กระตุ้นไข่อย่างไร? ให้ได้ไข่ฟองใหญ่ มีคุณภาพ สำหรับทำอิ๊กซี่ (ICSI)

ช่วงกระตุ้นไข่ ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่ผู้ที่เข้ารับการประตุ้นไข่ต้องให้ความสำคัญในการปฏิบัติตัวเป็นอย่างมาก เพราะหากปฏิบัติตัวดีก็จะเป็นตัวกำหนดคุณภาพและปริมาณของไข่ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการปฏิสนธิเพื่อเป็นตัวอ่อน ดังนั้นเราจึงมีวิธีการปฏิบัติตัวดีๆ มาฝากกันครับ

การตรวจและกระตุ้นไข่

กระตุ้นไข่ เพื่อให้ไข่มีคุณภาพ

เริ่มแรกก่อนกระตุ้นไข่จะต้องมีการตรวจเพื่อดูความพร้อมของร่างกายก่อน เช่น การเจาะเลือดวัดฮอร์โมนโดยจำเป็นจะต้องตรวจในช่วงวันที่ 2-3 ของการมีรอบเดือน ซึ่งการตรวจนี้จะเป็นวิธีการประเมินการทำงานของรังไข่ จากนั้นจะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อนับจำนวนไข่ของรอบเดือนนั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มการฉีดกระตุ้นไข่บริเวณหน้าท้อง (จำนวนเข็มที่ฉีดจะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ โดยจะยึดหลักปริมาณฮอร์โมน ผลตรวจและอายุของฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด)

ซึ่งตัวยาที่ฉีดนั้นจะเป็นยาที่มีผลต่อการกระตุ้นให้ไข่มีการพัฒนาและมีการเติบโตขึ้นได้ครั้งละหลายๆ ใบก่อน ยาตัวนี้จะใช้เวลาในการฉีดกระตุ้นประมาณ 5 วัน จากนั้นจะเริ่มต้นการฉีดยาที่มีคุณสมบัติที่จะช่วยชะลอกันไข่ตกก่อนเวลานัดเก็บไข่ ซึ่งในระหว่างนี้ทางแพทย์ผู้ดูแลจะมีการตรวจวัดระดับฮอร์โมนประกอบกับอัลตราซาวด์เป็นระยะ เพื่อติดตามผลการเจริญเติบโตของไข่ว่ามีปริมาณเท่าไรและมีขนาดที่เหมาะสมในการเก็บหรือไม่ โดยจะหลักเกณฑ์ในการเก็บไข่นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ไม่ควรต่ำกว่า 18 เซ็นติเมตร หากตรวจได้ขนาดที่เหมาะสมเพียงพอแล้วแพทย์จะเริ่มฉีดตัวยากระตุ้นให้ไข่ตกพร้อมกันภายใน 36 ชั่วโมง

กระบวนการเก็บไข่

ในกระบวนการขั้นตอนเก็บไข่ทีมแพทย์จะทำการเก็บผ่านทางช่องคลอด (ผ่าตัดส่องกล้อง) โดยการวางยาระงับความรู้สึกก่อน จากนั้นก็นำเข็มขนาดเล็กซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการแพทย์ติดหัวอัลตราซาวด์ค่อยๆ สอดเข้าไปส่องหาไข่ ก่อนจะทำเจาะดูดการไข่ออกมา ในขั้นตอนการเตรียมไข่นีเกรณีนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ

  • หากไข่ที่รับการกระตุ้นออกมาจะถูกนำไปผสมกับน้ำเชื้อ ( การทำ IVF หรือ ICSI) ไข่จะถูกนำไปเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงไข่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิสนธิ  ( การทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF กับ ICSI ต่างกันอย่างไร ? << อ่านต่อ )
  • ในกรณีที่ IVF หรือ ICSI ไข่ที่ไม่ได้นำไปปฏิสนธิทันที จะถูกนำไปแช่แข็งด้วยกระบวนการ Egg Freezing เพื่อรอวันที่พร้อมปฏิสนธิ
  • หากเป็นในกรณี “ฝากไข่” ไข่ที่ได้รับการกระตุ้นออกมาแล้ว จะถูกนำมาตรวจสอบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้น้ำยา Cryoprotectant เข้มข้นสูงและทำให้เย็นอย่างรวดเร็วโดยไนโตรเจนเหลว เพื่อคงสภาพไข่ไว้ให้พร้อมสำหรับการเก็บ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถเก็บไข่ได้นานกว่า 10 ปี

( การ ฝากไข่ (Egg Freezing) การเตรียมตัวฝากไข่เพื่อลูกในอนาคต << อ่านต่อ )

ทำอย่างไรให้ได้ไข่ฟองใหญ่ พร้อมสำหรับทำอิ๊กซี่ (ICSI)

  • ผู้เข้ารับการกระตุ้นไข่ฉีดยาให้ครบจำนวนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และควรไปฉีดยากระตุ้นฮอร์โมนให้ตรงเวลา เพื่อให้ฮอร์โมนที่ฉีดมีปริมาณสม่ำเสมอ และ ส่งผลกับไข่ให้ได้รับฮอร์โมนเต็มที่ตามเวลา
  • ควรทำจิตใจให้ปรอดโปร่ง ไม่คิดมาก เครียดหรือวิตกกังวล
  • งดการออกกำลังกายหนักและหักโหมในช่วงกระตุ้นไข่ ควรเลือกกิจกรรมออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ ปั่นจักรยานทางราบ หรือวิ่งจ๊อกกิ้ง
  • ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์อุดมไปด้วยโปรตีน เพื่อเพิ่มคุณภาพของไข่ให้ออกมาสมบูร์ณ์ แข็งแรง ( 15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตก << อ่านต่อ )
  • เลือกรับประทานอาหารที่เน้นผัก เพื่อเสริมใยอาหาร โดยไม่ควรทานต่ำกว่า 400 กรัมต่อวัน เพื่อลดอาการท้องผูก ท้องอืด และแน่นท้อง
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารทะเล อาหารรสจัด
  • งดเพศสัมพันธ์ เพราะการมีเพศสัมพันธ์อาจจะทำให้ไข่ได้รับการกระทบกระเทือนก่อนถึงวันเก็บไข่ ทำให้ไข่ที่เก็บออกมาไม่ไม่ได้คุณภาพ หรือ เก็บได้ในปริมาณน้อยเกินไป นอกจากนี้ยังอาจจะมีอาการแทรกซ้อนจากอาการปวดที่ท้องน้อยเพราะถุงไข่แตกและอาจมีเลือดออกในช่องท้องได้
  • ควรนอนหลับพักผ่อนเต็มที่วันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง

กระบวนการเก็บไข่

บางคนช่วงเก็บไข่ ในบางรายอาจจะมีอาการคล้ายกับเป็นไข้ประมาณ 2-3 วัน ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติไม่ต้องเป็นกังวล แต่ในกรณีที่ท่านมีโรคประจำตัวอย่างภาวะหอบหืด ควรจะจะแจ้งแพทย์ผู้ดูแลก่อน

สำหรับผู้ที่มีอาการหวัด เจ็บคอ สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ปวดลดไข้ หรือยาแก้เจ็บคอได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการทานยาแก้อักเสบ หรือ ยาฆ่าเชื้อที่ไม่ได้จ่ายโดยแพทย์ และหากเกิดอาการเจ็บคอรุนแรง หรือ ต่อมทอลซินอักเสบควรมาพบแพทย์ผู้ดูแลทันที

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

บทความที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์