ทำ IUI ฉีดเชื้อเพิ่มโอกาสการมีลูก ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ทำ IUI การฉีดเชื้อเพิ่มโอกาสการมีลูก สำหรับผู้ที่มีประสบปัญหามีบุตรยากที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย วันนี้หมอจะมาพูดเรื่อง IUI เพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้ที่ต้องการหาข้อมูลว่า ควรเตรียมตัวอย่างไร? 

IUI คืออะไร?

ทำ IUI การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก คืออะไร

IUI (Intra Uterine Insemination) คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก “ที่ไม่ได้มาจากปัจจัยด้านอายุ” ซึ่งการฉีดน้ำเชื้อถือว่าเป็นการปฏิสนธิที่ใกล้เคียงกับวิธีตามธรรมชาติมากที่สุด เพราะเป็นการฉีดน้ำเชื้อเข้าในโพรงมดลูกโดยตรงโดยอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์ขนาดเล็กที่สอดผ่านปากมดลูก ซึ่งวิธีนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีที่เพิ่มโอกาสอัตราการความสำเร็จของการตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี การฉีดเชื้อหรือ IUI นั้นมีโอกาสสำเร็จสูงมากกว่าวิธีธรรมชาติมากถึง 5 เท่า นั่นเป็นเพราะว่า ในการปฏิสนธิตามธรรมชาตินั้น เชื้อจะต้องวิ่งเข้าไปในโพรงมดลูกเอง และส่วนใหญ่เชื้อที่อ่อนแอมักจะตายก่อนที่จะไปถึงจุดหมายส่งผลให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ แต่การฉีดน้ำเชื้อนี้ช่วยคัดเลือกเชื้อที่แข็งแรงที่สุดก่อน จากนั้นจะน้ำเชื้อมาฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงทำให้เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำเร็จมากขึ้น

ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนรักษา

ในขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้ารับวิธีการรักษาภาวะมีลูกยากด้วยวิธี IUI นั้น จำเป็นที่จะต้องรับการตรวจร่างกายและระบบสืบพันธุ์โดยแพทย์ เพื่อนตรวจความพร้อมว่า เหมาะสมต่อวิธีการรักษาชนิดนี้หรือไม่? โดยมีหลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้

  • ฝ่ายหญิง : มีอายุไม่เกิน 30 ปี หรือ ไม่มีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับปากมดลูก (เช่น คอปากมดลูกตีบ ,ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง และภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ)
  • ฝ่ายชาย : ต้องมีน้ำเชื้อ อสุจิต้องมีความแข็งแรง เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว และจำเป็นจะต้องมีจำนวนมากกว่า 5 ล้านตัวขึ้นไป

ซึ่งหากฝ่ายหญิงมีภาวะท่อนำไข่หรือปีกมดลูกอุดตันหรือไม่มีท่อนำไข่ มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานจากภาวะเนื้อเยื่อมดลูกเจริญผิดปกติชนิดรุนแรง ฝ่ายชายมีเชื้อน้อยต่ำกว่า 1 ล้านตัวหรือไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อได้ และทั้งคู่เคยผ่านการรักษาภาวะมีลูกยากด้วยวิธีการฉีดน้ำเชื้อมามากกว่า 4 รอบแล้วแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ หมอแนะนำให้เปลี่ยนวิธีการรักษาเป็นวิธีอื่นๆ ครับ 

มีลูกยาก ทำเด็กหลอดแก้วดีมั้ย IUI/IVF/ ICSI วิธีไหนได้ผลสำเร็จกว่ากัน

วิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา

1.ใส่ใจด้านอาหาร

ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจำเป็นจะต้องดูแลร่างกายให้สมบูรณ์ทั้งภายในและภายนอก โดยปัจจัยแรกที่ต้องใส่ใจคือ เรื่องของอาหารการกิน การทานอาหารที่ครบทั้งห้าหมู่เป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินที่หลากหลาย ทำให้ร่างกายไม่ขาดสารอาหาทำให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมและบำรุงส่วนต่างๆ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าหากท่านต้องบำรุงไข่และอสุจิเพื่อการมีทำ IUI เป็นไปได้ง่ายขึ้น ควรจะเลือกทานอาหารดังนี้ 

อ่านต่อ : 11 อาหารบำรุงอสุจิ ให้แข็งแรงเคลื่อนไหวรวดเร็ว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์

            : 15 อาหารบำรุงไข่ บำรุงมดลูก เร่งไข่ตกให้พร้อมสำหรับทำเด็กหลอดแก้ว

2.พักผ่อนให้เพียงพอ

ควรพักผ่อนเพียงพอเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

3.รักษาสุขภาพ

ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายควบคู่กันไปเป็นประจำ การออกกำลังกายนั้นไม่จำเป็นจะต้องออกกำลังกายแบบหนักๆ หรือหักโหม แต่ควรเลือกการออกกำลังกายตามความถนัด 1 อาทิตย์ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เช่น เดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ  เต้นแอโรบิก การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้น เสริมสร้างกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเอ็น เอ็นข้อต่อ กระดูก ลดไขมัน หัวใจ ปอด ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานปกติ ลดอาการปวดหลัง ลดความเครียด ทำให้นอนหลับสบาย และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้สามารถมีลูกได้ง่ายขึ้น

4.งดการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชาและกาแฟ

ในกาแฟ-ชานั้นเต็มไปด้วยสารคาเฟอีนที่มีผลต่อระบบเจริญพันธุ์โดยเฉพาะ ทำให้ลดโอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้น 26% เช่นเดียวกับกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ให้ส่งผลให้มีลูกยากมากกว่า 50 % ดังนั้นควรงดการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ไปก่อน และสำหรับบ้านไหนที่นิยมสูบบุหรี่ หรือมีคนสูบบุหรี่อยู่ในบ้าน ผู้เข้ารับการรักษาควรงดหรือหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสกับควันบุหรี่ เนื่องจากควันของบุหรี่ทำให้การผลิตไข่ของฝ่ายหญิงมีจำนวนน้อยลง และทำให้การผลิตน้ำเชื้อของฝ่ายชายมีปริมาณน้อยลงอีกด้วย

………………………………………………

Worldwide IVF - youtude

เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กด Like Page และอย่าลืม Subscribe
Worldwide IVF Channel ไว้เลยครับ
👉🏻 พอดแคสต์ของคนอยากมีลูก : https://bit.ly/3kdJI3K

………………………………………………

 

บทความที่น่าสนใจ

อาการหลังใส่ตัวอ่อนและข้อควรระวังที่หลายคนอยากรู้

ภาวะมีบุตรยาก มีกี่ประเภท สาเหตุของการมีบุตรยาก เกิดจากอะไร

9 พฤติกรรมมีลูกยาก เช็คปัจจัยความเสี่ยงที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว


แพทย์ผู้เขียน

แพทย์ผู้เขียน


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์


นพ.ธิติกรณ์ วาณิชย์กุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวชศาสตร์