ภาวะมีบุตรยาก มีกี่ประเภท สาเหตุของการมีบุตรยาก เกิดจากอะไร

ปัญหา ภาวะมีบุตรยาก เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่างความสัมพันธ์มากมาย ก่อให้เกิดความรู้สึกลบทั้งทางด้านจิตใจของคนครอบครัว ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการรักษามากมายซึ่งในทุกวิธีนั้นก็มีการประเมินสาเหตุ และวิธีการรักษาที่ช่วยผู้ที่มีบุตรยากได้โดยเฉพาะ ซึ่งการมีบุตรยากนั้นเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุดังนี้

ภาวะมีบุตรยาก (infertility) คืออะไร?

หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นกับคู่สามีและภรรยาที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกันอย่างสม่ำเสมอโดยไม่คุมกำเนิดเป็นเวลา 1 ปี แต่ก็ยังไม่ตั้งครรภ์ ตามธรรมชาติ ซึ่งอาการนี้ทางการแพทย์จะเรียกว่า ” การมีบุตรยาก” โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

  1. การมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ (primary infertility) คือ สามีภรรยาไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน
  2. การมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ (secondary infertility) คือ สามีภรรยาที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนหน้านี้แล้ว มีกิจกรรมทางเพศสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิดแต่ก็ยังไม่มีการตั้งครรภ์เป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป

สาเหตุของ ภาวะมีบุตรยาก

ต้นเหตุของการมีบุตรยากนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถขึ้นได้เกิดได้จากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง สาเหตุที่มาจากฝ่ายชายมักเกิดจากกระบวนการสร้างอสุจิผิดปกติ การขนส่งอสุจิ การหลั่งของน้ำเชื้อ และความสามารถของอสุจิที่เข้าไปปฏิสนธิกับไข่ที่อาจจะมีภาวะเชื้ออ่อนเกินไป หรือ อสุจิไม่แข็งแรงจนทำให้ไม่สามารถเจาะเข้าไปได้  สาเหตุของฝ่ายหญิงมักเกิดจากความผิดปกติระบบเจริญพันธุ์ เช่น ภาวะไข่ไม่ตก ไข่มีเปลือกหนาแข็งจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ ท่อนำไข่ตัน มดลูกมีปัญหา ปากมดลูก ช่องคลอด และฮอร์โมนต่อมใต้สมองทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ส่งผลให้มีบุตรยากทั้งสิ้น

การประเมินการมีบุตรยากจากคู่สมรส

การตรวจประเมินว่าท่านอยู่ในการมีบุตรยากหรือไม่นั้น โดยปกติแล้วควรจะเข้าร่วมการประเมิณทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย แพทย์จะทำการซักประวัติของฝ่ายหญิง เช่น ประวัติทางนรีเวช โรคประจำตัว ประวัติการผ่าตัด ประวัติรอบเดือน และประวัติของอาการปวดประจำเดือน ประวัติการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ตรวจภายใน ตรวจลักษณะของระบบเจริญทางเพศ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทาง ฝ่ายชายแพทย์จะเริ่มการซักประวัติการผ่าตัด หรืออุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนบริเวณบริเวณอวัยวะเพศ ประวัติการติดเชื้อ เช่น คางทูม โรคประจำตัวและประวัติการใช้ยา ตรวจดูถุงอัณฑะของฝ่ายชาย จากนั้นก็จะเริ่มซักประวัติการมีกิจกรรมทางเพศของทั้ง 2 ฝ่าย ลักษณะการหลั่งเป็นอย่างไร มีอาการบาดเจ็บหรือเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ประวัติโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมของทั้ง 2 ฝ่าย เจาะเลือดพื้นฐาน หาค่าความเข้มข้นของเลือด ตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส HIV โรคเลือดจางธาลัสซีเมียภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมัน และการตรวจการติดเชื้อ HIV หลังจากการซักประวัติแล้วก็จะเข้าการตรวจพิจารณาเบื้องต้นเพื่อใช้ในการประเมินและการรักษาผู้ที่มีบุตรยาก เช่น

  • ตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ

ก่อนการตรวจแพทย์จะแนะนำให้ฝ่ายชายงดการหลั่งอสุจิเป็นเวลาอย่างน้อย 2  วันก่อนการตรวจ (ควรงดการมีกิจกรรมทางเพศ รวมถึงการช่วยตัวเอง) ควรเก็บน้ำอสุจิมาตรวจด้วยวิธีการช่วยตัวเอง หลังจากได้น้ำเชื้อแพทย์จะนำไปส่งตรวจในห้องปฏิบัติการภายใน 1 ชั่วโมง หากการตรวจแล้วผลออกมาคือ อสุจิมีความผิดปกติ แพทย์ก็จะทำการหาสาเหตุของความผิดปกติเพิ่มเติมจากการตรวจร่างกายฝ่ายชายอย่างละเอียด และหากในกรณีที่ตรวจออกแล้วไม่พบอสุจิในน้ำเชื้อ จะมีการตรวจเพิ่มเติมว่าเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำเชื้อหรือจากสาเหตุใด ในกรณีที่ฝ่ายชายมีอัณฑะที่ความผิดปกติจนไม่สามารถสร้างอสุจิได้ หากต้องการมีบุตรอาจจะต้องใช้อสุจิจากผู้บริจาค

  • ประเมินภาวะตกไข่

โดยปกติแล้วระบบเจริญพันธุ์ของฝ่ายหญิงจะผลิตไข่ทุกๆ เดือน หากระบบเจริญพันธุ์ผิดปกติแล้วจะไม่มีการตกไข่ ทำให้ไม่มีการตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการตรวจคระดับ FSH, prolactin และ TSH และหากในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากแล้ว จะมีการตรวจใไข่ที่เหลือ ตรวจระดับ AMH รวมถึง antral follicle count ร่วมด้วย

  • ตรวจท่อนำไข่และอุ้งเชิงกราน

เป็นการตรวจดูว่าท่อนำไข่มีการอุดตันหรือไม่? ในบางกรณีที่มีประวัติการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบสามารถอาจจะทำการตรวจด้วยวิธีการฉีดสีดูท่อนำไข่และโพรงมดลูก (Hysterosalpingography:HSG) การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography) การส่องกล้องตรวจในโพรงมดลูก (Hysteroscopy) และ การเจาะท้องส่องกล้อง (Diagnostic Laparoscopy)

เทคโนโลยีที่ช่วยการมีบุตรยาก

ในปัจจุบันทางการแพทย์มีความทันสมัยและพัฒนาไปอย่างมาก ทำให้สามารถช่วยผู้ที่ไม่สามารถเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ อยู่หลากหลายวิธีและยังสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากที่สุด

1.GIFT-Gamete Intrafallopian Transfer)

คือ การปฏิสนธิที่หลายคนน่าจะคุ้นหูกันมากที่สุด เพราะวิธีนี้การรักษาภาวะมีลูกยากในรุ่นก่อน โดยกระบวนการก็คือ แพทย์ผู้ดูแลจะนำเอาไข่และอสุจิใส่ในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ ซึ่งมีการพัฒนาจนกลายเป็นตัวอ่อน ก่อนจะนำมาฝังตัวเพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นการตั้งครรภ์ในที่สุด เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีปัญหาระบบเจริญพันธุ์ เช่น ท่อนำไข่มีปัญหา แต่วิธีการทำ GIFT มักจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมแล้ว เนื่องจากในปัจจุบันมีวิธีรักษาการมีบุตรยากแบบอื่นๆ ที่ให้ประสิทธิภาพมากกว่า ต้องเข้าห้องผ่าตัด และจำเป็นต้องวางยาระงับความรู้สึก (ยาสลบ) เพื่อผ่าตัดบริเวณหน้าท้องเพื่อนำไข่และอสุจิสอดเข้าไปในท่อน้ำไข่ ต้องนอนพักฟื้นอย่างน้อย 1 คืน ค่าใช้จ่ายสูง และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนง่าย

ทำกิ๊ฟท์ คืออะไร ช่วยรักษาการมีบุตรยากได้จริงหรือไม่?

2.IUI (Intra Uterine Insemination)

คือการปฏิสนธิภายในร่างกายที่ถือว่าใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดโดยมีกระบวนการคือ แพทย์ผู้ดูแลจะทำการคัดเลือกน้ำเชื้อที่ข็งแรงที่สุดของฝ่ายชายมาฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง เพื่อช่วยลดระยะในการว่ายและยังลดความเสี่ยงของเชื้ออสุจิที่อาจจะตายก่อนจะปฏิสนธิได้ดีมากๆ ซึ่งวิธีนี้เป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้สูง เนื่องจากน้ำเชื้อจะเข้าผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น

IUI การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ สำหรับผู้มีบุตรยาก

ข้อดีของการทำ IUI คือ สามารถทำง่าย ใช้เวลาไม่นาน ค่าใช้จ่ายไม่สูง ปลอดภัยเนื่องจากเป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับการปฏิสนธิโดยวิธีธรรมชาติ ในขั้นตอนไม่จำเป็นต้องวางยาระงับความรู้สึก (ยาสลบ) ข้อเสียคือฝ่ายหญิงอายุควรมีอายุอยู่ 22-25 เนื่องจากเป็นอายุของไข่ที่เหมาะสมที่จะปฏิสนธิที่สุด หากอายุเกิน 30 ปีขึ้นไปโอกาสสำเร็จก็จะลดลง หากฝ่ายชายที่มีน้ำเชื้ออ่อนมากๆ อาจจะไม่เหมาะกับวิธีนี้ และวิธีนี้ไม่สามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้

3.IVF (In Vitro Fertilization)

เป็นกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายที่จะนำไข่และอสุจินำมา “ผสมกันเอง”ภายในหลอดแก้ว เมื่อเกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อนแล้ว จึงทำการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงย้ายตัวอ่อนฝังภายในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์และพัฒนาสู่เป็นทารกต่อไป

เด็กหลอดแก้ว IVF รักษาการมีบุตรยากอย่างปลอดภัย ได้ผลจริง 

วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว IVF นั้นเหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป สามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้ แม้ว่าฝ่ายผู้ชายจะเชื้ออสุจิอ่อน ไม่แข็งแรง หรือเป็นหมันก็สามารถทำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการคัดเชื้อที่แข็งแรงที่สุดมาใช้ ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันแพทย์จะทำการใช้เข็มดูดน้ำเชื้อออกมาจากลูกอัณฑะโดยตรง เป็นวิธีการรักษา “การมีบุตรยาก” ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

ข้อเสียของการทำ IVF คือ จะไม่เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมาก หรือมีปัญหาเรื่องไข่ที่มีเปลือกแข็งและหนาจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปทำการปฏิสนธิได้ ซึ่งหากใช้วิธีนี้แล้วไม่สำเร็จเกิน 3 ครั้ง แพทย์จะแนะนำให้

4.ICSI – Intracytoplasmic sperm injection

เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก IVF ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายที่มีวิธีการคล้ายกับการทำ IVF เกือบทุกประการ แต่ข้อแตกต่างคือ การทำ ICSI จะเป็นการคัดเลือกไข่กับอสุจิที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดนำมาปฏิสนธิด้วยวิธีการใช้เข็มเล็กๆ ที่ดูดตัวอสุจิที่คัดเลือกไว้ฉีดเข้าไปให้เนื้อไข่โดยตรงเพื่อก่อให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นก็นำเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จจนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงย้ายตัวอ่อนฝังภายในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์และพัฒนาสู่เป็นทารกต่อไป ซึ่งการทำ ICSI เป็นวิธีที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันเพราะช่วยแก้ปัญหาผู้ที่มีบุตรยากได้หลากหลายสาเหตุ

ข้อดีของการทำอิ๊กซี่ที่คุณควรทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำ 

วิธีนี้เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไปที่มีไข่เปลือกแข็งหนาจนอสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ และฝ่ายผู้ชายที่มีเชื้ออสุจิอ่อน ไม่แข็งแรง หรือเป็นหมันก็สามารถทำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการคัดเชื้อที่แข็งแรงที่สุดมาใช้ ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันแพทย์จะทำการใช้เข็มดูดน้ำเชื้อออกมาจากลูกอัณฑะโดยตรงเช่นเดียวกับวิธี IVF และการทำ ICSI นั้นยังสามารถคัดกรองกลุ่มโรค HIV ได้ 99.9%* อีกด้วย

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

มีลูกยาก ทำเด็กหลอดแก้วดีมั้ย IUI/IVF/ ICSI วิธีไหนได้ผลสำเร็จกว่ากัน


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์