เตรียมตัวก่อนการรักษา

>> การปฏิบัติตนสำหรับฝ่ายชาย <<<

  • พยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อทั้งหลาย เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้ออสุจิมีการลดจำนวนและคุณภาพลงได้ ดังนั้นหากมีไข้ก่อนการรักษา ภายใน 1 – 2 เดือน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ความร้อนอาจเป็นสาเหตุรบกวนการผลิตของเชื้ออสุจิ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอ่างน้ำอุ่นและการทำซาวน่า
  • การผลิตเชื้ออสุจิและการเคลื่อนไหวของเชื้ออาจจะถูกกระทบได้จากความกดดันในลูกอัณฑะ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่กางเกงชั้นในที่แน่นจนเกินไป
  • การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของน้ำเชื้อ (สูบบุหรี่ ทำให้มีลูกยาก อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 3 เดือนก่อนการเริ่มการรักษา และระหว่างการรักษา
  • การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เชื้ออสุจิมีคุณภาพที่ดี ดังนั้นจึงควรมีการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป
  • ควรงดการมีเพศสัมพันธ์รวมถึงการช่วยตัวเอง อย่างน้อย 3 วันก่อนการเก็บเชื้ออสุจิ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ

>> การปฏิบัติตนสำหรับฝ่ายหญิง <<<

นอกจากเทคโนยีที่ดีเยี่ยมของการรักษาแล้ว การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้การรักษาได้ผลมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งการเตรียมความพร้อมไว้เป็นสามส่วนดังต่อไปนี้

  1. ด้านอาหาร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรักษา อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการรักษา อันดับแรกที่ควรคำนึงถึงคือ น้ำดื่ม ซึ่งโดยปกติคนเราควรจะต้องดื่มน้ำอย่างน้อยวันละไม่ต่ำกว่า 2 ลิตรต่อมาที่ควรที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าน้ำดื่ม คือการรับประทานโปรตีน อย่างน้อยวันละประมาณ 60 มิลลิกรัม (เทียบได้จากการรับประทาน ตับ, เนื้อ, หรือ ปลา 1 ขีด มีโปรตีน 20 กรัม) โปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะส่งผลต่อคุณภาพของไข่ให้มีคุณภาพต่ำได้ หากรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอใน 1 วัน แต่ที่สำคัญควรคำนึงถึงการพยายามที่จะได้รับโปรตีนจากแหล่งที่ดีต่อสุขภาพด้วย (15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก อ่านต่อที่นี่) เช่น เนื้อไม่ติดมัน ถั่ว หรือปลาต่างๆส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง มีดังต่อไปนี้
    • ควรงดแอลกฮอร์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา
    • ควรหลีกเลี่ยงช็อกโกแลต หรือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีต่างๆ เช่น อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง
    • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ แต่หากจำเป็นจะต้องดื่มจริงๆ สามารถดื่มได้แต่ไม่ควรเกิน 2 แก้วหรือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
    • สำหรับผู้ที่ทานยา วิตามิน หรืออาหารเสริมเป็นประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อดูว่ายานั้นๆ เป็นยาที่มีผลกระทบต่อขั้นตอนการรักษาหรือไม่ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. ด้านร่างกายระหว่างเข้ารับการรักษาควรรักษาน้ำหนักให้คงที่ เนื่องจากการที่น้ำหนักมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง ดังนั้นหากพบว่าน้ำหนักตนเองมากเกินค่ามาตรฐาน (BMI) ก็ควรที่จะลดน้ำหนัก โดยการจำกัดอาหารบางอย่าง ควบคู่ไปพร้อมกับการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน หรือการทำโยคะ ซึ่งมีความปลอดภัยต่อร่างกายของตนเองด้วย (โรคอ้วน กับภาวะมีบุตรยาก น้ำหนักเกิน ทำไมถึงเสี่ยงลูกยาก อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมทั้งการสูดดมควันบุหรี่ เนื่องจากจะมีผลต่อเยื่อบุโพรงมดลูก และควรงดการสูบบุหรี่อย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนเริ่มขั้นตอนการรักษาหลีกเลี่ยงการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะบางอย่างน้อยลง เช่น ถ้าคุณทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ควรมีการเปลี่ยนท่านั่งเป็นลุกและเดินบ้าง

    ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำอุ่น จากุซซี่ และอ่างอาบน้ำภายใต้แสงแดด
    ควรลดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนที่จะมีการเก็บไข่ 3 – 4 วัน และหลังจากใส่ตัวอ่อน จนกระทั่งถึงวัดนัดที่ตรวจการตั้งครรภ์

  3. การเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจควรให้ความสำคัญต่อการพักผ่อน และการผ่อนคลายในระหว่างการรักษา ไม่ควรหมกหมุ่นอยู่กับวิธีการรักษามากจนเกินไป นอกจากนี้ไม่ควรลืมที่จะใช้เวลากับคู่สมรสในการพูดคุย ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และหากมีข้อสงสัยใดใดในระหว่างการรักษา ควรสอบถามแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการลดความวิตกกังวลและเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการรักษา

 

การตรวจเลือด และการตรวจร่างกายก่อนเริ่มการรักษา

>> การตรวจเลือดฝ่ายชาย <<<

  • ตรวจโรคเอดส์
  • ตรวจหาภาวะแฝงของโรคธาลัสซีเมีย
  • ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • ตรวจหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่นซิฟิลิส

การตรวจอื่นๆ ในฝ่ายชาย

  • การตรวจความแข็งแรงของน้ำเชื้อ

>> การตรวจเลือดฝ่ายหญิง <<<

  • ตรวจโรคเอดส์
  • ตรวจหาภาวะแฝงของโรคธาลัสซีเมีย
  • ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • ตรวจหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่นซิฟิลิส
  • ตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจหาภาวะแฝงของโรคธาลัสซีเมีย
  • ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • ตรวจหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่นซิฟิลิส
  • ตรวจโรคเอดส์

การตรวจอื่นๆ ในฝ่ายหญิง

  • การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูความสมบูรณ์ของมดลูกและรังไข่

 

การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก

>> การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายชาย <<<

สาเหตุของการมีบุตรยาก ที่เกิดจากฝ่ายชายมีอยู่ประมาณ 30 – 40% ของสาเหตุการมีบุตรยากทั้งหมด โดยสาเหตุหลักๆ มาจากความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการผลิตและการทำงาน ของเชื้ออสุจิ และปัญหาที่พบนั้นสามารถพบได้ทุกส่วน ตั้งแต่ฮอร์โมน การเก็บ และทางเดินของเชื้ออสุจิ ความผิดปกติทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตามกระบวนการรักษาจะช่วยให้โอกาสของการตั้งครรภ์ มีมากขึ้นในบางกรณี

การประเมินทางฝ่ายชาย
โดยทั่วไป สิ่งแรกที่ต้องประเมินจากฝ่ายชายก็คือ การตรวจเชื้ออสุจิ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อตาม รูปร่าง จำนวน การเคลื่อนไหว และจำนวนเชื้อที่เคลื่อนไหว โดยมีค่าต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นเกณฑ์

Total Sperm Count > 40 million
Morphology (WHO) > 30% normal shape
Morphology (Kruger) > 14% normal shape
Volume > 2 milliliters
Motility > 50% motile
Liquefaction complete by 60 min

จำนวนเชื้อที่เคลื่อนไหวทั้งหมด จะเป็นข้อบ่งชี้ถึงการประเมินโดยรวมของเชื้อโดยส่วนใหญ่ และผู้ที่มีความผิดปกติของการตรวจเชื้ออสุจิ อาจจะต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม รวมทั้งทำการตรวจวิเคราะห์ทางด้านฮอร์โมน การตรวจลูกอัณฑะ และในบางครั้งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจโครโมโซมร่วมด้วย

การตรวจฮอร์โมน
การตรวจฮอร์โมนของต่อมใต้สมองสามารถที่จะให้ข้อมูลในเรื่องของการผลิตเชื้ออสุจิได้ อีกทั้งการตรวจพบปริมาณฮอร์โมนที่อยู่ในระดับผิดปกติ ก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการมีบุตรยาก

การตรวจระดับฮอร์โมนควรตรวจในกรณี

  1. จำนวนเชื้ออสุจิ น้อยกว่า 1 ล้านตัวต่อซีซี
  2. มีความผิดปกติในการทำงานเรื่องเพศ
  3. ตรวจพบความผิดปกติในร่างกายที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์

หัตถการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาปัญหาที่เกิดจากฝ่ายชาย

  1. การผ่าตัดแก้หมัน เป็นการเปิดท่อที่นำน้ำเชื้ออสุจิกลับคืน หลังจากการทำหมัน แต่วิธีนี้อาจให้ผลการรักษาได้ไม่ค่อยดีนัก กล่าวคืออาจจะมีอัตราของความสำเร็จ หรือความสมบูรณ์ของน้ำเชื้ออสุจิ เพียงร้อยละห้าสิบเท่านั้น นอกจากนี้แล้วการแก้หมันยังอาจส่งผลทำให้เกิดภูมิคุ้มกันเชื้ออสุจิได้
  2. หากเกิดกรณีมีเส้นเลือดขอดบริเวณถุงอัณฑะ เมื่อมีเส้นเลือดขอดก็อาจต้องทากรผูกเส้นเลือดบริเวณนั้น เพื่อให้คงอุณหภูมิของเชื้ออสุจิที่ผลิตออกมาได้
  3. การเจาะเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะ PESA / TESE
    ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมัน คือ ไม่มีตัวอสุจิออกมาในน้ำน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาเลย ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การอุดตันของท่อนำอสุจิ, ไม่มีท่อนำอสุจิมาตั้งแต่กำเนิด, มีปัญหาของการหลั่ง, ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาตายหมด หรือมีการอักเสบของอัณฑะเนื่องจากเชื้อไวรัสคางทูมหรืออื่นๆ ในอดีตผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารพมีบุตรของตนเองได้ นอกจากจะใช้อสุจิจากน้ำเชื้อของผู้บริจาคเท่านั้น แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและวิวัฒนาการที่ล้ำสมัยยิ่ง จึงสามารถช่วยให้ฝ่ายชายที่ประสบปัญหาเหล่านี้สามารถมีบุตรของตนเองได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

    • PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) คือการใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา เมื่อพบตัวอสุจิแล้วก็จะนำเอามาเจาะใส่ไข่เพียงตัวเดียวโดยใช้เครื่องมือพิเศษ(Micromanipulator) จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
    • TESE (Testicular Epididymal sperm Extraction) คือการผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
    • TESA (Testicular Sperm Aspiration) คือการใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
    • MESA (Microsurgical Epiddymal Sperm Aspiration) คือการผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
  4. ICSI การทำอิ๊กซี่ เป็นการนำเชื้อที่มีอยู่ในปริมาณน้อย เข้ามาผสมกับไข่โดยตรงผ่านเครื่องและเทคนิคพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงและเคลื่อนไหวปกติมาทำ เพื่อให้โอกาสในการปฏิสนธิมากที่สุด หัตถการที่ถูกต้องจะได้มีการพูดคุยกับผู้มารับบริการก่อนที่จะเริ่มการรักษา และทั้งนี้หัตการต่างๆ สามารถที่จะทำได้ในคลินิคของเรา และผู้รับบริการจะได้รับข้อมูลทั้งหมดอย่างครบถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มการรักษา

>> การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายหญิง <<<

โดยทั่วไปสาเหตุการมีบุตรยาก เกิดจากฝ่ายหญิงมีอยู่ที่ประมาณ 40 – 50 % สาเหตุหลักๆ ที่พบได้เกิดจาก ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ หรือ รูปร่างของอวัยวะภายในผิดปกติ โดยการตรวจต่างๆ มีดังนี้

  1. การตรวจฮอร์โมนในเลือด
    ขั้นตอนแรกของการรักษา คือ การตรวจหาฮอร์โมนเพื่อดูการทำงานของรังไข่ โดยวัดได้จากระดับของฮอร์โมนจากการเจาะเลือด และระดับดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับช่วงของรอบประจำเดือนด้วย แพทย์จะให้ทำการเจาะเลือดและนำผลเลือดมาให้แพทย์ประเมินอีกครั้ง
    หลังจากแพทย์ได้วินิจฉัยแล้ว และเมื่อเริ่มขั้นตอนการรักษา แพทย์จะให้เจาะเลือดเพื่อตรวจดูฮอร์โมนอีกครั้งในวันที่ 2 ของการมีประจำเดือน เพื่อการวางแผนการรักษา เช่น ปริมาณที่ฉีด ระยะเวลาในการกระตุ้นต่อไป
  2. การตรวจอัลตราซาวน์
    โดยทั่วไปแล้ว หลักการของการตรวจอัลตราซาวด์ คือการใช้คลื่นในการตรวจ และเป็นวิธีการตรวจที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแต่อย่างใด วิธีการตรวจแพทย์จะสอดหัวตรวจเล็กๆ เข้าไปในช่องคลอด จากนั้นจะมีจอภาพที่แสดงให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง เพื่อประเมินภาวะผิดปกติของอวัยวะทั้งสองอย่าง เช่น การดูภาวะเนื้องอกมดลูก หรือถุงน้ำรังไข่ สำหรับเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาต่อไป
  3. การผ่าตัดวินิจฉัยส่องกล้อง
    การผ่าตัดวินิจฉัยส่องกล้อง จะทำเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดความผิดปกติที่ท่อนำไข่ การตรวจวิธีนี้จะเป็นการที่นำเอากล้องเล็กๆ สอดผ่านหน้าท้องเพื่อดูอวัยวะต่างๆภายในช่องท้อง ซึ่งต้องใช้ยาสลบและทำในห้องผ่าตัด นอกจากตรวจดูความผิดปกติของท่อนำไข่แล้ว ยังใช้ในการรักษาการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับเนื้องอกมดลูกและถุงน้ำรังไข่ได้อีกด้วย
  4. การเอกซ์เรย์โพรงมดลูก
    การเอกซเรย์โพรงมดลูกอาจต้องทำเพื่อวินิจฉัยการอุดตัดของท่อนำไข่ วิธีนีจะเริ่มต้นการรักษาโดยกายฉีดสีเข้าสู่โพรงมดลูกและท่อนำไข่ ผ่านปากมดลูกและตัวมดลูก ถ้าสีที่ฉีดเข้าไปไม่สามารถเข้าสู่ท่อนำไข่ หรือออกมานอกท่อนำไข่ในช่องท้องได้ แพทย์จะวินิจฉัยได้ว่าอาจมีการอุดตัน หรือมีการหดรัดตัวของท่อนำไข่ซึ่งต้องทำการวางแผนการรักษาเพิ่มเติมต่อไป
  5. TESA (Testicular Sperm Aspiration)
    คือการใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
  6. MESA (Microsurgical Epiddymal Sperm Aspiration)
    คือการผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
  7. ICSI
    การทำอิ๊กซี่ เป็นการนำเชื้อที่มีอยู่ในปริมาณน้อย เข้ามาผสมกับไข่โดยตรงผ่านเครื่องและเทคนิคพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงและเคลื่อนไหวปกติมาทำ เพื่อให้โอกาสในการปฏิสนธิมากที่สุด หัตถการที่ถูกต้องจะได้มีการพูดคุยกับผู้มารับบริการก่อนที่จะเริ่มการรักษา และทั้งนี้หัตการต่างๆ สามารถที่จะทำได้ในคลินิคของเรา และผู้รับบริการจะได้รับข้อมูลทั้งหมดอย่างครบถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มการรักษา