การ ฝากไข่ (Egg Freezing) การเตรียมตัวฝากไข่เพื่อลูกในอนาคต

การฝากไข่ ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการทำ IVF และ ICSI ซึ่งใช้แก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก แต่ในปัจจุบันนั้นการฝากไข่ อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ได้เพียงกลุ่มผู้ที่มีปัญหามีบุตรยากอีกแล้ว เพราะบริบทของคนยุคปัจจุบันมักจะไม่รีบร้อนที่จะมีลูกเร็วๆ อย่างคนยุคก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หลายครอบครัวเลือกที่จะรอมีบุตรตอนที่พร้อมก่อน ซึ่งหากปล่อยเวลารอให้พร้อมจริงๆ อาจจะส่งผลปัญหาไข่มีอายุมากขึ้นได้ทำให้มีสภาพที่ไม่เหมาสม ดังนั้นการฝากไข่เก็บไว้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนการสร้างครอบครัวในอนาคตเลือกใช้ เพราะสะดวกและสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 10 ปี 

ฝากไข่ หรือ Egg Freezing 

ฝากไข่ หรือ Egg Freezing 

การแช่แข็งไข่ของผู้หญิง หรือ Egg Freezing เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้สำหรับการคงสภาพของไข่ให้พร้อมต่อการปฏิสนธิในช่วงอายุที่เหมาสมที่สุด ซึ่งอายุไข่ของไข่ที่เหมาะสมสำหรับการปฏิสนธิให้เป็นตัวอ่อนนั้นจะอยู่ที่ 22-28 ปี ซึ่งในปัจจุบันอัตราการแต่งงานของคนยุคนี้มีแนวโน้มว่าจะแต่งงานช้าลง และมักจะมีการวางแผนการมีบุตรโดยใช้เวลานานมากขึ้น ทำให้กว่าจะพร้อมก็ทำให้อายุของไข่มากแล้วเกิดภาวะมีบุตรยากได้ ทำให้การฝากไข่ในอายุที่เหมาะสมจึงเป็นตัวเลือกที่ดี

นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังไม่เฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้วเท่านั้น เพราะในกลุ่มสาวโสดในยุคใหม่ที่ต้องการวางแผนเรื่องครอบครัวและการมีบุตรในอนาคต การฝากไข่คือเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะในขั้นตอนการกระตุ้นไข่นั้นจะมีการคัดเลือกไข่เฉพาะฟองที่มีคุณภาพดีที่สุดเท่านั้น ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าหากแต่งงานช้าหรือเก็บเงินสร้างตัวเพื่อเตรียมความพร้อมมีบุตรช้าแล้วจะไม่สามารถมีบุตรได้ เพราะไข่จะถูกเก้บรักษาไว้คงสภาพเดิมได้ยาวนานถึง 10 ปี และเมื่อถึงเวลาใช้แล้วก็สามารถนำออกมาละลายพร้อมใช้ได้ทันที 

การฝากไข่เหมาะกับใคร? 

  • ผู้ที่โสด หรือยังไม่ได้แต่งงาน แต่ว่ามีการวางแผนว่าต้องการมีบุตรในอนาคต
  • สามีภรรยาที่แต่งงานแล้ว แต่ยังไม่พร้อมมีบุตรตอนนี้ 
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ทำการรักษาภาวะมีลูกยากด้วยวิธีปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เช่น การทำ IVF หรือ อิ๊กซี่ (ICSI) 
  • ผู้ที่ทำการกระตุ้นไข่เพื่อนำไปปฏิสนธิด้วยวิธี IVF หรือ อิ๊กซี่ (ICSI) แล้วได้ไข่จำนวนหลายใบ ไข่ที่เหลือสามารถฝากไข่แช่แข็งไว้ได้ เพื่อความสะดวกในการนำไปปฏิสนธิรอบใหม่ หรือ ต้องการมีบุตรเพิ่ม 
  • ในบางรายของผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องรับการรักษาด้วยการฉายแสงเคมี เช่น โรคมะเร็ง และผู้ที่ต้องทำการผ่าตัดรังไข่ เพราะในกระบวนการรักษานั้นจะทำให้รังไข่เสื่อมเร็ว ทำให้ไข่ไม่ได้คุณภาพมากพอที่จะมีบุตรได้ในอนาคต

ข้อดีของการทำอิ๊กซี่

ขั้นตอนการฝากไข่ Egg Freezing

  1. ในขั้นตอนแรกของการฝากไข่นั้น แพทย์จะทำการซักกระวัติและข้อมูลสุขภาพเพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่า เหมาะสมหรือไม่ จากนั้นจะเริ่มทำการนัดหมายเพื่อให้มากระตุ้นไข่
  2. การกระตุ้นไข่นั้นจำเป็นจะต้องฉีดยาฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้มดลูกผลิตไข่ออกมาครั้งละหลายๆ ฟอง ซึ่งในขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องกระตุ้นทุกวันเป็นเวลา 10-14 วัน จำนวนเข็มที่ฉีดจะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ โดยจะยึดหลักปริมาณฮอร์โมน ผลตรวจและอายุของฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด)
  3. ระหว่างนั้นแพทยจะทำการตรวจดูไข่เสมอว่ามีขนาดที่เหมาะสมแล้วและมีปริมาณที่มากพอแล้วหรือไม่ (ซึ่งขนาดที่เหมะสมนั้นก็คือ ไม่ต่ำกว่า 18 เซ็นติเมตร) และหากครบกำหนดการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นแล้ว แพทย์ก็จะทำการฉีดยากระตุ้นเพื่อให้ไข่สุกและตกพร้อมกันภายในเวลา 36 ชั่วโมง
  4. ในกระบวนการขั้นตอนเก็บไข่จะไม่ได้เก็บโดยวิธีผ่าตัดอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ทีมแพทย์จะทำการเก็บผ่านทางช่องคลอด (ผ่าตัดส่องกล้อง) โดยการวางยาระงับความรู้สึกก่อน จากนั้นก็นำเครื่องมือก็คือ เข็มขนาดเล็กที่ติดหัวอัลตราซาวด์ค่อยๆ สอดเข้าไปส่องหาไข่ ก่อนจะทำเจาะดูดการไข่ออกมาตรวจสอบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้น้ำยา Cryoprotectant เข้มข้นสูงและทำให้เย็นอย่างรวดเร็วโดยไนโตรเจนเหลว เพื่อคงสภาพไข่ไว้ให้พร้อมสำหรับการเก็บ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถเก็บไข่ได้นานกว่า 10 ปี

ข้อเสียของการฝากไข่

ถึงแม้ว่าวิธีฝากไข่จะมีประโยชน์ในด้านของคงประสิทธิภาพของไข่ที่มีคุณภายและมีอาจุที่เหมาะสมที่สุดในการปฏิสนธิเพื่อการมีบุตรในอนาคต  แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันเพราะค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง (120,000++ บาทต่อปี) และไข่ที่นำออกมาแล้วจะไม่สามารถนำกลับเข้าไปใส่ในมดลูกได้อีก ดังนั้นหากพร้อมต่อการมีบุตรแล้วจะต้องใช้การปฏิสนธิภายนอกอย่าง IVF หรือ ICSI เท่านั้น

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์