โรคกลุ่มเสี่ยงมีลูกยาก ต้องทำอิ๊กซี่ (ICSI)
หลัก ๆ การทำอิ๊กซี่ คือการแก้ปัญหาที่สเปิร์มของผู้ชายที่เป็นหมัน หากอยากมีลูกจะต้องทำอิ๊กซี่ เท่านั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีการทำถูกนำมาใช้ช่วยการเจริญพันธุ์อย่างแพร่หลาย ทั้งการช่วยให้มีลูกในคู่สมรสที่มีลูกยากที่เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น…
- ผู้ชายที่เป็นหมันตั้งแต่กำเนิด หรือ ทำหมัน
- ผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุมากและอยากมีลูก
- ผู้หญิงที่มีปัญหารังไข่ผิดปกติ PCOS หรือโรคถุงน้ำในรังไข่เยอะ คือกลุ่มอาการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือไม่มีไข่ตก และเมื่อไข่ไม่ตกจึงไม่เกิดการตั้งครรภ์
- โรคช็อกโกแลตซีสต์ อันดับแรกต้องทำการรักษาช็อกโกแลตซีสต์ก่อน จากนั้นจึงต้องตรวจคุณภาพของไข่ก่อน หากคุณภาพของไข่แข็งแรงดีก็อาจจะมีลูกโดยวิธีธรรมชาติได้ แต่หากคุณภาพไข่ไม่ดี ก็ต้องใช้การรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วแบบอิ๊กซี่ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น
- โรคไต สำหรับผู้ที่เคยผ่าตัดเปลี่ยนไตหรือเป็นโรคไตขั้นรุนแรง จะต้องทำการตรวจอย่างละเอียดว่าเป็นโรคไตประเภทไหน ร้ายแรงมากน้อยหรือไม่ โดยจะต้องให้คำแนะนำควบคู่ไปกับหมอโรคไตด้วย
นอกเหนือจากการทำเด็กหลอดแก้วแบบนี้ จะเอาไว้ช่วยแก้ปัญหาภาวะการมีบุตรยากจากโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยให้เราเลือกลักษณะ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของลูกในอนาคตได้ รวมไปถึงพ่อแม่คนใดที่อยากมีลูกแฝดก็ต้องทำ อิ๊กซี่ เท่านั้น
ICSI (อิ๊กซี่) เหมาะกับใคร?
- คู่สมรสที่ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิตามธรรมชาติ (ภาวะมีบุตรยาก)
- ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อ ที่อ่อนแอมากๆ ทั้งทางด้านรูปร่างของน้ำเชื้อ ความสามารถในการเคลื่อนที่ รวมไปถึงจำนวนของน้ำเชื้อ
- ฝ่ายชายที่เป็นหมันหรือทำหมัน แต่ยังคงมีการสร้างน้ำเชื้อ และสามารถนำน้ำเชื้อออกมาได้จากวิธีการผ่าตัด เช่น การทำ PESA, TESE เป็นต้น
- ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบหรือตันทั้งสองข้าง
- ฝ่ายหญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ
- ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
- คู่สมรสที่เคยไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายด้วยวิธี IVF
- คู่สมรสที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมด้วยวิธี NGS
ข้อดีของการทำอิ๊กซี่ (ICSI)
- เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จสูงที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีการรักษาอื่นๆ
- ลดความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกติ (เช่น ดาวน์ซินโดรม ธาลัสซีเมีย เป็นต้น)
- ใช้รักษาผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงในกลุ่มเสี่ยงภาวะมีบุตรยาก อายุเฉลี่ย 35ปีขึ้นไป
- ช่วยให้ผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่มีความสมบูรณ์ได้ แม้ผู้ป่วยจะมีอายุมากแล้ว
- เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จ กับผู้ที่เคยรักษาวิธีอื่นแล้วไม่สำเร็จ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อายุ 40 มีลูกได้ไหม มีโอกาสตั้งครรภ์แค่ไหน?
โรคซึมเศร้า ทำให้มีลูกยาก ความเครียดที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก
9 พฤติกรรมมีลูกยาก เช็คปัจจัยความเสี่ยงที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว
𝐖𝐨𝐫𝐥𝐝𝐰𝐢𝐝𝐞 𝐈𝐕𝐅 เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรยาก แบบละเอียดเจาะลึกทุกขั้นตอน โดย นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และการรักษาภาวะมีบุตรยาก ทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมนักวิทย์ฯ และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มามากกว่า 10 ปี ดูแลทั้งลูกค้าไทย และต่างชาติ ใช้เครื่องมือและห้องประฏิบัติการทางแล็บที่ทันสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จสูงสุด มีห้องปฏิบัติการตรวจโครโมโซม NGS ระดับสากล
IUIเลือกเพศ การฉีดเชื้อเข้ามดลูก คัดเชื้อเลือกเพศ สามารถทำได้หรือไม่?
ทำ IUI ฉีดเชื้อเพิ่มโอกาสการมีลูก ต้องเตรียมตัวอย่างไร
ทำกิ๊ฟต์กับเด็กหลอดแก้ว ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน?
ทำกิ๊ฟท์ คืออะไร ช่วยรักษาการมีบุตรยากได้จริงหรือไม่?
เด็กหลอดแก้ว รักษาภาวะมีลูกยาก เพิ่มโอกาสลูกง่ายสมใจ