ปวดท้องน้อย หลังฝังตัวอ่อน 4 อาการปวดท้องระหว่างตั้งครรภ์ แบบไหนเสี่ยงแท้ง

อาการ ปวดท้องน้อย เป็นอาการปวดที่ผู้ที่เริ่มฝังตัวอ่อน หรือตั้งครรภ์มีความกังวลใจเพราะว่า อาจจะเสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตร วันนี้เราจะมาบอกถึงสาเหตุของอาการปวดท้อง และวิธีสังเกตอาการว่าปวดท้องแบบไหนที่อันตรายที่ส่งผลรุนแรงถึงขั้นแท้งบุตรได้ 

อาการ ปวดท้องน้อย ในหญิงตั้งครรภ์เกิดจากอะไร? 

เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป โดยมักจะเกิดขึ้นจากการปวดที่ท้องทางด้านขวาหรือซ้าย ซึ่งระดับความปวดมากหรือปวดน้อยนั้นขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ เช่น การเดินบ่อยๆ การออกกำลังกายที่มากเกินไป การขึ้นลงบันไดหรือการเคลื่อนไหวเร็วจนเกินไป ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มักจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดท้องได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปวดนั้นมักเกิดจากการฝังของตัวอ่อน อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด 

ควรจะทำอย่างไร เมื่อมีอาการปวดท้อง

  • เมื่อเกิดอาการปวดบริเวณท้องน้อย ควรหยุดที่จะทำกิจกรรมทุกอย่างอยู่ทันที แล้วนั่งหรือนอนพักให้ร่างกายผ่อนคลายขึ้น จนอาการปวดทุเลาลง 
  • หากมีอาการปวดน้อยระหว่างการนอน ให้ลองปรับเปลี่ยนท่าทางการนอนจากนอนหงายให้ลองนอนตะแคงซ้ายหรือขวา
  • การใช้หมอนหนุนบริเวณหลังขณะนั่ง จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  • อาบน้ำอุ่น สามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย 
  • การใช้มือลูบวนบริเวณหน้าท้อง สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้
  • ถ้าเกิดมีอาการปวดมาก หรือมีมีเลือดออกควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อาการแบบไหน เสี่ยงแท้ง?

1. อาการติดเชื้อ

ในบางกรณี อาการปวดท้องอาจเกิดจากที่การติดเชื้อจากกระเพาะอาหาร อาการปวดจากไส้ติ่งอักเสบ หรืออาหารเป็นพิษได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มักส่งผลให้เกิดการปวดท้องอย่างรุนแรง และมีอาการอาเจียนร่วมด้วย หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

2. ตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติจากตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในตำแหน่งนอกโพรงมดลูก หรือในบางรายอาจจะเกิดจากความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ไม่สามารถฝังตัวในบริเวณที่เหมาะสมได้ จึงทำให้ต้องฝังตัวบริเวณท่อนำไข่หรือปีกมดลูก ซึ่งส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และนอกจากนี้ยังมีสามารถส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นควรสังเกตอาการต่างๆ เหล่านี้ให้ดี เช่น อาการปวดท้องเฉียบพลัน มีเลือดออก หรือ เวียนศีรษะ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที 

ภาวะท้องนอกมดลูกเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และการรักษาสุขภาพ เช่น การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่ และการใช้เทคโนโลยีช่วยผู้มีบุตรยากอย่างการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ยังสามารถช่วยลดปัจจัยการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย 

( การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ? << อ่านต่อ )

( โรคกลุ่มเสี่ยงมีลูกยาก ต้องทำอิ๊กซี่ (ICSI) << อ่านต่อ )

3. ภาวะแท้งคุกคาม

เป็นภาวะเสี่ยงที่มักจะทำให้เกิดการแท้งบุตรง่าย ภาวะนี้มักเกิดในหญิงที่มีการตั้งครรภ์ในช่วงช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงมากขึ้นหากเป็นผู้ที่เคยแท้งมาก่อน หรือหญิงที่มีอายุเยอะเกิน 35 ปี (เพิ่มโอกาสแท้ง 15%) และอายุ 40 ปีขึ้นไป (เพิ่มโอกาสแท้งมากกว่า 30%) โดยออาการแท้งคุกคามนั้นมักจะเกิดจากการลอกตัวของรกบนผนังมดลูก ซึ่งสาเหตุการเกิดการลอกตัวนั้นสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น

  • ทารกในครรภ์เกิดพัฒนาผิดปกติ
  • มีเนื้องอกหรือเกิดพังผืดในมดลูก โพรงมดลูก หรือปากมดลูกขณะตั้งครรภ์
  • เกิดจากการขูดมดลูกเนื่องจากแท้งเป็นประจำ 
  • การติดเชื้อในช่องคลอด หัดเยอรมัน โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไซโตเมกาโลไวรัสหรือเชื้อซีเอ็มวี (Cytomegalovirus; CMV) 
  • ได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุหรือการเคลื่นไหวที่เร็วจนเกินไป
  • การขาดฮอร์โมนเพศที่ส่งผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางเกินไป และไม่เหมาสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์เกิดอาการเครียด มีความวิตกกังวลสูง หรือเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
  • สามีหรือภรรยาสูบบุหรี่ หรือรับควันจากบุหรี่มือสอง
  • การดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
  • การติดสารเสพติดประเภทโคเคน

( โรคซึมเศร้าทำให้มีลูกยาก ความเครียดที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก << อ่านต่อ )

วิธีป้องกันภาวะเสี่ยงแท้งคุกคาม 

  1. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงแท้งคุกคามควรจะได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงแท้งคุกคาม หรือมีภาวะทางอารมณ์ที่ควบคุมยาก ควรจะได้รับการรักษาก่อนทำการตั้งครรภ์ 
  2. ควรได้รับการพักผ่อนและนอนหลับให้เพียงพอ
  3. ทำจิตใจให้สบาย หลีกเลี่ยงความเครียด หรือเรื่องวิตกกังวล 
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลากหลายเพื่อการพัฒนาการที่ดีต่อทารกในครรภ์
  5. งดการสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงสถานที่ๆ มีควันบุหรี่มือสอง และเครื่องดื่มแอลกฮอล์/คาเฟอีนทุกชนิด
  6. ไม่ควรทานยาที่ไม่มีที่มา หรือ ไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์ 
  7. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม
  8. ควรตรวจสุขภาพครรภ์และไปตามการนัดหมายของแพทย์เป็นประจำ
  9. หากเกิดเลือดออกทางช่องหลอด หรือมีอาการปวดมากควรไปพบแพทย์ทันที

4.ปวดท้องคลอดก่อนกำหนด

อาการนี้มักจะเกิดในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ อาหารนี้หญิงที่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการปวดตรงบริเวณเชิงกรานอย่างมาก ในบางกรณี อาจจะมีน้ำคร่ำแตกร่วมด้วย ซึ่งอาการนี้เป็นอาการของภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ควรเข้าพบแพทย์ทันที  ( ปวดท้องน้อย หลังฝังตัวอ่อน 4 อาการปวดท้องระหว่างตั้งครรภ์ แบบไหนเสี่ยงแท้ง << อ่านต่อ )

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์