การ กระตุ้นไข่ นั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการทำเด็กหลอดแก้วอย่างวิธีอิ๊กซี่ (ICSI) และ IVF เพราะหากได้ไข่ที่มีคุณภาพดีก็ถือว่าเป็นแต้มต่อให้มีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น แต่หากได้ไข่ที่มีปริมาณที่น้อย ฟองเล็ก ก็จะทำให้โอกาสสำเร็จน้อยลงไปด้วย วันนี้เราจะมีข้อปฏิบัติตนก่อนการทำการกระตุ้นผลิตไข่เพื่อให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพและเหมาะสมที่สุดเพื่อนำมาปฏิสนธิครับ
สิ่งที่ควรทำก่อน กระตุ้นไข่ เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว
ในขั้นตอนก่อนการการกระตุ้นผลิตไข่จะถูกดูแลและให้คำแนะนำจากแพทย์ โดยแพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อตรวจดูความผิดปกติต่างๆ เช่น ระบบสืบพันธุ์ ตรวจเนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะติดเชื้อ ฮอร์โมนในร่างกาย ความสมบูรณ์ของเลือด และเมื่อทราบผลการตรวจแล้ว แพทย์ถึงจะเริ่มทำการกระตุ้นไข่โดยปริมาณยาจะขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆ แต่ละคนอาจจะได้รับยาไม่เท่ากัน
( ขั้นตอนการทําอิ๊กซี่ (ICSI) การรักษาภาวะมีบุตรยาก << อ่านต่อ )
วิธีดูแลตัวเอง หลังการกระตุ้นผลิตไข่
1.ทานอาหารที่มีประโยชน์
อาหารถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ที่ต้องให้ความสำคัญเพราะอาหารบางชนิดนั้นมีสารอาหารโดยตรงที่จะช่วยบำรุงให้ไข่ของเรามีความสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมต่อการปฏิสนธิเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ฝ่ายหญิงควรเลือกทานอาหารที่หลากหลาย เน้นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้ไข่มีได้รับสารอาหารที่สมบูรณ์และยังลดลดโอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นรังไข่ได้อีกด้วย
( 15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตก << อ่านต่อ )
2. เสริมวิตามิน
หลายคนที่อยู่ในขั้นตอนการกระตุ้นผลิตไข่อาจจะกังวลเรื่องของการทานอาหารและวิตามินเสริมว่า สามารถทานได้หรือไม่ จะเป็นอันตรายหรือส่งผลเสียต่อไข่เหรือเปล่า? ความจริงแล้วสามารถทานได้ตามปกติทั่วไป แต่ควรเน้นทานวิตามินในกลุ่มโฟลิค และจำพวกวิตามินซี คิวเทน แอสต้าแซนทีน วิตามินเหล่านี้จะช่วยบำรุงร่างกายและเสริมสร้างคุณภาพของไข่ให้กระตุ้นได้ดีขึ้น
3. ทานอาหารที่สุก
ระหว่างที่เข้ารับการกระตุ้นผลิตไข่ ควรจะเลือกทานอาหารที่มีขั้นตอนการปรุงที่สะอาดและปรุงสุก เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจจะส่งผลต่อการผลิตไข่ เช่น ท้องอืด ท้องผูก อึดอัด และอาการแน่นท้อง
4. หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างการกระตุ้นผลิตไข่ก็คือ อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผลไม้ดอง กิมจิ ขิงดอง ฯลฯ ลดอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด เผ็ดจัด หวานจัด และอาหารทะเลต่างๆ เพราะอาหารเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย และท้องร่วง
5.รักษาสุขภาพ
การมีร่างกายที่แข็งแรงเป็นส่วนช่วยการกระตุ้นผลิตไข่เป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด อาจจะส่งผลต่อปริมาณไข่และคุณภาพของไข่ที่กำลังกระตุ้นให้มีคุณภาพน้อยลงกว่าที่ควร
6.หลีกเลี่ยงการใช้แรง
ระหว่างที่ได้รับการกระตุ้นไข่ ผู้ได้รับการกระตุ้นไม่ควรใช้แรงมากจนเกินไป รวมถึงการออกกำลังกายหนักอย่างหักโหม เพราะมีผลโดยตรงต่อการผลิตไข่ที่ฟองไข่อาจได้รับความกระทบกระเทือนก่อนวันเก็บไข่ ส่งผลให้ไข่ที่เก็บได้นั้นไม่มีคุณภาพหรือมีปริมาณที่น้อยจนเกินไป อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะปวดท้องน้อยรุนแรงจากถุงไข่แตกและมีเลือดออกในช่องท้องได้
7.พักผ่อนให้เต็มที่
ในช่วงที่ไร้รับยาการกระตุ้นผลิตไข่ ผู้ที่ได้รับการกระตุ้นควรพักผ่อนให้เพียงพอวันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตไข่ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น
8. ไม่ควรเครียดหรือกังวล
ความเครียดหรือกังวลนั้นเป็นอาการทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนภายในระบบสืบพันธุ์โดยตรง โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีส่วนช่วยในการผลิตไข่ ความเครียดหรือกังวลจะไปรลกวนการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ทำให้ไข่ไม่ตกตามที่ต้องการ และยังทำให้ไข่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้นควรปล่อยจิตใจให้ปลอดโปร่ง ทำใจให้สบาย หากผู้ที่ได้รับการกระตุ้นนั้นเป็นผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษด้านอารมณ์ หรือ เป็นโรคซึมเศร้า หรือ จำเป็นต้องใช้ยาปรับฮอร์โมน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
9.งดแอลกอฮอล์/เครื่องดื่มคาเฟอีน
ในการกระตุ้นผลิตไข่ ผู้ที่ได้รับกสรกระตุ้นควรจะงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีส่วนผลมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาเขียว ช็อกโกแลต/โกโก้ เนื่องจากในเครื่องดื่มสองชนิดนี้มีผลดดยตรงที่จะเข้าไปรบกวนการทำงานของยาที่ทำหน้าที่กระตุ้นไข่ ให้ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ และยังทำให้ไข่มีคุณภาพด้อยลงอีกด้วย
( สูบบุหรี่ ทำให้มีลูกยาก เป็นหมัน ภัยร้ายใกล้ตัวที่มาพร้อมกับควันบุหรี่ << อ่านต่อ )
11.ควรฉีดยาให้ตรงเวลา
การฉีดการกระตุ้นผลิตไข่คือการฉีดตัวยาที่เข้าไปช่วยรักษาปริมาณตัวยาในกระแสเลือดให้คงที่ ดังนั้นจึงเป้นขั้นตอนที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ ผู้นัดจะต้องมาให้ตรงเวลาและมาตามนัดทุกครั้งเพราะนี่คือขั้นตอนที่สำคัญที่สามารถเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้สูงขึ้นได้ หากไม่สามารถฉีดได้ตรงเวลาจริงๆ ควรจะคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง การฉีดยากระตุ้นให้ตรงเวลาทุกครั้งจะช่วยให้แพทย์สามารถคำนวนเวลาที่ไข่จะตกเพื่อเก็บได้ง่ายยิ่งขึ้น
12. พูดคุยกับแพทย์
หลายคนมักจะชอบใช้วิธีการค้นหาข้อมูลเองในอินเทอร์เน็ตหรือสอบถามผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำเด็กหลอดแก้วทั้ง ICSI และ IVF มากกว่าจะเข้าปรึกษาแพทย์ที่ดูแล ซึ่งวิธีนี้เป้นวิธีที่ผิด เนื่องจากสภาพร่างกายแต่ละคนนั้นมีการตอบสนองยาที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากมีความผิดปกติสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นตอนการกระตุ้นผลิตไข่ ควรจะปฏิบัติตัวและทำตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เท่านั้น
ขั้นตอนการเก็บไข่ (Ovum Pick Up)
ก่อนวันกำหนดวันเก็บไข่ แพทย์จะฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นในไข่ตกพร้อมกันหลายๆ ใบภายใน 36 ชั่วโมง จากนั้นจะทำการนัดเพื่อเก็บไข่อีกที ในการเก็บไข่ผู้เข้ารับการรักษาควรจะงดน้ำและอาหาร แพทย์จะทำการซักประวัติก่อนที่ทำหัตถการ จากนั้นก็จะทำการวัดสัญญาณชีพ ได้แก่ความดัน การหายใจ ชีพจร และอุณหภูมิร่างกาย ก่อนที่จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและยาฆ่าเชื้อและจะทำการวางยาระงับความรู้สึกโดยวิสัญญีแพทย์จะ จากนั้นแพทย์จะทำการเก็บไข่ที่มีคุณภาพ โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
ภายหลังจากการเก็บไข่เรียบร้อยแล้วแล้ว พยาบาลจะย้ายผู้เข้ารับการรักษาไปพักในห้องพักฟื้นต่อเป็นระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง โดยตลอดการพักฟื้นจะมีพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามสัญญาณชีพทุก 15 นาที หลังผู้เข้ารับการรักษารู้สึกตัว แพทย์จะทำการสังเกตอาการต่อเพื่อดูว่ามีอาการแทรกซ้อนหรือผิดปกติหรือไม่? หากไม่มีพบอาการผิดปกติใดๆ ก็สามารถกลับบ้านได้
การปฏิบัติตัวหลังการเก็บไข่
ในวันที่นัดมาเก็บไข่นั้น ไม่ควรเดินทางโดยขับรถมาคนเดียวเด็ดขาด เพราะอาจจะมีอาการอ่อนเพลียอยู่ ดังนั้นควรจะมาพร้อมสามีหรือญาติเพื่อขับรถให้หรือพากลับเท่านั้น หลังจากกลับไปพักต่อที่บ้าน ผู้เข้ารับรักษาควรจะนอนพักนิ่งๆ ไม่ควรยกของหนักหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม รวมถึงการมีเพศสัมพันธุ์ในช่วงหลังเก็บไข่ อย่างน้อย 1 สัปดาห์ และหมั่นคอยสังเกตอาการว่ามีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่? หากมีอาการปวดท้องหรือบริเวณหน้าท้องบวมอักเสบควรมาพบแพทย์ทันที
………………………………………………
เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K
………………………………………………
แพทย์ผู้เขียน
แพทย์ผู้เขียน
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์
นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์