางการแพทย์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ รู้สึกอ่อนไหวได้ง่ายต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตามปกติในชีวิตประจำวันทั่วไป ที่ซึ่งหากเป็นผู้ที่มีภาวะทางอารมณ์ปกติ ก็จะสามารถรับมือได้ และจัดการอารมณ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้านั้น จะไม่สามารถจัดการได้ในเวลาอันรวดเร็ว มักมีความคิดหรือพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนไป หากเกิดอารมณ์เศร้ามักจะต้องใช้เวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ในการเยียวยา ในบางรายมีภาวะรุนแรงจนหมดความสนใจต่อโลกภายนอก รู้สึกโลกที่อยู่มันไม่สดใสไม่มีอะไรสวยงามอีกต่อไปจนไม่คิดอยากมีชีวิตต่อ

สาเหตุของภาวะซึมเศร้า : สาเหตุของการทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเป็นไปได้หลายกรณี เช่น

  • กรรมพันธุ์
  • การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก หรือเจอเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจอย่างรุนแรงในวัยเด็ก
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองเฉียบพลัน
  • ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่กดดันและส่งผลต่อความรู้สึกเช่น การหย่าร้าง ความผิดหวัง ตกงาน สอบไม่ผ่าน ฯลฯ

ทำไมภาวะซึมเศร้าทำให้มีลูกยาก?

ในการรักษาอาการซึมเศร้านั้นจำเป็นต้องใช้ยารักษาที่สั่งจ่ายโดยจิตแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น เพื่อควบคุมอาการและควรจะเข้าพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ที่มีภาวะซึมเศร้านั้นตั้งครรภ์ยากเนื่องจากความเครียดมักจะส่งผลต่อฮอร์โมนในระบบเจริญพันธุ์ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ไม่ได้คุณภาพ และในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการของโรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วและทำร้ายตัวเอง ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะรุนแรง มักจะไม่ได้รับคำแนะนำให้ตั้งครรภ์จนกว่าจะได้รับการรักษาโดยจิตแพทย์ให้อาการทุเลาลงหรือหายขาดก่อน

 

สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าที่ต้องการมีบุตรและใช้วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี ICSI นั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัวเพราะเสี่ยงต่ออาการภาวะแทรกซ้อนทางอารมณ์สูง เช่น เกิดความกังวล เครียด วิตกกังวล ซึ่งคนในครอบครัวต้องสังเกตอาการของผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วย ในบางรายอาจจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ในบางรายอาจจะเกิดความเครียดมากกว่าเดิม เพราะทุกคนในครอบครัวพยายามดูแลมากเกินไปจนรู้สึกไร้ค่า และทางที่ดีควรจะเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ผู้ดูแลและปฎิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดที่สุด

ICSI คือ ? การทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร? ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร

ภาวะซึมเศร้าสามารถถ่ายทอดไปสู่บุตรได้หรือไม่?

ภาวะซึมเศร้าที่รักษาหายเกิน 2 ปีนั้น สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้เพราะอาการของโรคมักส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารและนอนหลับไม่เพียงพอ และยังเพิ่มโอกาสให้เด็กในครรภ์รับยีนภาวะซึมเศร้าจากผู้เป็นแม่ และมีโอกาสคลอดก่อนกําหนดอีกด้วย

สังเกตอาการของ ภาวะซึมเศร้า

1.อารมณ์เปลี่ยนแปลง

สามารถสังเกตได้จากปกติที่อาจจะเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี แต่จู่ๆ กลายเป็นคนเศร้าง่าย สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อยกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือมีภาวะทางอารมณ์ที่ไม่คงที่ มีจิตใจหม่นหมอง ไม่สดชื่นเหมือนเดิม รู้สึกเบื่อหน่ายไปทุกอย่าง แม้ว่าจะได้ทำกิจกกรรมที่เคยชอบก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น ในบางรายอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายกว่าเดิม

2.มีความคิดเปลี่ยนไป

ผู้ที่ป่วยในภาวะซึมเศร้านั้นมักจะมีมุมมองหรือความคิดบางอย่างเปลี่ยนไป และมักจะอยู่ในแง่ที่ลบกว่าปกติ ไม่มองเรื่องที่ดีแต่มักจะนึกถึงเห็นแค่เรื่องผิดพลาดล้มเหลวของตนเอง รู้สึกว่าอะไรๆ ก็ดูแย่ไปหมด กลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป รู้สึกเหมือนเป็นภาระแก่ครอบครัวจนทำให้รู้สึกเศร้าไปหมดทุกอย่าง

3.ความจำแย่ลง

สำหรับผู้ป่วยเป็นภาวะซึมเศร้านั้นมักจะมีอาการของความทรงจำที่สั้นลง หลงลืมง่าย ขาดสมาธิไและไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นานๆ อาการเหล่านี้มักจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานลดลง

4.ความผิดปกทางร่างกาย

อาการของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ คือ เกิดความผิดปกติทางร่างกายที่มักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตาร่างกาย นอนไม่เต็มอิ่มเพราะนอนหลับไม่เพียงพอ นอนหลับๆ ตื่นๆ ตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อได้ รู้สึกเบื่ออาหารส่งผลให้น้ำหนักลดลงมากกว่าปกติ ในบางรายนั้นส่งผให้น้ำหนักลงมากกว่า 5-6 กิโลกรัมภายใน 1 เดือน

5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป

เมื่ออยู่ในภาวะซึมเศร้า มักจะส่งผลให้ผู้ป่วยมักมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างแย่ลง เพราะมักจะเก็บตัวอยู่คนเดียว ซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส มักจะคิดและทำอะไรต่างๆ ด้วยตัวเอง บางคนอาจจะมีอาการอ่อนไหวง่ายมักจะร้องไห้ง่าย และในบางรายอาจจะอารมณ์ร้อยฉุนเฉียวง่าย จนทำให้ทะเลาะกับคนรอข้างง่ายกว่าเดิม

วิธีช่วยลดภาวะซึมเศร้า

ในการรักษาภาวะซึมเศร้านั้นทางครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้อาการผู้ป่วยดีขึ้น เพราะต้องอาศัยความเข้าใจของครอบครัวสูง ทุกคนจะต้องให้กำลังใจมากๆ และไม่ควรมองว่า “ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคจิต” แต่เป็นโรคที่เป็นความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนทางสมอง ที่ควรจะพาผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์และควรดูแลเรื่องของให้ทานยาเป็นประจำ

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ภาวะมีบุตรยาก มีกี่ประเภท สาเหตุของการมีบุตรยาก เกิดจากอะไร 

กินยาคุมบ่อยมีลูกยาก ใช้ยาคุมกำเนิดติดต่อกันนานๆ จะท้องได้หรือไม่ 

โรคอ้วน กับภาวะมีบุตรยาก น้ำหนักเกิน ทำไมถึงเสี่ยงลูกยาก


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์