ธนาคารฝากไข่ ทางเลือกของหญิงอยากมีลูก แต่ยังไม่พร้อมจะแต่งงานและกลัวว่าสายไปสำหรับมีลูก

ธนาคารฝากไข่ สถานที่ๆเหมาะสำหรับสาวๆ ที่วางแผนการมีลูกในอนาคตจแต่ไม่พร้อมที่จะแต่งงานหรือมีลูกตอนนี้ ตอนนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่สามารถฝากไว้แต่วัยสาวให้สามารถเตรียมพร้อมใช้ไขปัญหามีบุตรยาก อาจเคยได้ยินกันมามากกับ “ธนาคารสเปิร์ม” ที่มีไว้สำหรับเก็บ “น้ำเชื้อ” ของท่านสุภาพบุรุษ เพื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต หรือเอาไว้เพื่อเก็บรักษาสเปิร์ม ที่มีผู้ใจบุญนำมาบริจาคไว้

ธนาคารฝากไข่ ควรฝากที่ไหน?

ธนาคารฝากไข่ ทางเลือกของหญิงอยากมีลูก

ในเมืองไทยมีหลายโรงพยาบาลที่มีธนาคารสเปิร์มไว้ให้บริการ อาทิ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฯลฯ ซึ่งเริ่มมีกันมากว่า 10 ปี เน้นในเรื่องของการรักษาทางการแพทย์เป็นสำคัญ โดยปกติแล้ว ธนาคารสเปิร์ม แบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก เป็นการบริจาคให้คู่สมรสที่มีบุตรยาก โดยที่สามีมีปัญหา เป็นหมัน ส่วนประเภทที่สอง เป็นของคู่สมรสนั้น ๆ โดยที่ผู้เป็นสามีจะต้องเข้ารับการรักษาร่างกายด้วยการผ่าตัด การใช้รังสีรักษา หรือการกินยาต้านมะเร็ง ซึ่งการรักษาที่ว่านี้อาจจะมีผลกระทบต่อเซลล์สืบพันธุ์ จึงจำเป็นต้องเอาสเปิร์มออกมาเก็บไว้ก่อน เผื่อจะต้องการมีลูกในอนาคต แต่แบบที่สองนี้จะมีน้อย

สำหรับการรับบริจาคสเปิร์ม เมื่อได้มานั้นจะยังไม่สามารถใช้ได้ทันที จะต้องเก็บไว้ 6 เดือน จากนั้นจึงนัดเจ้าของสเปิร์มมาตรวจเลือดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความมั่นใจในการปลอดจากโรคทางกรรมพันธุ์ โดยเฉพาะเอดส์ ซึ่งสเปิร์มนี้การเก็บไม่ยุ่งยาก จะทนทาน สามารถแช่แข็งเก็บได้นาน 4-5 ปี

อย่างไรก็ดี ถ้าธนาคารสเปิร์มเป็นทางเลือกในการเก็บสเปิร์มของผู้ชาย ก็ยังมี “ธนาคารไข่” ของผู้หญิง แต่ค่อนข้างน้อย เพราะยุ่งยากมาก เก็บรักษาด้วยวิธีการแช่แข็งเหมือนสเปิร์มก็ไม่ได้ ต้องใช้ไข่แบบสด ๆ และผู้ที่จะมาบริจาคไข่นั้นจะต้องมาให้แพทย์ฉีดยากระตุ้นไข่ประมาณ 10 วันก่อนที่ไข่จะตก เพราะเราหวังผลไข่หลายใบในการตกไข่ 1 ครั้ง และวันที่ไข่ตกจะต้องนำสเปิร์มมาผสม จากนั้นนำไปฉีดในภรรยาที่จะตั้งครรภ์อีกทีหนึ่ง

การเก็บไข่มีขั้นตอนอย่างไร

นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล แพทย์หัวหน้าศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท 2 เปิดเผยว่า ธนาคารไข่ของผู้หญิงแม้ว่าเดิมนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร แต่เมื่อวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวล้ำไปมาก ทำให้ปัจจุบันทำได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะการเก็บรักษาให้คงความสมบูรณ์และเพิ่มประสิทธิภาพในการมีบุตรทำได้ดีเพิ่มขึ้นเช่นกัน

นพ.ธิติกรณ์ กล่าวว่า แพทย์จะแนะนำผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานหรือแต่งแล้วแต่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร หรือพบเจอกับปัญหามีบุตรยาก ให้เลือกฝากไข่ไว้กับ “ ธนาคารฝากไข่ ” กระบวนการนี้เพื่อการเตรียมพร้อมในฝ่ายหญิง ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้หญิงคือ ยิ่งนานวันไปเรื่อย ๆ คุณภาพของไข่ฝ่ายหญิงก็จะลดความสมบูรณ์และแข็งแรงลง ตามอายุที่สูงขึ้น เมื่อพร้อมที่จะมีบุตร โอกาสที่จะมีบุตรยากก็สูงมากขึ้น ตรงกันข้ามกับผู้ชายที่ความสมบูรณ์ของสเปิร์มไม่ได้มีผลกับเรื่องอายุเท่าไรนัก เพราะเมื่อมีการใช้สเปิร์มไป ก็จะมีการผลิตใหม่คงความสดได้เหมือนเดิม

ธนาคารฝากไข่ ทางเลือกของหญิงอยากมีลูก

สำหรับวิธีการเก็บไข่ในธนาคารไข่นี้ จะเป็นการกระตุ้นการตกไข่ในฝ่ายหญิง ที่มีความพร้อมและอยู่ในช่วงที่ไข่สมบูรณ์มากที่สุด โดยจะเก็บไข่สด นำมาผ่านกระบวนการแช่แข็ง (Egg Freezing) ด้วยการแช่แข็งแบบใหม่ที่รวดเร็วมากขึ้น (Vitrification) เรียกว่า ไข่ที่แช่แข็งได้รวดเร็วในไนโตรเจนเหลวนี้ จะช่วยลดความเสียหายให้กับไข่ โดยที่ไข่จะคงความสมบูรณ์ และเพิ่มความสำเร็จจากการปฏิสนธิหลังการละลายไข่ที่แช่แข็งแล้วได้ดีอีกด้วย เมื่อพร้อมที่จะมีบุตรก็นำออกมาปฏิบัติการ หากยังก็คงฝากไว้ที่ “ธนาคารไข่” ดังเดิม โดยมั่นใจได้ว่าไข่ที่เราเก็บไว้ จะมีความสมบูรณ์และพร้อมที่จะมีบุตรได้ในอนาคต

นอกจากเรื่องของการช่วยเหลือสภาวการณ์มีบุตรยากแล้ว บทบาทของธนาคารไข่ ยังเป็นการตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้หญิง ที่เราพบว่าผู้หญิงมีความเป็นตัวเองสูงขึ้น ทำงานเอง มีความมั่นใจในตัวเองสูงขึ้น จนทำให้กระแสเรื่องแม่คนเดียว หรือ ซิงเกิ้ลมัม มีมากขึ้น นี่จึงอาจเป็นทางเลือกให้กับผู้หญิงที่คิดวางแผนเป็นซิงเกิ้ลมัมในอนาคต ได้เก็บไข่ของตัวเองในวัยสาว เพื่อเอาไว้ใช้ในยามที่พร้อม หรือจะเป็นครอบครัวที่คิดว่า ขอมีลูกเมื่อพร้อม ส่วนในวัยหนุ่มสาวขอเก็บไข่เพื่อคงความสดเอาไว้ก่อน แล้วค่อยไปใช้ในยามพร้อม ที่อายุทั้งพ่อและแม่อาจเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายครอบครัวที่พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะสร้างชีวิตใหม่ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ลองแล้วลองเล่า พึ่งไสยศาสตร์บ้างก็เอาแต่ก็ยังไม่สำเร็จ หันพึ่งวิธีทางวิทยาศาสตร์ก็เลือกไม่ถูกเพราะมีทั้งทำกิฟท์ ทำซิฟท์ เด็กหลอดแก้ว (Conventional IVF) และอิ๊กซี่ (ICSI) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก

การทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF กับ ICSI ต่างกันอย่างไร ?

โดยพบว่าแนวโน้มการใช้วิธี “อิ๊กซี่” ที่ฟังดูชื่อแล้วคล้าย ๆของเล่นเด็กหรือเหมือนขนม ได้กลายเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับกันในวงกว้างว่าประสบความสำเร็จได้ง่าย คำว่า “อิ๊กซี่”นี้ เป็นคำย่อที่มาจาก Intra Cytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI มีคำแปลอย่างง่าย หมายความว่า เป็นการเจาะเพื่อนำตัวอสุจิเข้าไปในเนื้อเซลล์ไข่

นพ.ธิติกรณ์ แนะนำว่า เด็กที่คลอดด้วยวิธีอิ๊กซี่ เราพบว่ามีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์พร้อมเหมือนเด็กปกติทั่วไป ในช่วงที่ตั้งครรภ์อยู่นั้น คุณแม่ที่ทำอิ๊กซี่ก็สามารถใช้ชีวิตเหมือนกับมารดาทั่วไป โดยที่การอุ้มท้องเองยิ่งสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกยิ่งขึ้นไป

ขณะที่ นางจิราพร แน่นอุดร ผู้ตั้งครรภ์จากการทำอิ๊กซี่ ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาหลังแต่งงานได้ลองมาแล้วหลายวิธีเพื่อให้ตั้งครรภ์ และหลังได้รับคำปรึกษาที่ดีจากศูนย์สุขภาพผู้หญิงโรงพยาบาลพญาไท 2 ทำให้ทราบถึงวิธีการทำอิ๊กซี่ และทางคุณหมอได้แนะนำวิธีการนี้ และหลังจากทำอิ๊กซี่ตามขั้นตอนที่นำไข่ออกมาผสมกับอสุจิแล้วเลี้ยงไว้ 3-5 วัน ก็ได้ตัวอ่อนและนำมาฝังในตัวเรา จากนั้นก็คอยไปตรวจกับทางโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องว่าการฝังตัวในผนังมดลูกเป็นอย่างไร เพื่อติดตามการตั้งครรภ์ และต้องยอมรับว่าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยให้ได้มีลูกสมใจนึก และเชื่อว่าพ่อ-แม่อีกหลายคู่ที่ยังมีปัญหาลักษณะนี้สามารถที่จะหาข้อมูลได้ไม่ยาก และสามารถตั้งครรภ์จนคลอดออกมาได้สำเร็จ

การฝากไข่ของผู้หญิง

การฝากไข่ของผู้หญิงโดยการนำเชลล์ไข่ไปแช่ไนโตรเจนเหลว ในอุณหภูมิ -196 องศาเชลเซียส เก็บไว้ได้นานหลายปี ซึ่งในต่างประเทศมีเด็กที่คลอดจากการฝากไข่ตั้งแต่ปี 1986 และมีการคลอดเยอะขึ้นเรื่อยๆ ด้วยวิธีนี้

ปกติในรังไข่ของผู้หญิงจะมีไข่ 400 ใบ ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งทุกรอบเดือนไข่จะตก 1 ครั้ง ส่วนคุณภาพของไข่ที่ตกมาแต่ละรอบเดือนก็มีทั้งคุณภาพดีและไม่ดีได้ เมื่อเราอายุมากขึ้นจะยิ่งมีโอกาสทำให้โครโมโซมในเซลล์ไข่นั้นผิดปกติ ทำให้เด็กที่เกิดมาผิดปกติได้มากขึ้น ไข่จะเริ่มฝอและหมดไป ทำให้เราเกิดวัยทองขึ้นมา

ผู้ที่ควรทำการฝากเซลล์ไข่

  1. ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เพราะการรักษาโรคมะเร็งต้องใช้ยาเคมีบำบัด และมีการฉายแสง ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะทำลายเซลล์สืบพันธุ์ คือ เซลล์ไข่ เช่นเดียวกับผู้ชาย แพทย์จะแนะนำให้ผู้หญิงเก็บเซลล์ไข่และผู้ชายเก็บอสุจิไว้ ก่อนการรักษา
  2. มีประวัติครอบครัวหมดประจำเดือนเร็ว
  3. เคยผ่าตัดซีสต์ที่รังไข่
  4. แต่งงานช้า ยังไม่วางแผนมีบุตร

การตรวจร่างกายก่อนฝากไข่

  • ตรวจเลือด
  • ตรวจโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซีซิฟิลิส เป็นต้น
  • ตรวจโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย
  • เตรียมตัวกระตุ้นไข่ โดยใช้ยาฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่จำนวนมาก เพื่อทำการเก็บไข่ในครั้งเดียว

การนำเซลล์ไข่ที่ฝากไว้มาใช้

  • นำเชลล์ไข่มาละลาย
  • ตรวจเซลล์ไข่ที่มีชีวิต ปกติโอกาสรอดสูง 90-95%
  • ทำการปฏิสนธิโดยวิธี “อิ๊กซี่” (ICSI) คือ การเอาเซลล์อสุจิใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ใบต่อใบเป็นวิธีการช่วยปฏิสนธิ เพราะเซลล์ไข่ที่ถู
  • แช่แข็งบางทีไข่จะหนาและแข็ง จึงจำเป็นต้องใช้วิธีอิ๊กซี่ช่วย
  • เมื่อปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว จะใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกให้เกิดการตั้งครรภ์

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการฝากไข่

  • การเก็บไข่ที่ได้ผลดีที่สุดคือ การเก็บเซลล์ไข่แบบ Vitrification
  • อายุน้อยไข่จะมีคุณภาพดีที่สุด ฉะนั้นการฝากไข่ในอายุที่น้อยกว่า 35 จะดีกว่า
  • ค่าใช้จ่ายในการฝากเก็บเซลล์ไข่ประมาณหลักแสน และยังมีค่าฝากรายปี
  • เมื่อทำการฝากไข่จำเป็นต้องเซ็นสัญญาด้วยว่า ถ้าเราหมดสัญญาฝากไข่และไม่ต้องการฝากไข่ต่อ หรือไม่มีเงินจ่ายค่าฝากรายปีต่อ เราจะให้ทางโรงพยาบาลทำลายไข่-หรือจะบริจาคไข่ให้แก่ผู้มีบุตรยาก หรือเพื่อการศึกษาทดลอง
  • ตามกฏหมายไทยไม่สามารถซื้อขายเซลล์ไข่ที่ฝากได้ แต่สามารถบริจาคโดยไม่มีการให้ค่าตอบแทน แต่ในบางประเทศ เช่น อเมริกาสามารถซื้อขายได้
  • ผู้ที่สามารถรับบริจาคเซลล์ไข่ได้ คือ ผู้ที่รังไข่ของตนเองเสื่อมสภาพ หรือ ผู้ที่ไม่สามารถใช้ไข่ของตัวเองได้เนื่องจากเซลล์ไข่ของตนเองไม่เพียงพอที่จะทำให้มีบุตรได้

วันนี้ทางเลือกในการให้กำเนิดบุตรมีมากขึ้น ช่วยให้พ่อ-แม่ที่ไม่พร้อมมีความหวังเพิ่มขึ้น แต่สำคัญที่สุด เมื่อมีลูกแล้ว ก็อย่ามัวแต่ก้มหน้าก้มตาทำงาน จนไม่มีเวลาให้กับเจ้าตัวน้อย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะไม่มีโอกาสได้กลับมาสร้างความทรงจำที่ดีร่วมกันได้อีกต่อไป

ที่มา : mommybooklet

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความที่น่าสนใจ

9 พฤติกรรมมีลูกยาก เช็คปัจจัยความเสี่ยงที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว

โรคกลุ่มเสี่ยงมีลูกยาก ต้องทำอิ๊กซี่ (ICSI)

โรคอ้วน กับภาวะมีบุตรยาก น้ำหนักเกิน ทำไมถึงเสี่ยงลูกยาก


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์