โรคอ้วน กับภาวะมีบุตรยาก น้ำหนักเกิน ทำไมถึงเสี่ยงลูกยาก

โรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักตัวเกินถือว่าเป็นปัญหายอดฮิตที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และยังเป็นโรคที่ค่อนข้างอันตรายเพราะสามารถก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนให้ร่างกายค่อนข้างเยอะหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อม โรคตับ นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคเกี่ยวกับการหายใจ และนอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบเจริญพันธุ์ที่ส่งผลให้มีลูกยากอีกด้วย วันนี้เราจะพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับภาวะอ้วนและภาวะมีลูกยากให้ฟังกันครับ

ทำไม โรคอ้วน ถึงมีผลต่อภาวะมีบุตรยาก

โรคอ้วน

น้ำหนักนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างมาก โดยมีผลงานการวิจัยรองรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานมักจะมีโอกาสการตั้งครรภ์ได้ยากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตามมาตรฐานมากขึ้น 40% เพราะมักจะมีอาการของอารมณ์ทางเพศที่ลดน้อยลงทำให้ไม่เกิดกิจกรรมทางเพศ ฝ่ายชายที่มีภาวะน้ำหนักไม่ตรงมาตรฐาน พบว่าผู้ที่อ้วนจะมีจำนวนอสุจิลดลง 22 % และมีความเข้มข้นลดลง 24 % ในฝ่ายหญิงที่มีน้ำหนักเกินมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบเจริญพันธุ์ ประจำเดือนขาด ภาวะตกไข่ไม่ปกติ

และยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น การผิดปกติในการคลอด ความดันโลหิตสูง ระบบหัวใจทำงานอย่างผิดปกติ ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ภาวะหยุดหายใจตอนนอนหลับ โดยมีผลวิจัยพบว่า 40% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ขณะที่อยู่ในภาวะอ้วนนั้นเสี่ยงต่อการเสียชีวิตตอนคลอดบุตรสูงกว่าปกติถึง 1.4 เท่า นอกจากนี้ฝ่ายหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานนั้นยังเสี่ยงต่อภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS) อีกด้วย

อาหารบำรุงอสุจิ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์

อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS) กับ ภาวะอ้วน

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ที่ผลิตถุงน้ำหลายใบหรือเกิดซีสต์ในรังไข่ ส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ มักตรวจพบมากในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินจากภาวะอ้วนส่งผลให้ระบบการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อยลงหรือไม่มีประจำเดือนเลย ทำให้มีลูกยาก เพิ่มความเสี่ยงการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเต้านม และถึงแม้จะมีการตั้งครรภ์ก็มักจะมีโอกาสแท้งสูง เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษและทารกมีพัฒนาการการช้า

เป็น โรค PCOS ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เสี่ยงมีลูกยากหรือไม่

อาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

  • ควรสังเกตรอบของประจำเดือนของตัวเองว่า มีระยะห่างหรือเว้นช่วงนานมากเกินไปหรือไม่ โดยรอบปกตินั้นรอบเดือนควรจะไม่เกิน 21-31 วัน หากมีความห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมาไม่เกิน 6 – 8 ครั้งต่อปีพบรีบเข้าพบแพทย์ทันที
  • รอบประจำเดือนไม่ติดต่อกันนานเกิน 3 เดือน หรือมาน้อยแบบกะปริบกะปรอยมากกว่า 6 เดือน ควรเข้าพบแพทย์ เพราะอาจจะกำลังอยู่ในภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
  • ประจำเดือนมามากเกินไป (สังเกตจากปริมาณประจำเดือนเปลี่ยนมากกว่า 3-5 แผ่นต่อวัน) หรือมาหลายวันเกินไป (ระยะเวลาปกติจะอยู่ที่ 3-7 วัน) ควรไปพบแพทย์เพราะอาจจะเกิดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ
  • ภาวะแอนโดรเจน (Androgen) หรือ ฮอร์โมนในเพศชายมีมากเกินไป
  • มีภาวะอ้วน และมีอาการต่อต้านดื้ออินซูลิน

วิธีการแก้ไข

ในการแก้ไขภาวะน้ำหนักเกินนั้น ควรจะควบคุมอาหารและออกกำลังกายควบคู่กันไปเป็นประจำ ควรจะหมั่นเช็ครอบเอวของท่านมาเกินหรือไม่ โดยยึดจากค่าปกติของเส้นรอบเอวของผู้หญิง ไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว และค่าปกติของเส้นรอบเอวของผู้ชาย ไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว การออกกำลังกายนั้นไม่จำเป็นจะต้องออกกำลังกายแบบหนักๆ หรือหักโหม แต่ควรเลือกการออกกำลังกายตามความถนัด อาทิตย์นึงไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เช่น เดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ  เต้นแอโรบิก เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้น เสริมสร้างกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเอ็น เอ็นข้อต่อ กระดูก ลดไขมัน หัวใจ ปอด ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานปกติ ลดอาการปวดหลัง ลดความเครียด ทำให้นอนหลับสบาย และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สามารถมีลูกได้ง่ายขึ้น

อาหารก็เป็นปัจจัยหลักที่ควรจะต้องระวัง ควรลดการทานไขมันเลว หรืออาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงได้แก่ เนื้อติดมัน อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว ชีส นมไม่พร่องมันเนย เน้นทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้ออกไก่ เนื้อปลาแซลม่อน ปลาทะเล ผักผลไม้อาหารนึ่งหรือต้มแทนการทอดหรือย่าง ทานไขมันดีเข้าสู่ร่างกายเช่น ถั่วต่างๆ ข้าวโอ๊ต เมล็ดฟักทอง อโวคาโด และสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการควบคุมอาหารนั้น ทางการแพทย์สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารลงเพื่อช่วยรักษาาอาการจากภาวะภาวะอ้วนได้

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ICSI คือ ? การทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร? ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร

อาการมีลูกยาก สัญญานบ่งบอกว่าคุณกำลังมี “ภาวะมีลูกยาก”

มีลูกยาก ทำเด็กหลอดแก้วดีมั้ย IUI/IVF/ ICSI วิธีไหนได้ผลสำเร็จกว่ากัน


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์